สำนักงาน กกพ. เปิดรับสมัคร คพข. แทนชุดเก่าที่จะหมดวาระ

พุธ ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๓๘
สำนักงาน กกพ. ย้ำกลไกคุ้มครองผู้ใช้พลังงานเปิดรับสมัครคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ชุดใหม่

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดรับสมัครคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) แทนชุดเดิมที่จะหมดวาระในเดือนกรกฎาคม 2557 หวังเป็นกลไกในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานทั่วประเทศ

นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยถึงการเปิดรับสมัครคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต หรือ คพข. ว่า คพข. ชุดนี้ เป็นชุดที่ 2 หลังจากที่ชุดแรกจะหมดวาระลงในเดือนกรกฎาคม 2557 ซึ่ง คพข. ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานของ กกพ. โดยจะเป็นผู้แทนผู้ใช้พลังงานในแต่ละเขต ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก กกพ. ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

ในส่วนการทำหน้าที่ของ คพข. ทั้ง 13 เขต จะมีการคัดเลือกประธาน 1 คน และ คพข. ไม่เกิน 10 คน โดยเมื่อ คพข. ได้รับแต่งตั้งจาก กกพ. ก็จะปฏิบัติหน้าที่ในเขตโดยมี สำนักงาน กกพ. ประจำเขตพื้นที่ เป็นฝ่ายเลขานุการ ในการกลั่นกรองการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้พลังงาน (ไฟฟ้า) ซึ่ง พ.ร.บ.ฯ ก็ได้กำหนดประเภทเรื่องร้องเรียนที่จะเสนอต่อ คพข. ไว้ตาม มาตรา 100 และ มาตรา 103 คือ การที่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาต (การไฟฟ้าฯ) และเรื่องที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งข้อร้องเรียนดังกล่าวจะนำมาสู่การไกล่เกลี่ย และพิจารณาเพื่อหาข้อยุติต่อไป นอกจากไกล่เกลี่ยและพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว คพข. ยังสามารถให้คำปรึกษาและเสนอแนะมาตรการด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานและมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงาน ได้ตามที่ พ.ร.บ.กำหนด ซึ่งที่ผ่านมา คพข. ทั้ง 13 เขต ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไป ประมาณ 100 เรื่อง/ปี และจากข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ของ คพข. จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตัด ต่อไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการชำระค่าไฟฟ้าล่าช้า (กฟภ.107 บาท/กฟน.40บาท) ,การขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ,ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้า, การปรับหลักเกณฑ์ประเภท ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว,จัดทำสัญญาบริการไฟฟ้ามาตรฐาน เป็นต้น

“หน้าที่สำคัญของ กกพ. คือ การสร้างความเป็นธรรม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านพลังงาน ซึ่ง คพข.ถือว่าเป็นกำลังหลักของ กกพ.ในเรืองนี้ เนื่องจากเป็นตัวแทนผู้ใช้พลังงานในแต่ละพื้นที่ ที่จะรับรู้ปัญหา และข้อเท็จจริงต่างๆเกี่ยวกับการให้บริการด้านพลังงานได้อย่างใกล้ชิด และสามารถสะท้อนกลับมายัง กกพ. เพื่อให้ดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่อไป” นายกวิน กล่าว

ซึ่งหลักการสำคัญของการได้มาซึ่ง คพข. ตามที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้คือ จะเป็นผู้ใช้พลังงานในเขตจังหวัดตามที่มีการประกาศ ดังนั้นคุณสมบัติของ คพข. จึงถูกกำหนดอย่างเปิดกว้าง โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้น คือ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีชื่อในทะเบียนราษฎรในเขตจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันรับสมัคร และเพื่อเป็นการเปิดกว้างในการคัดสรรจากจำนวนผู้สมัครของแต่ละพื้นที่จังหวัด กกพ. จึงกำหนดให้คัดสรร คพข. โดยวิธีการจับสลาก

สำนักงาน กกพ. จึงขอเชิญชวนผู้แทนผู้ใช้พลังงานที่สนใจ สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น คพข. ได้ตั้งแต่วันที่ 9 - 30 พฤษภาคม 2557 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ และจำนวน คพข. ที่จะมีในแต่ละจังหวัด รวมทั้งดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.erc.or.th หรือสอบถามที่ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงาน กกพ. โทร. 02 2073599 ต่อ 890 -1 ในวันและเวลาราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ