นางสาวนันทิยา กล่าวต่อว่า การศึกษาด้านวัฒนธรรมในยุคของโลกาภิวัตน์ในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องเข้าใจยากต่อเด็กและเยาวชนไทย เนื่องจากวัฒนธรรมต่างชาติมีบทบาทกับเยาวชนไทยมาก อีกทั้งสภาพปัญหาสื่อสีดำส่งผลกระทบต่อค่านิยม วิถีชีวิตและพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จึงจัดทำสื่อสีขาวให้เด็กและเยาวชน จำนวน 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1. ของจุลสารรูปเล่มขึ้นจำนวน 4 ฉบับ ระหว่าง ม.ค.-ธ.ค.2557 จำนวน 500 เล่ม/ ฉบับ รวมจำนวน 2,000 เล่ม และรูปแบบที่ 2.จุลสารแบบสารอิเลกทรอนิกส์ (E-Book) เผยแพร่ทาง Social Network และเผยแพร่ทางไปรษณีย์ เพื่อครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมาย อันเป็นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ได้รับความรู้ในด้านวัฒนธรรม ก่อให้เกิดกระบวนการต่อยอดถึงองค์ความรู้ สู่ชุมชน สังคม และสถานศึกษา การสร้างเครือข่ายเยาวชนส่งเสริมการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป บุคคลภายนอก หน่วยงานราชการในสังกัด โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
นพ.ดร.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลแนวโน้มการบริโภคสื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนในปัจจุบันว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว การตัดสินใจหรือการทำอะไรก็จะไม่มีความรอบคอบหรือไม่มีวิจารณญาณ ดังเช่นในต่างประเทศที่เคยมีภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง ใช้ความรุนแรงเป็นส่วนประกอบและไม่มีการเตือนให้ผู้ที่เข้าชมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะสมกับใคร อายุ เท่าใด จึงทำให้เกิดเหตุร้ายแรงขึ้นเมื่อเด็กที่เข้าชมภาพยนตร์เลียนแบบพฤติกรรมของตัวละครในภาพยนตร์ “ที่ผ่านมาพ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่เคยศึกษาเรื่องรู้เท่าทันสื่ออย่างจริงจัง หรือยังไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก อาจเป็นเพราะไม่มีเวลา แต่เรื่องเหล่านี้สำคัญกับอนาคตมาก หากไม่ดูแลหรือปลูกฝัง หากไม่ดูแลหรือปลูกฝัง เด็กจะใช้สื่อไปในทางที่ลบและเป็นภัยต่อครอบครัว สังคม และชุมชนแน่นอน”