หลักสูตรอาชีวศึกษาเอกชน เพื่อให้สอดคล้องความต้องการที่แท้จริงของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และเป็นการเชื่อมต่อโลกแห่งการศึกษาและโลกงานที่แท้จริง พร้อมรองรับโอกาสที่ประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังนั้นสมาคมฯ จะขับเคลื่อนสู่เส้นทางที่มุ่งหวัง และมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทยอย่างผู้นำสู่เวทีระดับโลก” สำหรับผลการตัดสินรางวัลการประกวดสื่อภาพยนตร์โฆษณาสั้น ในหัวข้อ ‘อาชีวะเอกชน สร้างคน สร้างชาติ’ รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ได้แก่ทีม Film U.pload S.tudio จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โปรดิวเซอร์คนเก่ง ‘ปูน-ธัญพล อ้างบุญเรือง’ สาขาภาพยนตร์และสื่อสารการแสดง ปี 2 บอกเล่าที่มาของผลงาน รางวัลแห่งความภูมิใจว่า- - “อยากจะลบภาพลักษณ์เก่าๆ ของเด็กอาชีวะสมัยก่อน ที่ตีกัน ยิงกัน เด็กช่างอันตรายไปที่ไหนชาวบ้านก็กลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ พ่อแม่ก็กลุ้มใจเดือดร้อน แต่จริงๆ แล้วภาพลักษณ์ด้านลบของเด็กช่างจะมีเพียงบางกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น เด็กอาชีวะดีๆ ช่วยเหลือสังคมมีเยอะแยะ และมีวิชาน่าเรียนมากขึ้น เมื่อจบแล้วบริษัทต่างๆ ก็มารับเด็กอาชีวะเข้าทำงานมากมายในแต่ละปี ...ไอเดียในการทำหนังสั้นเรื่องนี้ เมื่อเราตีโจทย์ได้แล้ว เราก็มาเขียนบทสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเด็กอาชีวะเอกชน โดยช่วยเหลือสังคม มีผู้หญิงถูกโจรกระชากกระเป๋าถือ แล้วเด็กช่างเห็นก็ร่วมด้วยกันจับผู้ร้ายส่งตำรวจ แล้วคืนกระเป๋าให้กับผู้หญิงคนนั้นไป ...ทุกวันนี้ ผมและทีม ช่วยกันหางานประกวดทำเรื่อยๆ เพื่อเป็นโปรไฟล์ แต่ที่สำคัญคือหาประสบการณ์ให้มากขึ้น และเมื่อทำอะไรแล้วก็ต้องทำให้ดีที่สุด” รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 20,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ได้แก่ทีม สยามเทค 1 จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ผลงาน ‘The Chance of Life’ กิตติ โพธิ์ศรี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตัวแทนทีม บอกเล่าว่านำเสนอไอเดียสถาบันอาชีวะให้โอกาสแก่เด็กที่ด้อยโอกาสหรือคนพิการ ที่ในเรื่องนั่งรถแชร์วีล เมื่อเขาได้รับโอกาสที่ดีในการเข้าเรียน จึงมุมานะมุ่งมั่นเรียนจนจบและประสบความสำเร็จในชีวิต รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่เกียรติคุณ ได้แก่ทีม สยามเทค 2 จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ผลงาน ‘เป็ด...เป็ด’ ณัฐกานต์ แขตระกูล สาขาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ปวส. 1 สาวสวยของทีมกล่าวด้วยความดีใจว่า-- “เรื่องเป็ด เป็นชื่อของตัวละครในเรื่อง คืออยากจะสะท้อนให้เห็นว่า เด็กรุ่นใหม่ชอบทำตัวตามกระแสในเรื่องเรียน พอเรียนจบมัธยมปลายก็ไม่ได้เลือกตามที่ตัวเองชอบ เลือกเรียนตามเพื่อน แล้วก็ไม่ถนัด เรียนไม่ได้ ไม่มีงานทำ เรียนมา 5 ปีก็ยังไม่จบ จนวันหนึ่งมีน้องอาชีวะ นำหนังสืออาชีวะในเรื่องของการเรียนช่างมาให้อ่าน จะเป็นการเรียนจริง ทำจริง แล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และประกอบกับที่บ้านของเขาเปิดอู่ซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเขาก็เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ไม่เคยสนใจ แล้วเมื่อคิดได้ จึงเกิดแรงบันดาลใจ เปลี่ยนมาเรียนสายช่าง มีรายได้ให้พ่อแม่ ...อยากจะบอกว่า การเรียนรู้ไม่มีคำว่าสายเกินไป” และอีกประเภทการแข่งขันที่สร้างชื่อเสียงนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน คือ การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ( World Skills Thailand 2014) ครั้งที่ 25 เยาวชนคนเก่งที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศ และยังเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน World Skill ASEAN ต่อไป ณ ประเทศเวียดนาม ได้แก่
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) คือ ปณชัย ศรีพิมาน สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง ปวช.3 รับ รางวัลชนะเลิศสาขางานเทคโนโลยีระบบทำความเย็น บอกเล่าว่า รู้สึกดีใจที่ได้รางวัลครั้งนี้ และกำลังจะเรียนต่อระดับปวส. 1 สาขาเครื่องกลไฟฟ้า ในปีการศึกษาหน้า “การที่ได้รับรางวัลนี้ คงเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาครับ เพราะที่บ้านผมทำแอร์ ระบบเครื่องเย็น ผมคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก ได้เทคนิคที่บ้านและมาได้จากที่โรงเรียนด้วย โดยอาจารย์จะแนะนำ ทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเรียนรู้ แล้วผมก็นำสิ่งที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ ในวันแข่งขัน คือไม่ตื่นเต้น นิ่ง แล้วพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดกว่าโรงเรียนอื่น และทำได้เร็วกว่า จึงชนะครับ ...และอยากฝากไปถึงน้องๆ รุ่นต่อๆ ไปว่า พยายามตั้งใจเรียนให้เข้าใจ แล้วเอาสิ่งที่เรียนมาประยุกต์ใช้ เมื่อคิดหรือแข่งอะไรก็จะทำได้ และเมื่อคิดแล้วต้องลงมือทำ” นอกจากนี้ยังมี ศรชัย แซ่โก สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง ปวช.3 รับ รางวัลชนะเลิศสาขางานเทคโนโลยีระบบติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร และปัญจวุฒิ อมแย้ม รับ รางวัลชนะเลิศสาขาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม - วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) คือ สมพงษ์ ศรีดี รางวัลชนะเลิศสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ จิรภัทร สร้อยสิน รางวัลชนะเลิศสาขาเว็บไซต์ - วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ คือ อภิสิทธิ์ ปัทมะ รางวัลชนะเลิศสาขากราฟฟิกดีไซน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ชนะรางวัลการร่วมแข่งขันรายการ SHELL Eco – Marathon Asia 2014 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์ รางวัลชนะเลิศประเภท Battery Electric Prototype, วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา รางวัลชนะเลิศการแข่งขันรถประหยัดเชื้อเพลิง และโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ ช่างกล ขส.ทบ. รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Gasoline Fuel-Prototype
อีกก้าวของเยาวชนคนเก่งสู่เวทีระดับโลก
เผยแพร่ข่าวในนาม : สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย