Noble จับมือนักออกแบบชื่อดัง อานนท์ ไพโรจน์ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ คืนกำไร สู่สังคม ชักชวนเยาวชนร่วมโครงการ CSR “Noble Creative Urban Design Workshop” สร้างสรรค์งานออกแบบให้กับเมือง

อังคาร ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๔๒
“เมืองที่ดีคืออะไร? หลายคนคงนึกถึงตึกสูงศิวิไลซ์ รถไฟฟ้าที่ทันสมัยโยงใยกันทั่วเมือง ร้านค้าแบรนด์เนมรถซุปเปอร์คาร์โก้ๆ รอบบ้านมีแต่คนรวย ใช่สิ่งเหล่านี้หรือเปล่า คือความสร้างสรรค์เมืองในอุดมคติ? แท้จริงแล้วเมืองที่ดีคือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราต่างหาก เมืองที่อยู่แล้วสร้างแรงขับเคลื่อนให้เราในทุกๆเช้าที่เราตื่นนอน”

จากแนวคิดในการดำเนินงานที่เราไม่ได้ออกแบบเพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง...แต่เราออกแบบชีวิต” บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับนักออกแบบชื่อดัง อานนท์ ไพโรจน์ ชวนน้องๆนิสิตนักศึกษาหัวใจครีเอทร่วมสร้างสรรค์ประชันไอเดียออกแบบ “จุดจอดวินมอเตอร์ไซค์” (Parking for Motorcycle) เปลี่ยนแปลงสังคมเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนกับโครงการ CSR “Noble Creative Urban Design Workshop” ความคิดสร้างดีไซน์ จุดประกายสู่ผลงาน

นายศิระ อุดล ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะที่เราดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เรามุ่งมั่นยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยโนเบิลฯ ได้ดำเนินโครงการในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ความช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด ล่าสุดเราเปิดตัวโครงการ CSR “Noble Creative Urban Design Workshop” ความคิดสร้างดีไซน์ จุดประกายสู่ผลงาน

โดยจุดเริ่มต้นของโครงการในครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการที่เรามองเห็นคุณค่าของเมืองที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละย่านนั้นมีปัจจัย วัฒนธรรม และผู้คนที่สะท้อนความเป็นสังคมเมืองของมนุษย์ที่ต่างกัน ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ความแตกต่างของคนในย่านเดียวกันได้มีประสบการณ์ร่วมกัน จากจุดเริ่มต้นเล็กๆทำให้เกิดโครงการ “Noble Creative Urban Design Workshop” ในครั้งนี้ขึ้น โดยเราได้ร่วมมือกับนักออกแบบมากความสามารถ อานนท์ ไพโรจน์ และกลุ่มน้องๆนิสิตนักศึกษาด้านการออกแบบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ 6 สถาบัน ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (ศาลายา) มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

โครงการ “Noble Creative Urban Design Workshop” สนับสนุนให้น้องๆ นิสิตนักศึกษาที่มีใจรักในการออกแบบได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นกันที่ “ย่านอารีย์” ย่านธุรกิจใจกลางเมืองและที่อยู่อาศัย เหตุผลที่เลือกย่านอารีย์เพราะย่านนี้มีความครีเอทีพเฉพาะตัว อีกทั้งยังเป็นย่านที่คึกคักด้วยสถานที่และกลุ่มคนหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็น แม่ค้าแผงลอย ข้าราชการ นักธุรกิจ โรงเรียนเด็กเล็ก หอพักนักศึกษา ร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางจนถึงร้านอาหารไฮโซ และที่สำคัญเป็นทำเลที่ตั้งโครงการต่างๆของโนเบิลฯ นอกจากนี้ย่านอารีย์ยังเป็นย่านที่มีการจราจรที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า แท็กซี่ รถส่วนตัว รถกระบะ จักรยาน คนเดินเท้า แต่สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ “วินมอเตอร์ไซค์” หากลองคิดดูดีๆวินมอเตอร์ไซค์ถือเป็นพาหนะที่ช่วยเยียวยาและสร้างสมดุลให้สงบสุขในยามวิกฤติของการจราจรในกรุงเทพฯ และเป็นทางเลือกการของเดินทางที่ทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนมีเสรีภาพในการใช้บริการเท่าเทียมกันหมด เราจึงมองว่าวิน

มอเตอร์ไซค์กับสังคมเมืองไทยในทุกวันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยเหตุนี้เองบริษัท โนเบิลฯ จึงเข้าไปช่วยสนับสนุนเปลี่ยนแปลงสังคมชุมชนเมืองให้น่าอยู่ โดยตั้งโจทย์ให้น้องๆนิสิตนักศึกษาได้สร้างสรรค์ออกแบบผลงาน “จุดจอด วินมอเตอร์ไซค์” ที่มีชื่อว่า “ART for ARI” โดยแบ่งเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานออกเป็น 4 จุด ได้แก่

จุดที่1 บริเวณหน้าโครงการโนเบิล รีฟอร์มถนนพหลโยธินซอย7 แนวคิดผลงานมาจากการนำเอาเกมส์เตอร์ติส (Tetris) มาสร้างสรรค์ให้พื้นที่บริเวณจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์ด้านหน้าโครงการดูมีความสนุกและเป็นมิตร พร้อมผสมผสานฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองพฤติกรรมการพักอาศัยของวินมอเตอร์ไซค์

จุดที่ 2 บริเวณหน้าโครงการ โนเบิล รีดี ซอยอารีย์1 แนวคิดมาจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานให้กลมกลืนกับบรรยากาศของสถานที่เน้นการใช้งานที่สามารถกันแดดกันฝนและมีพื้นที่สำหรับเก็บสิ่งของต่างๆทำให้สะอาดและจัดเก็บง่ายขึ้น

จุดที่ 3 หน้ากรมสรรพากร ท้ายซอยอารีย์ แนวคิดมาจากการการดึงเอกลักษณ์ของมอเตอร์ไซค์ โดยการนำเบาะมอเตอร์ไซค์มารวมกับงานออกแบบคอนกรีต พร้อมใส่องค์ประกอบอื่นๆให้ชิ้นงานดูสนุกมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นผลงานที่ปลดปล่อยจิตนาการของน้องๆนักศึกษาอย่างเต็มที่

จุดที่ 4 หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ ถนนพหลโยธินซอย5 เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบาทที่แคบและต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น ดังนั้นแนวคิดการออกแบบคือการนำเอาชิ้นงานยึดเกาะกับต้นไม้และโชว์ดีไซน์ความเป็นเหล็กผสมไม้พร้อมกับใส่ความโมเดิร์นเข้าไปในตัวผลงาน ซึ่งผลงานทั้งหมดเน้นการออกแบบเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์”

คุณศิระ กล่าวต่อไปว่า “การเข้าร่วมโครงการของน้องๆนิสิตนักศึกษาในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เข้ามาเรียนรู้แนวคิดในการออกแบบและได้ลงมือปฏิบัติจริง พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงสิ่งดีๆคืนสู่สังคม โดยโครงการไม่ได้เน้นเรื่องการแข่งขันเพื่อเอาชนะ แต่ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต่างคนต่างเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้สิ่งที่โครงการ “Noble Creative Urban Design Workshop” คาดหวังมิใช่เพียงแต่ผลงานสร้างสรรค์เพื่อสังคมเท่านั้น หากแต่เนื้อแท้ที่โนเบิลฯคาดหวังคือ การได้ส่งต่อความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวจุดประกายให้เห็นว่างานออกแบบเป็นเรื่องสนุก มีคุณค่ากับพื้นฐานจิตใจที่มาพร้อมกับคุณธรรม ความเอื้ออารี ความตั้งใจในการทำสิ่งดีๆให้แก่สังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม”

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nobleid.com/art-culture.php / www.facebook.com/nobleid และ http://goo.gl/XXlvZs

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ