กนอ. ลงนามสัญญาจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

พุธ ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๐๙:๓๐
กนอ. ลงนามสัญญาร่วมดำเนินงานโครงการ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ในจังหวัดอุดรธานี โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุน พัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. และจะเป็นนิคมฯแห่งที่ 56 ของประเทศ ซึ่งจะมีนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กระจายอยู่ใน 16 จังหวัด

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรี มีการอนุมัติหลักการส่งเสริมและสนับสนุนให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวและยุทธศาสตร์จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจจังหวัดให้มีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนมีการเชื่อมโยงกับถนนสายระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก

กนอ. ได้ประกาศเชิญชวนให้ภาคเอกชนยื่นเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามยุทธศาสตร์ของประเทศในเชิง Area Base และ Cluster Base ซึ่ง กนอ. ได้พิจารณาคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมจะตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด (จังหวัดอุดรธานี) 2. บริษัท นาคา คลีนเพาเวอร์ จำกัด (จังหวัดหนองคาย) และ3. บริษัท สวนอุตสาหกรรมพลังงาน (จังหวัดนครราชสีมา)

ในวันนี้ (14 พฤษภาคม 2557) กนอ. ได้ลงนามสัญญาร่วมดำเนินงานโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระหว่าง กนอ. และ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับ กนอ. เพื่อรองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม โดยมีเอกชนผู้ลงทุน พัฒนา และให้บริการระบบสาธารณูปโภค และเป็น Cluster หลักของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยี อื่นๆ มีการนำหลัก Eco Industrial มาใช้ในการพัฒนานิคมฯ มุ่งสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเชื่อมั่น ถือเป็นการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้จะเป็นการประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรมในราชกิจจานุเบกษา จัดทำประชาพิจารณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จัดทำผังโครงการ เป็นต้น การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาจะจัดตั้งได้ภายในปี 2558

นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี พื้นที่ประมาณ 2,219 ไร่ ในท้องที่ตำบลโนนสูง และตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ดำเนินงานโดย บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด พื้นที่โครงการอยู่ใกล้ศูนย์กลางคมนาคมหลัก พร้อมมีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เอื้อต่อการประกอบอุตสาหกรรม ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สถานีรถไฟหนองตะไก้ ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีระบบถนนที่เชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นได้สะดวก มูลค่าการลงทุนพัฒนาโครงการฯประมาณ 2,900 ล้านบาท คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 74,000 ล้านบาท การ จ้างงานไม่น้อยกว่า 16,900 คน อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากยางพารา ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดอุดรธานีเพิ่มขึ้น และให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับจังหวัด ตลอดจนรองรับการขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ นอกจากนี้ กนอ. ยังร่วมกับบริษัทฯผู้พัฒนา ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมร่วมกับชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกด้วย

ทั้งนี้ กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมภายใต้การดำเนินงาน และการกำกับดูแลบริหารจัดการ จำนวนทั้งสิ้น 55 นิคมฯ กระจายอยู่ใน 15 จังหวัด และท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่ง คือท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด รวมพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 154,853 ไร่ พื้นที่คงเหลือสำหรับขาย/เช่า ประมาณ 11,490 ไร่ (จากนิคมฯที่เปิดดำเนินการแล้ว) มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 3 ล้านล้านบาท เกิดการจ้างงานประมาณ 550,000 คน จำนวนผู้ประกอบการปัจจุบัน 4,200 ราย มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 37 นิคมฯ และอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาโครงการฯ 18 นิคมฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ