ผลสำรวจแกรนท์ ธอนตันชี้ สถานการณ์ในยุโรปเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ไทยอาจพลาดโอกาสที่ดี ในการสานต่อเรื่องเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป

พุธ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๔๗
แกรนท์ ธอนตัน เผยผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุโรป ที่แม้จะยังคงมีปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะอยู่ แต่เหล่าผู้นำทางธุรกิจยังคงให้การสนับสนุนระบบสกุลเงินยูโรเป็นอย่างดี ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านบวกต่อการขยายตัวของภาคการส่งออกของประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน เราอาจสูญเสียโอกาสที่ดีในเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (Thailand-EU FTA ) เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลายดีนัก

ผลสำรวจล่าสุด จากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติประจำปีของแกรนท์ ธอนตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในสหภาพยุโรป แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 93 ของ นักธุรกิจในเขตยูโรโซนต้องการที่จะเห็นระบบสกุลเงินยูโรอยู่รอดต่อไป และกว่าร้อยละ 75 หรือ 3 ใน 4 ของผู้เข้าร่วมสำรวจกล่าวว่า การเข้าสู่ระบบสกุลเงินเดียวช่วยให้องค์กรของพวกเขาได้รับผลประโยชน์ ขณะที่ทัศนคติด้านบวกต่อภาพรวมธุรกิจ ได้เพิ่มขึ้นทั่วเขตยูโรโซนจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 25 ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา

คุณกัญญาณัฐ ศรีรัตน์ชัชวาล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชีของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2556 ที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปนั้น สูงถึงเกือบร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ดังนั้นการที่ยุโรปมีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ตลอดจนทัศนคติด้านบวกที่ปรับตัวดีขึ้น ย่อมเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับประเทศไทยด้วยเช่นกัน การแข็งตัวของค่าเงินยูโรอาจมีส่วนช่วยให้เกิดกำลังซื้อมากขึ้น แต่การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป ซึ่งได้เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 6 มีนาคมในปีที่ผ่านมาอาจต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากเหตุความวุ่นวายทางการเมืองในไทยที่ยังไม่คลี่คลายและทิศทางที่ชัดเจนนัก ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลในทางลบต่ออัตราภาษีศุลกากรและสิ่งอื่นๆ ที่อาจตามมา ซึ่งส่งผลให้สินค้าของเราต้องประสบปัญหาด้านการแข่งขันในยุโรป”

อย่างไรก็ตาม เมื่อผลสำรวจได้ถามถึงการรวมตัวทางด้านอื่นๆ ที่เหล่าผู้นำทางธุรกิจในยโรปต้องการจะเห็นจากการรวมตัวกันระหว่างประเทศสมาชิก ผู้นำธุรกิจในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีต่างมีผลคะแนนเกี่ยวกับความคิดเห็นเชิงบวกที่ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจในปีก่อน โดยมีเพียงมีร้อยละ 55 ในประเทศเยอรมนี ที่พร้อมเปิดโอกาสสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ลดลงกว่าร้อยละ 20 ในปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสอยู่ที่ร้อยละ 57 ลดลงไปร้อยละ 12 จากการสำรวจในปีก่อนเช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน การสนับสนุนในเรื่องของสหภาพทางการเมืองในยุโรปของประเทศเยอรมนีได้ลดลงจากร้อยละ 61 ในปี 2556 เหลือร้อยละ 53 ในปีนี้ เช่นเดียวกับในประเทศฝรั่งเศสที่ลดจากร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 22 ขณะที่สัดส่วนของผู้นำทางธุรกิจในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีที่ไม่ต้องการให้มีการรวมตัวในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมภายในยุโรป ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 11 และ 17 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับร้อยละ 2 และ 6 จากผลสำรวจในปีที่ผ่านมา

คุณกัญญาณัฐ ได้ให้ความเห็นว่า “ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ผู้นำธุรกิจในยูโรโซนส่วนใหญ่ ยังคงมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของระบบสกุลเงินเดียว ซึ่งถือเป็นหนทางหนึ่งในการผลักดันภูมิภาคนี้ ให้ฟื้นตัวจากวิกฤตหนี้สาธารณะของตน แต่ตอนนี้พวกเขาอาจเริ่มไม่ค่อยแน่ใจ ในการรวมตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่ในอดีตถือได้ว่าเป็นผู้ผลักดันสำคัญเบื้องหลังการรวมตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ยิ่งในช่วงเวลาที่การฟื้นตัวในภูมิภาคนี้ยังคงเปราะบางต่อการปฏิรูปสหภาพยุโรป อย่างเช่น การเชื่อมโยงของภาคธนาคารโดยอยู่ภายใต้กฎระเบียบและหน่วยงานกำกับเดียวกัน (Banking Union) ที่ยังอยู่ในระยะแรกเริ่ม มันอาจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ดุลยภาพหรือความสมดุลในการรวมตัวของสหภาพยุโรปปัจจุบันนี้ ดูเหมือนจะไม่ได้รับการช่วยเหลือในด้านธุรกิจจากสองประเทศสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดดังกล่าวเป็นอย่างดี”

ผลสำรวจ IBR ยังแสดงให้เห็นว่า แม้จะเกิดความลังเลในการสนับสนุนทางธุรกิจสำหรับการรวมสหภาพยุโรป ในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี แต่ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในประเทศอื่นๆ เช่นประเทศไอร์แลนด์ ที่เพิ่มจากร้อยละ 50 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 77 ในปีนี้ ประเทศโปแลนด์จากร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 67 และประเทศอิตาลีจากร้อยละ 56 มาเป็นร้อยละ 61 โดยในประเทศไอร์แลนด์นั้น ร้อยละ 95 ของธุรกิจพร้อมเปิดโอกาสสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68 ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา

“เป็นที่แน่นอนแล้วว่า สถานการณ์โดยรวมของยุโรปในตอนนี้ มีความสดใสมากกว่าในช่วงสิบสองเดือนก่อนหน้านี้มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะผ่านพ้นวิกฤตไปแล้ว แม้จะยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดที่กำลังเพิ่มขึ้น ปัญหาการว่างงานของเยาวชนซึ่งยังคงสูงต่อเนื่อง หรือสถานการณ์ความไม่แน่นอนในยูเครน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่อาจส่งผลให้ยุโรพลาดโอกาสในการได้รับการสนับสนุนสำหรับภาคธุรกิจ อันถือเป็นหัวใจสำคัญ ตราบเท่าที่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกของภูมิภาคนี้ ยังคงดำเนินต่อไปและเริ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้น” คุณกัญญาณัฐ กล่าวเสริม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version