ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งของประเทศไทย และบริษัทลูกของธนาคาร

พฤหัส ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๑๕
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของประเทศไทยและบริษัทลูก (subsidiary) ของธนาคาร 3 บริษัท อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term IDR) ของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ได้รับการคงอันดับที่ ‘BBB+’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ได้รับการคงอันดับที่ ‘AA(tha)’ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ ‘BBB’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ ธนาคารทั้ง 4 แห่งมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

พร้อมกันนี้ ฟิทช์ ยังประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS และ บริษัทกรุงไทยลีสซิ่ง จำกัด หรือ KTBL ที่ ‘AA-(tha)’

รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL KBANK และ SCB พิจารณาจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR) ของธนาคาร ในขณะที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ KTB มีปัจจัยสนับสนุนจากอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของธนาคาร

อันดับเครดิตภายในประเทศของ KS SCBS และ KTBL สะท้อนถึงความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่ของแต่ละบริษัท และจากสาเหตุดังกล่าวอันดับเครดิตของ KS และ SCBS มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าธนาคารแม่หนึ่งระดับและ KTBL มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าธนาคารแม่สองระดับ

อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL KBANK SCB และ KTB อยู่ในระดับเดียวกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวหรืออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคาร เนื่องจากหนี้สินดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารสะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจ (franchise) ในประเทศที่แข็งแกร่ง ฐานะเงินกองทุนที่ดี และระดับการสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

ฟิทช์คาดว่าสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานจะมีความท้าทายมากขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารทั้ง 4 แห่ง เศรษฐกิจของประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในไตรมาสแรกของปี 2557 ได้เริ่มมีสัญญาณการปรับตัวแย่ลงของคุณภาพสินทรัพย์ในระบบธนาคาร อย่างไรก็ตาม ฟิทช์เชื่อว่าสถานะทางการเงินของธนาคารทั้ง 4 แห่งยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และน่าจะเพียงพอสำหรับการรับมือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับปกติตามวัฎจักรเศรษฐกิจได้

ฟิทช์คาดว่าสถานะเครดิตของ BBL น่าจะยังคงอยู่ในระดับดีแม้ต้องเผชิญความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารมีฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งและมีอัตราส่วนการสำรองหนี้สงสัยจะสูญในระดับที่สูง แม้ว่า BBL จะมีการกระจุกตัวของสินเชื่อธุรกิจในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่นในประเทศไทย อัตราส่วนเงินกองทุนของ BBL ยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Core Tier 1) อยู่ที่ 14.3% ณ สิ้นปี 2556 ในขณะเดียวกัน BBL ยังคงมีอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับสูงที่ 214% ณ สิ้นปี 2556 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นในประเทศไทย

ฟิทช์เชื่อว่าการที่ KBANK มีพอร์ทสินเชื่อที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี (well-diversified) และมีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสะท้อนได้จากการเติบโตของสินเชื่อในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้น่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถรองรับความเสี่ยงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจปรับตัวอ่อนแอลงในอนาคต

อันดับเครดิตของ SCB สะท้อนถึงเครือข่ายของธนาคารที่แข็งแกร่งโดยเฉพาะในด้านลูกค้าบุคคล และผลการดำเนินงานที่ดี แม้ว่าธนาคารมีการเติบโตที่สูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังสามารถรักษาฐานะเงินกองทุนไว้ในระดับที่ยอมรับได้ และได้มีการเพิ่มระดับการสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB อยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารใหญ่อีก 3 แห่งอยู่สองอันดับ สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและผลการประกอบการที่อ่อนแอกว่า รวมทั้งการที่ KTB มีสถานะเป็นธนาคารรัฐจึงอาจจะต้องให้การสนับสนุนนโยบายรัฐ (แม้ว่าที่ผ่านมา KTB ได้มีการดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์มากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง) ขณะที่อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญหลายตัวของ KTB ได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ว่าอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนในด้านคุณภาพสินทรัพย์และระดับหนี้สินยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารในต่างประเทศที่มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ bbb-

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

การชะลอตัวอย่างรุนแรงที่ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อคุณภาพสินทรัพย์และผลการดำเนินงานของธนาคารที่มากกว่าที่คาดการณ์ ระดับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาของภาคเอกชนโดยเฉพาะภาคครัวเรือนอาจส่งผลทางลบต่อธุรกิจและผู้บริโภคในกรณีที่เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ในกรณีที่ฟิทช์เชื่อว่าภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบด้านลบต่อระดับเงินสำรองกองทุนของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ ฟิทช์อาจปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารทั้ง 4 แห่ง และจะส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL KBANK และ SCB ภาวะการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้นและมีระยะเวลาที่นานขึ้น ที่เกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบัน อาจส่งผลในด้านลบต่อคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของธนาคาร

การปรับลดอันดับเครดิตประเทศไทยอาจส่งผลกระทบทางลบต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL KBANK และ SCB เนื่องจากธนาคารเหล่านี้มีอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่ในระดับเดียวกับประเทศไทย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support

Rating Floor)

อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของธนาคารทั้ง 4 แห่ง สะท้อนถึงการที่ธนาคารดังกล่าว มีความสำคัญต่อระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เนื่องจากธนาคารทั้ง 4 แห่งมีสัดส่วนทางการตลาดรวมกันมากกว่า 60% ของระบบธนาคารพาณิชย์ในด้านเงินฝากและสินเชื่อ

อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KTB ที่ ‘BBB’ อยู่สูงกว่าธนาคารอีก 3 แห่ง หนึ่งอันดับ สะท้อนถึงการที่ KTB มีความสำคัญในเชิงกลยุทย์ต่อรัฐบาลไทย โดย KTB เป็นเพียงธนาคารพาณิชย์แห่งเดียวที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งยังมีการควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิดโดยกระทรวงการคลัง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุน และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

การปรับตัวลดลงของแนวโน้มที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย อาจส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำถูกปรับลดอันดับ อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตของประเทศไทยอาจส่งผลให้อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำถูกปรับลดลงได้เช่นกัน

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ของ BBL มีอันดับเครดิตต่ำกว่าอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารอยู่ 1 อันดับ และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทของธนาคารทั้ง 4 แห่ง มีอันดับเครดิตต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ 1 อันดับ เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีลักษณะด้อยสิทธิในโครงสร้างเงินทุน (capital structure) และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารประเภทดังกล่าว ทั้งนี้หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้เดิมที่ธนาคารได้เสนอขายไปแล้วและไม่ได้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ Basel III

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารทั้ง 4 แห่ง จะได้รับผลกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงในอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวหรืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1)

อันดับเครดิตสากลของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของ KTB ที่ ‘B’ อยู่ต่ำกว่าอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร 5 อันดับ ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานของธนาคาร (going concern) เนืองจากตราสารดังกล่าวมีคุณสมบัติที่สามารถงดการจ่ายดอกเบี้ยได้ถ้าธนาคารมีผลขาดทุน (non-cumulative coupon deferral feature) อันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจาณาอันดับเครดิตสากลของตราสารประเภทดังกล่าว ซึ่งจะอ้างอิงจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเช่นกัน

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1

การเปลี่ยนแปลงในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KTB จะส่งผลให้อันดับเครดิตของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

BBL:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ GMTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 3 พันล้านเหรียญหสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘BBB’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’

KBank:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการหุ้นกู้ EMTN มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’

SCB:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการหุ้นกู้ MTN มูลค่ารวม 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับเครดิตที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB+’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’

KTB:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F3’

- อันดับเครดิตความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb-’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ ‘BBB’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการห้นกู้ EMTN มูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คงอันดับที่ ‘BBB’

- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) คงอันดับที่ ‘B’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของโครงการห้นกู้ระยะสั้น มูลค่า 30 พันล้านบาทคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ คงอันดับที่ ‘AA(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้น คงอันดับที่ 1 (Hybrid Tier 1 Securities) ที่ ‘BBB(tha)’

KS:

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

SCBS:

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

KTBL:

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ