กระทรวงเกษตรฯ เผยประเทศไทยได้รับการรับรองปลอดโรคในม้า และ แพะ แกะ

พฤหัส ๑๒ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๔:๕๑
นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 25 – 30 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้จัดประชุม 82nd General Session of the World Assembly of OIE Delegates ขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และที่ประชุมได้มีการประกาศรับรองให้ประเทศไทยได้รับสถานะปลอดโรค African Horse Sickness (AHS) ในสัตว์จำพวกม้า และโรค Peste de Petits Ruminants (PPR) ในสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กโดยเฉพาะ แพะ-แกะตามข้อกำหนดของ OIE Terrestrial Animal Health Code ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ถึงแม้ทั้งสองโรคนี้ไม่จัดว่าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็เป็นโรคที่ไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะ สัตว์ที่เป็นโรคนี้มักจะถูกทำลาย และจากการที่ประเทศไทยได้รับการรับรองจาก OIE ในครั้งนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์และการส่งออกปศุสัตว์ไปต่างประเทศการสร้างมูลค่าเพิ่มของปศุสัตว์รวมถึงกีฬาการ แข่งม้าในประเทศไทยต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโรค African Horse Sickness หรือโรค AHS เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบในสัตว์จำพวก ม้า ลา ล่อ พบมากในทวีปแอฟริกาเรื่อยมาจนถึงเอเชียใต้ โดยมีพาหะที่สำคัญ คือ ยุงหรือแมลงดูดเลือด ซึ่งสัตว์ที่ป่วยจะแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจ มีการบวมที่ใบหน้าและส่วนล่างของลำตัว และจะตายในที่สุด ส่วนโรค Peste des Petits Ruminants หรือโรค PPR พบในสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กโดยเฉพาะ แพะ – แกะ มีลักษณะคล้ายคลึงกับโรครินเดอร์เปสต์ สัตว์จะแสดงอาการในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร มีคราบเหลืองที่ตา จมูก ปาก หายใจลำบากหรือท้องเสียรุนแรง สัตว์จะติดโรคนี้ จากการสัมผัสโดยตรง เช่น น้ำมูก น้ำลายตัวป่วย แต่ด้วยทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นสำหรับประเทศไทย ซึ่งไม่เคยมีรายงาน การพบโรคนี้มาก่อน กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการเฝ้าระวังทางอาการร่วมกับการสุ่มตัวอย่างตามหลักการทางระบาดวิทยาเพื่อค้นหาโรค โดยโรค AHS นั้น กรมปศุสัตว์ได้เก็บตัวอย่างเมื่อปี 2540 ปี 2554 และ ปี 2555 จำนวนกว่า 1,000 ตัวอย่าง ซึ่งผลการตรวจไม่พบตัวอย่างที่ให้ผลบวกของโรคนี้ ส่วนโรค PPR กรมปศุสัตว์ก็ได้ดำเนินการเฝ้าระวังทางอาการร่วมกับการสุ่มเก็บตัวอย่างตามหลักการทางระบาดวิทยาเพื่อตรวจหาโรค ซึ่งผลการตรวจไม่พบตัวอย่างที่ให้ผลบวกของโรคนี้เช่นกัน

ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้ดำเนินการยื่นขอรับรองการปลอดโรคต่อ OIE ทั้ง 2 โรคเมื่อปี 2556 และได้รับการประกาศ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมของ OIE เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 นับเป็นโรคที่ 2 และ 3 ที่ได้รับการรับรองหลังจากประเทศไทยได้รับการรับรองปลอดโรครินเดอร์เปสต์จาก OIE มาแล้ว เมื่อปี 2547

ท้ายที่สุดนี้กรมปศุสัตว์ขอให้ความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายที่จะให้ประเทศไทยได้รับรองการ ปลอดโรคอื่นๆในสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดการสูญเสียจากการเกิดโรคระบาด สามารถจำหน่ายสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ในราคาที่สูงขึ้น ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในสินค้าด้านปศุสัตว์ หากประชาชนผู้สนใจต้องการข้อมูลเรื่องโรคสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๔ แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๑๓:๕๐ GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๑๓:๕๗ KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๐๒ เม.ย. แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ