วง “Horn Pure and MU Horn Studio” จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอสานฝันดนตรีคลาสสิคจากเมืองไทยสู่เวทีระดับโลก

พุธ ๑๘ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๓:๐๖
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วง Horn Pure and MU Horn Studio จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดมินิคอนเสิร์ตขึ้น เพื่อเปิดตัวต่อสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจที่เข้าชมเป็นครั้งแรก ที่ ห้อง ดร.ถาวร พรประภา ออดิธอเรียม อาคารสยามกลการ โดยมี คุณปราชญา เจริญยิ่ง ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหารทั่วไป ให้การสนับสนุนสถานที่ โดยสมาชิกวง Horn Pure and MU Horn Studio ทั้งหมดเป็นนักเรียนและนักศึกษาเครื่องดนตรีเอก French Horn จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีความคิดสร้างสรรค์และต้องการสร้างเอกลักษณ์และความแปลกใหม่ให้กับวงการดนตรีในประเทศไทย โดยนำเครื่องดนตรี Horn มาบรรเลงร่วมกัน อย่างหลากหลายแนว ทั้งคลาสสิค ป๊อป แจ๊ส และในปัจจุบัน ก็ได้มีสมาชิกรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้สานต่อดนตรีชนิดนี้ให้เป็นที่แพร่หลายต่อประชาชน ทำให้ขณะนี้มีจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 13 คน โดยที่ผ่านมาการเล่นในวงขนาดเล็กนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างจากการเล่นในวงใหญ่ เพราะทุกคนนั้นล้วนแต่มีบทบาทและความสำคัญในแต่ละบทเพลงชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจากการรวมตัวในครั้งนี้ ทำให้พวกเขาค่อยๆพัฒนาการเล่นดนตรี ไปพร้อมๆกัน

Horn (ฮอร์น) คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ซึ่งมักจะเห็นในวงดนตรีประเภทซิมโฟนีหรือออเคสตร้าโดยบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีหลายชนิด ส่วน จุดร่วมต้นของ’วง Horn Pure ถือกำเนิดขึ้นได้จากการรวมตัวกันหลังเลิกเรียนและ ก่อตั้งวงSmall ensemble หรือวงดนตรีขนาดเล็กนั้นเอง มีทั้งหมด 8 ชิ้น (Octet) และก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2552โดยมี ดร.ดาเรน รอบบินส์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษามีสมาชิก 8 คน คือ นายสิขเรศ พึ่งผล – นางสาวนวพร กังสาภิวัฒน์ – นายวงศ์วริศ นิพิฐวิทยา – นางสาวปานฝัน ปัญญาปรุ – นายธนภัค พูนผล – นายณัฏฐพณท์ ขาสัก –นายธนกฤต ลิมรัตนสราญ – นางสาวกชกร สัมพลัง โดยได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน International Horn Society Ensemble competition ในปี 2010 ที่เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย และอีกหลายรางวัล และในปีนี้ก็ได้รับเชิญจากเจ้าภาพอีกครั้งเพื่อไปโชว์ในงาน 46 th International Horn Symposium ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยในครั้งนี้ โดยทางผู้จัดได้เชิญกลุ่มนักศึกษาเครื่องดนตรีเอกเฟรนฮอร์นจาก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MU Horn Studio) เข้าร่วมงานด้วยโดยนักศึกษาที่จะร่วมเดินทางไปคือ นางสาวสุรภา ศิริตันติวัฒน์ – นายจตุรวิทย์ ติณสูลานนท์ – นายอจลวิชญ ท้วมสกุล – นางสาวนภสร เชื้อหน่าย และ นางสาวสิรินทิพย์ วงศ์วังไพศาล โดยจะได้ไปเข้าร่วมเวิร์คช้อปกับโปรเฟสเซอร์ และ ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก จึงเป็นที่มาของการรวมตัวของชื่อวงว่า Horn Pure and MU Horn Studio

สำหรับบทเพลงที่ใช้เล่นในการเปิดตัวครั้งแรกนี้มีทั้งบทเพลงที่คุ้นหู อาทิ เพลง Beauty and the Beast - แคมป์เบล – Farewell to the Red Castle และเพลงไทยที่คุ้นหูอย่าง ข้างขึ้นเดือนหงาย และ เพลงประกอบละครช่อง 3 เรื่อง รักออกฤทธิ์ ผลงานของคุณหนึ่ง ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ ก็ได้นำมาบรรเลงเป็นบทเพลงโดยเครื่องดนตรีฮอร์น ซึ่งสร้างความสนใจให้กับผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเดินทางครั้งนี้ยังขาดงบประมาณในการสนับสนุนเพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้ยังไม่รู้จักแพร่หลาย ดังนั้นวงวง Horn Pure and MU Horn Studio จึงนำวงไปเล่นดนตรีแบบเปิดหมวก บริเวณที่ห้างมาบุญครอง และเล่นเพลงสากลที่เป็นที่นิยมเพื่อสื่อให้เห็นว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็เล่นได้หลายแนว และยังมีโครงการจัดคอนเสิร์ตอีก สำหรับผู้ที่มีใจรักดนตรีสามารถติดตามความเคลื่อนไหวหรือมอบกำลังใจให้พวกเขาได้ที่ www.facebook.com/Horn Pure หรือ Youtube /Be34TGs3W9k

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ