สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ร่อนจดหมายเปิดผนึกตรงถึงหัวหน้า คสช.เร่งหาแนวทางช่วยเหลือผลกระทบแรงงานกัมพูชากลับประเทศ

อังคาร ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๓:๓๔
นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ยืนจดหมายเปิดผนึกส่งตรงถึงหัวหน้า คสช. หารือและเสนอแนะแนวทางช่วยเหลือสมาชิกสมาคมฯ หลังเดือดร้อนหนักจากผลกระทบแรงงานกัมพูชาอพยพกลับประเทศ พร้อมแนะแนวทางแก้ไข 3 ข้อหลัก ได้แก่ ด้านแรงงาน-ด้านเศรษฐกิจ-ด้านฐานข้อมูล

นายวิสิฐษ์ โมไนยพงศ์ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดทำจดหมายเปิดผนึกส่งประเด็นความเดือดร้อนและข้อเสนอแนะผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องด้วยทางสมาคมฯ ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกสมาคมฯ เรื่องผลกระทบจากการอพยพกลับประเทศของแรงงานกัมพูชา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลนฉับพลันในธุรกิจรับสร้างบ้าน และผู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง โดยทางสมาคมฯ ได้รวบรวมข้อปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะทำงานในการแก้ไขปัญหา

โดยทางสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านขอนำเสนอประเด็นเกี่ยวเนื่องต่างๆ เพื่อเป็นการวางแผนในระยะยาว ซึ่งมีรายละเอียด 3 ข้อเรียกร้องหลัก ดังนี้

1.ด้านแรงงาน มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในการก่อสร้างบ้าน ได้แก่

1.1 ขอให้คณะทำงานได้ผ่อนผันการทำงานข้ามเขต เพื่อบรรเทาปัญหาแรงงานขาดแคลน

1.2 ปัญหาเรื่องความชัดเจนของอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ โดยขอให้จัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน หรือจัดตั้งหน่วยงานที่ร่วมทำงานในลักษณะครบวงจรที่เดียว เพื่อความสะดวกรวดเร็วในกระบวนการนำเข้าแรงงาน

1.3 ปัญหาเรื่องการกำหนดพื้นที่การทำงาน โดยกำหนดพื้นที่ทำงานให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยกำหนดให้ใช้พื้นที่จังหวัด

1.4 ปํญหาการกำหนดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าแรงงาน ขอให้ปรับลดค่าใช้จ่ายให้ต่ำลง เพื่อจูงใจให้แรงงานสามารถกลับเข้ามาทำงานในค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง และเป็นการลดภาระของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ต้นทุนสู่ผู้บริโภคต่ำลง

ข้อเสนอถัดมา คือ

2.ด้านเศรษฐกิจ ขอให้พิจารณาแนวทางกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค ได้แก่ การจัดทำโครงการยกเว้นภาษีผู้ก่อสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง และโครงการลดค่าธรรมเนียมการจดจำนอง จากอัตราละ 1% เป็นอัตรา 0.01% และข้อเสนอสุดท้าย คือ 3.ด้านฐานข้อมูล ขอให้พิจารณากระบวนการจัดทำฐานข้อมูลของภาครัฐ โดยเฉพาะการจัดหมวดหมู่ ประเภทธุรกิจ ควรปรับฐานข้อมูลให้ตรงตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งแต่ละธุรกิจมีแตกต่างกัน เช่นธุรกิจรับสร้างบ้าน เป็นธุรกิจให้บริการรับสร้างบ้านบนที่ดินของผู้บริโภค (ประเภทบริการ) แต่ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ ก่อสร้าง ทำให้มาตรการของภาครัฐที่ออกมานั้นจึงไม่ตรงกับความต้องการ ที่แท้จริง

"สมาคมฯ ได้รับร้องเรียนจากสมาชิกสมาคมฯ มาอย่างต่อเนื่องและเป็นความเดือดร้อนจริง ซึ่งในฐานนะนายกสมาคมฯ จึงตัดสินใจเดินหน้าดำเนินการส่งจดหมายเปิดผนึกถึงหัวหน้า คสช. เพื่อขอแจ้งข้อมูลและประสานความร่วมมือ และหวังว่าจะได้รับการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาตามเห็นสมควร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งทางสมาคมฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับคณะทำงาน เพื่อร่วมกันหาทางออกที่ดีอย่างเต็มที่" นายวิสิฐษ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ