คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ติดตามการดำเนินงานจัดทำแผนที่น้ำบาดาล มาตราส่วน 1 : 50,000 ที่ อ.ภูเรือ จ.เลย

อังคาร ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๕:๑๑
วันที่ 20 มิถุนายน 2557 นายสัมฤทธิ์ ชุษณะทัศน์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นำคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ติดตามความก้าวหน้าของโครงการศึกษา สำรวจ และจัดทำแผนที่น้ำบาดาลขั้นรายละเอียด มาตราส่วน 1 : 50,000 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นหนึ่ง ในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ณ บริเวณวัดประชาสามัคคี ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

สืบเนื่องจากความต้องการข้อมูลพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ด้านงานวิชาการ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และ สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ดำเนินโครงการศึกษา สำรวจ และจัดทำแผนที่น้ำบาดาล ขั้นรายละเอียด มาตราส่วน 1 : 50,000 ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศไทย ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ตั้งแต่ปี 2551 โดยนำร่องในพื้นที่จังหวัดน่าน ต่อมาในปี 2553 ดำเนินการในพื้นที่แอ่งน้ำบาดาลเจ้าพระยาตอนบน และปี 2555 – 2557 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ตามลำดับ โดยคาดว่าในปี 2560 จะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดของประเทศไทย

สำหรับแผนที่น้ำบาดาลขั้นรายละเอียดมาตราส่วน 1:50,000 จะแสดงข้อมูลความสัมพันธ์ ของแหล่งน้ำบาดาลกับพื้นผิวภูมิประเทศ สภาพทางธรณีวิทยา และแหล่งน้ำประเภทอื่น ๆ โดยส่วนที่สำคัญคือ การแสดงข้อมูลด้านปริมาณและด้านคุณภาพของน้ำบาดาล ตามพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของแผนที่ ทั้งในระบบแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิตอล ทั้งนี้ การคัดเลือกลำดับพื้นที่ก่อนหลังที่จะดำเนินโครงการศึกษาสำรวจและจัดทำแผนที่น้ำบาดาล ขั้นรายละเอียด 1 : 50,000 จะพิจารณาจากสภาพปัญหาความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันพบว่า นอกจากปริมาณความต้องการใช้น้ำจะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป บางพื้นที่เจาะบ่อน้ำบาดาลแล้ว ไม่สามารถพัฒนานำแหล่งน้ำขึ้นมาใช้ได้เนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อย หรือมีชั้นหินให้น้ำบาดาลอยู่ในระดับลึกและถูกปิดทับด้วยชั้นดินเหนียวหนาทำให้ต้องลงทุนสูงในการพัฒนาน้ำขึ้นมาใช้ บางพื้นที่ก็มีปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาล เช่น กร่อย-เค็ม หรือมีสารละลายเหล็กสูงเกินมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก ดังนั้นทำให้ต้องเร่งจัดหาข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวเพิ่มเติมว่า การสำรวจและจัดทำแผนที่น้ำบาดาลขั้นรายละเอียด มาตราส่วน 1:50,000 จะช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่ต้องการข้อมูลด้านน้ำบาดาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องรับผิดชอบในด้านการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเจาะบ่อน้ำบาดาล ให้สามารถรองรับต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ หลังจากโครงการฯ สำเร็จลุล่วง ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป ได้นำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล หรือบริหารจัดการน้ำบาดาล ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงลดต้นทุนการสำรวจและการเจาะน้ำบาดาล ได้คุ้มค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ หน่วยงานหรือประชาชนที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล ชั้น 4 อาคาร 2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โทรศัพท์ และโทรสาร 0 2793 1061

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ