TACGA พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยรับทีวีดิจิตอล

พฤหัส ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๘:๐๒
นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย เผยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการดิจิตอล คอนเทนท์ไทยเต็มที่ รับอานิสงค์ทีวีดิจิตอล เชื่อกระตุ้นตลาดคอนเทนท์โตขึ้นมาก

นายนิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (Thai Animation & Computer Graphics Association : TACGA) เปิดเผยว่า สมาคมฯพร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการด้านแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของไทยอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับความต้องการทั้งในส่วนของคอนเทนท์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบของคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) และเทคนิคพิเศษ (VFX) สำหรับงานโทรทัศน์ งานโฆษณาและภาพยนตร์ รวมถึงการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงมาใช้ในการผลิตงาน

นายนิธิพัฒน์ กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2554 ที่ผ่านมาระบุว่ามูลค่าทางด้านการตลาดของเนื้อหาดิจิทัล หรือ ดิจิทัลคอนเทนท์ (Digital content) มีทั้งหมด 3 ประเภทประกอบด้วย แอนิเมชั่น(Animation) เกมส์(Game) และ E-Learning คิดเป็นมูลค่าทางด้านการตลาดรวมกันประมาณ 16,467 ล้านบาท แยกเป็นตลาดเกมส์ (Game)ประมาณ 8,806 ล้านบาท ตลาดแอนิเมชั่น(Animation) 5,623 ล้านบาท และตลาด E-Learning 2,038 ล้านบาท

ขณะที่มูลค่าตลาดของการสร้างภาพเคลื่อนไหวและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค (CG ) มีมูลค่าการตลาดอยู่ประมาณ 424 ล้านบาท สามารถแบ่งออกเป็น CG สำหรับภาพยนตร์โฆษณา 241 ล้านบาท และ CG สำหรับภาพยนตร์ 183 ล้านบาท โดยประเมินว่ากลุ่ม CG จะได้รับอานิสงค์จากดิจิทัลทีวีมากที่สุด เพราะอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของไทยต้องการลงทุนและพัฒนาการสร้างภาพเคลื่อนไหวทั้งในรูปของคอมพิวเตอร์กราฟิค(CG) และ เทคนิคพิเศษ ( VFX) อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2557 นี้ในส่วนสื่อโทรทัศน์ จะมีการเติบโตของคอนเทนต์เพิ่มขึ้น 2% หรือคิดเป็นมูลค่า 70,800 ล้านบาท

“การเปลี่ยนแปลงของวงการโทรทัศน์ไทย สู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล 48 ช่อง ซึ่งในจำนวนนี้ 3 ช่องเป็นช่องสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่การผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ทำให้ตอนนี้มีการนำเข้าการ์ตูนจากต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อให้มีจำนวนพอเพียงตามช่วงเวลา จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะสร้างคาร์แรคเตอร์ใหม่ๆ และการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องใหม่ๆ ให้กับช่องทีวีที่มีความต้องการการ์ตูนเพิ่มขึ้น”

แต่เนื่องจากโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ต้องการคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการส่งสัญญาณภาพที่มีความละเอียดสูง(High-Definition หรือ HD) โดยมีขนาดภาพที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ดังนั้นในส่วนของการผลิตงานการ์ตูนแอนิเมชัน การสร้างภาพเคลื่อนไหวทั้งในรูปแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (CG) และเทคนิคพิเศษ (VFX) จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มในหลายๆด้านทั้งทางด้านบุคลากร อุปกรณ์และเทคโนโลยี

“หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น แต่ในทางกลับกัน วิธีการก็ยากขึ้นเรื่อยๆ การทำงาน CG แต่ละครั้งไม่มีวิธีการทำสำเร็จรูป เราจะต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบ รีเสิร์ชและคิดค้นวิธีการทำให้ได้อย่างที่ต้องการ งานด้านนี้จึงต้องใช้ทักษะและฝีมืออย่างสูง” นายนิธิพัฒน์ กล่าว

ด้าน นายธนัช จุวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด ในฐานะคนทำงานเบื้องหลังเปิดเผยว่า “ยิ่งภาพคมชัดมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งเห็นรายละเอียดมาก จากเดิม 720x576 กลายมาเป็น 1920x1080 ภาพใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ลูกค้าก็ต้องการงานที่มีคุณภาพที่สูงขึ้น การทำงานยิ่งต้องปราณีตขึ้น แต่เราก็ต้องลงทุนเพิ่ม ทั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องเรนเดอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลด้วย”

สอดคล้องกับ นายวรนันท์ ธรรมภักดิ์โภคิน กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิจิตอล เมจิค เอฟเฟ็ค เฮาส์ จำกัด ที่ให้ข้อมูลว่า “งานมากขึ้น แต่การทำงานก็ต้องละเอียดขึ้น ใช้เวลามากขึ้น คนทำงานเองก็ต้องพัฒนาทักษะและฝีมือตนเองให้สูงขึ้นตามไปด้วย และแน่นอนยังมีความต้องการคนทำงานเบื้องหลังอย่างพวก Computer Graphic เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ค่าใช้จ่ายในด้านบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือ ก็เลยต้องเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย”

การมาของทีวีดิจิตอลจึงส่งผลให้ปริมาณของงานในภาคธุรกิจดังกล่าวจะมีเพิ่มมากขึ้น สร้างโอกาสในการขยายงานและสร้างให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกมาก รวมทั้งความต้องการบุคลากรในสาขานี้ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง จึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งการดึงตัว และการรับนักศึกษาที่จบใหม่เข้าทำงาน แต่ทางสมาคมฯ เองมีความเป็นห่วงในเรื่องของงบประมาณการผลิต ที่ดูจะไม่สอดคล้องต่อระยะเวลาในการทำงานและปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบกันแล้ว ระยะเวลาและงบประมาณที่มีให้กลับน้อยลงหรือเท่าเดิม ในขณะที่ผู้ผลิตงานต้องใช้เวลาทุ่มเท ใส่ใจและพิถีพิถันมากขึ้น และต้องลงทุนกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ สมาคมฯ ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการมีส่วนร่วมผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก (Creative Economy) ตลอดจน มีหน้าที่ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในหลายด้าน ทั้งการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ การสร้างมาตรฐานทั้งทางด้านคุณภาพ ราคา การพัฒนาบุคลากร รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการเชื่อมความต้องการของภาคเอกชนไปยังภาครัฐ และมีส่วนช่วยในการสร้างการรับรู้ในระดับประชาชนทั่วไปต่อภาคอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version