วิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายผู้บริโภคในเชิงลึก ฉีกแนวตลาดด้วยรูปแบบ “Consumer Panel” วิเคราะห์ด้วยดัชนี CRP หรือ Consumer Reach Point อัตราการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ไทย มีดัชนี CRP เติบโตสูงสุดในโลกถึง 9% ในขณะที่ทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพียง 1.7%
มร. ฮาร์เวิร์ด ชาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กันตาร์ เวิร์ลพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า “ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า แบรนด์ยอดนิยม หรือ แบรนด์ที่มีการรับรู้สูงนั้น อาจไม่ได้เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อจริง (Real Buying) บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล จำกัด หรือ KWP ผู้นำทางด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึก ที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่มีอัตราการบริโภคสูง หรือFMCG (Fast Moving consumer Goods)ได้คิดค้นพัฒนาแนวคิดใหม่ ฉีกจากตลาดข้อมูลวิจัย ด้วยการทำและนำเสนอการวิจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคเชิงลึกทำการซื้อจริง โดยฉีกแนวทำวิจัยสำรวจในรูปแบบ คอนซูเมอร์ พาแนล (Consumer Panel) ที่เน้นที่ตัวผู้บริโภคและการซื้อจริงเป็นสำคัญ ซึ่งแนวทาง คอนซูเมอร์ พาแนล นั้น เป็นการสร้างและใช้ฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างขนาดใหญ่ที่เป็นผู้ซื้ออย่างแท้จริง เน้นในลักษณะเป็น “ครัวเรือน” ในจำนวนที่กว้างขวางที่สุด พร้อมทั้ง ได้ให้ความสำคัญทั้งกับฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างที่เป็น “คนเมือง” และ “ต่างจังหวัด” ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถใช้เป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมผู้บริโภคได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด โดยทำการเฝ้าเก็บข้อมูล จาก “ตะกร้าสินค้า” ที่ผู้บริโภคทำการจับจ่ายจริง และทำการวิเคราะห์ประมวลผล ด้วย ดัชนี CRP หรือ Consumer Reach Point เป็นอัตราการตัดสินใจเลือกซื้อจริงของสินค้านั้น ๆ ซึ่งเป็นเอกสิทธิเฉพาะของ กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (*** โดยที่วิธีการโดยทั่วไปจะทำการเก็บข้อมูล ณ จุดขาย เน้นในส่วนของผู้ค้าปลีกรายใหญ่เป็นหลัก ตาม โมเดิร์น เทรด และ ห้างสรรพสินค้า หรือเรียกว่า Retail Audit ซึ่งแตกต่างจาก กันตาร์ฯ ที่ใช้แนวคิดใหม่ ที่เน้นที่ตัวผู้ซื้อ ทำการสำรวจการตัดสินใจซื้อจริง รูปแบบ Consumer Panel)
ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญ ที่จะให้ทราบถึง
- สถานที่ ที่ซื้อสินค้าแต่ละชนิด ซื้อที่ไหน ? - ซื้อสินค้าเมื่อไหร่ ?
- ปริมาณการซื้อของสินค้าที่ซื้อแต่ละชนิด - ซื้อในราคาเท่าไหร่ ?
- ใครเป็นผู้ซื้อสินค้า - ซื้อแบรนด์อะไร เปลี่ยนแบรนด์หรือไม่?
- ความถี่ในการซื้อสินค้า - ซื้อช่วงโปรโมชั่นหรือ ไม่
แม่นยำด้วยฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างขนาดใหญ่ ถึงกว่า 2/3 ของประชากรโลก และ 4,000ครัวเรือน ในไทย เพื่อแสดงผลพฤติกรรมการซื้อของครัวเรือน กว่า 22.2 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อความแม่นยำของข้อมูล
โดยในระดับโลก บริษัทใช้ฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างที่ใหญ่ ครอบคลุมประชากรกว่า 4,500 ล้านคน หรือ นับเป็นจำนวนถึง 2/3 ของประชากรทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้สร้างฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างที่เป็น “ครัวเรือน” ในกลุ่ม Household Panel มากกว่า 4,000 ครัวเรือน และ 1,500 ครัวเรือน ในส่วนของ Baby Panel เพื่อเป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมการซื้อของจำนวนครัวเรือน กว่า 22.2 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ พร้อมทั้ง ให้ความสำคัญทั้งกับฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่าง ทั้งในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด และ คนเมือง ในสัดส่วนที่เหมาะสม คือ 8.8 ล้านครัวเรือน หรือเท่ากับ 2,800 ตัวอย่างสำหรับเขตเมือง (Urban) และ จำนวน 13.2 ล้านครัวเรือน หรือเท่ากับ 1,200 กลุ่มตัวอย่าง สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด เนื่องจาก ประขากรในเขตต่างจังหวัดนั้น โดยตลาดประเทศไทย มีการทำงานร่วมกับแบรนด์ชั้นนำ กว่า 100 ราย ในประเทศไทย ทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็น รายสัปดาห์ และได้ทำอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลากว่า 15 ปี จึงมีข้อมูลพร้อมและเห็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคในแต่ละช่วง ตลอดจน แนวโน้มการบริโภคที่กำลังจะเปลี่ยนไป ทำให้นักการตลาดและเจ้าของสินค้า สามารถคาดการ์ณวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนขนาดฐานกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างในระดับโลก ที่ กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ทำการสำรวจนั้น สามารถอ้างอิงตามสถิติ ตัวอย่างของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเหนือ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้
- สาธารณรัฐประชาชนจีน 40,000 ครัวเรือน - เกาหลีใต้ 3,000 ครัวเรือน
- ประเทศไทย 4,000 ครัวเรือน - ญี่ปุ่น 12,640 ครัวเรือน
- เวียดนาม 3,350 ครัวเรือน - ไต้หวัน 2,500 ครัวเรือน
- มาเลเซีย 2,500 ครัวเรือน - ฟิลิปปินส์ 3,000 ครัวเรือน
- อินโดนีเซีย 7,000 ครัวเรือน
“การจัดอันดับแบรนด์ที่ติดอันดับที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุด“ ประจำปี2557หรือ 2014 Brand FootprintReport เน้นกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการบริโภคสูง FMCG (Fast Moving Consumer Goods)
เพื่อเป็นการคืนผลประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้าและผู้สนใจ กันตาร์เวิร์ลดพาแนลได้จัดทำรายงานพิเศษ “การจัดอันดับแบรนด์ที่ติดอันดับที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุด“ ประจำปี2557 หรือ 2014 Brand Footprint Report ด้วยรูปแบบ “คอนซูเมอร์พาแนล” ที่เน้นกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการบริโภคสูง FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ประกอบด้วย กลุ่มครัวเรือน และ ลูกน้อย กลุ่ม เพอร์ซัลแนลแคร์- Personal Care, กลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม ,กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม ฯลฯโดยทำการสรุปเป็นอันดับแบรนด์ที่เป็นภาพรวมของทุกกลุ่มสินค้า และ แบรนด์ยอดนิยมที่แยกตามกลุ่มประเภทสินค้า ทั้งในระดับโลก และ อันดับในประเทศไทย ยิ่งกว่านี้ ยังมีการสรุปแนวโน้ม แบรนด์ดาวรุ่ง เพื่อการปรับตัวได้อย่างทันท่วงทีในตลาดสินค้าอุปโภค บริโภค ที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ในปัจจุบัน ไทย เติบโตสูงสุดในโลก ด้วยดัชนี CRP ในอัตราสูงถึง 9% ตามด้วย จีน และ อินเดีย ด้วยอัตรา 7% และ 5% ตามลำดับ ในขณะที่ ดัชนี CRP ของโลก เติบโต เพียง 1.7%
จากรายงานวิจัยดังกล่าว พบว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีมีอัตราแนวโน้มที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ในทุกทวีปในโลก โดยมีการเติบโตของดัชนี CRP (Consumer Reach Point) ในกลุ่ม FMCG อย่างโดดเด่น ในอัตรา 9% ในขณะที่ทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพียง 1.7% เมือเปรียบเทียบกับทวีปเอเซีย เติบโตเพียงแค่ 2.9% ลาติน 1.2% สหรัฐอเมริกา เพียง 0.8% ส่วนในทวีปยุโรป กลับมีสถิติลดลงเป็น ติดลบ ถึง -1% ดัชนี CRP อัตราที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจริง กลับมี
สถิติลดลง เป็น ติดลบถึง -1% ส่วนตลาดที่จรัสแสง รองจากประเทศไทย ได้แก่ ประเทศจีน และ ประเทศอินเดีย ที่มีอัตราการเติบโต ของดัชนี CRP ที่ 7% และ 5% ตามลำดับ
สำหรับผลการอันดับในระดับโลก ของ กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค FMCG ในภาพรวมนั้น แบรนด์ที่ติดอันดับที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุด 10 อันดับ คือ โคคา-โคล่า, คอลเกต, เนสกาแฟ, แม็กกี้, เป๊ปซี่, คนอร์, ไลฟ์บอย, เลย์, แพนทีน และ คราฟท์ ตามลำดับ
ส่วนในประเทศไทย แบรนด์ที่ติดอันดับที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุดในประเทศไทย อันดับสูงสุด คือ ดัชมิลล์ ตามด้วยอันดับ 2 – 5 ดังนี้มาม่า, เนสกาแฟ, รสดี, และ เลย์
สำหรับอันดับแบรนด์ที่มีอัตราการถูกซื้อสูงสุด 3 อันดับ แยกตามกลุ่มสินค้า มีดังนี้
กลุ่มอาหาร - ดัชมิลล์, มาม่า และ รสดี
กลุ่มเครื่องดื่ม - เนสกาแฟ, แลคตาซอย, ดัชมิลล์
กลุ่มสินค้าในครัวเรือน – บรีส, ซันไลต์ และ คอมฟอร์ท
กลุ่มสุขภาพและความงาม ได้แก่ คอลเกต, ซันซิล และ โพรเทคส์
ส่วน 10 อันดับแบรนด์ดาวรุ่งระดับโลก ประจำปี 2556 คือ “ดาวน์นี่ ตามด้วย วิม, โอริโอ, ชีโตส และ เปปโซเด้นท์
สำหรับประเทศไทย แบรนด์ดาวรุ่ง ในภาพรวม “ดาวน์นี่” มาแรงเป็นอันดับหนึ่ง และเบรนด์ดาวรุ่งแยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้ดังนี้
- แบรนด์ที่อยู่ในกลุ่มเครื่องดื่ม คือ โคคา-โคลา, อิชิตัน และ โออิชิ
- แบรนด์ที่อยู่นอกกลุ่มเครื่องดื่มและอาหาร คือ ดาวน์นี่
- เด็กสมบูรณ์ และ ทิพรส เป็นแบรนด์ใน กลุ่มซอสปรุงรส
สำหรับ การสรุปการจัดอันดับแบรนด์ที่ถูกเลือกซื้อสูงสุด นี้ กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ได้เริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2555 และจะจัดทำรายงานอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี เพื่อนักการตลาดในประเทศไทยที่สนใจข้อมูล บทวิเคราะห์ รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ สามารถคลิ๊กดูข้อมูลได้ที่ http://www.brandfootprint-ranking.com หรือ อยากปรึกษาข้อมูลด้านการให้บริการข้อมูลวิจัย กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ให้บริการในรูปแบบสมาชิก และ แบบ Project ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความจำเป็น ทั้งแบบ รายปี / ราย 3 ปี และ สมาชิกระยะยาว 5 ปี เพื่อรับข้อมูลวิจัยพร้อมประมวลผลและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ด้วยบริการ 3 ระดับ คือ Core Service, Special Analysis และ Advanced Service (Expert Analysis) คลิ๊กดูข้อมูลได้ที่ www.kantarworldpanel.com
About Kantar Worldpanel (Thailand)
บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP เป็นบริษัทในเครือ WPP ซึ่ง WPP นี้ เป็นเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับโลก สำนักงานตั้งอยู่ ที่ ประเทศอังกฤษ มีบริษัทในเครือมากกว่า 100 บริษัท กระจายอยู่ทุกทวีป ที่ล้วนเป็นบริษัทผู้นำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ ทั้งสิ้น อาทิ เอเจนซี่ผู้นำระดับโลกด้านโฆษณา, ด้านสื่อสารการตลาด ด้านวางแผน และบริหารสื่อ , ด้านวิจัยการตลาดและผู้บริโภค, ด้านประชาสัมพันธ์ ตลอดจน ด้านอื่น ๆ ที่อยู่ในหลากหลายธุรกิจ สำหรับบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล จำกัด ได้สั่งสมผลงานและประสบการณ์มานานกว่า 60 ปี กระจารกการให้บริการในประเทศที่มีศักยภาพกว่า 55 ประเทศทั่วโลก ทั้งในรูปแบบสำนักงานสาขาของบริษัท และ ลักษณะพันธมิตรธุรกิจ ด้วยข้อมูลวิจัยอันทรงพลัง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทำให้กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล ได้รับความไว้วางใจในการใช้บริการข้อมูลวิจัยดังกล่าว จากองค์กรชั้นนำมากว่า 600 บริษัททั่วโลก