สรุปเสวนา“สถานการณ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภายใต้การกำกับของ กสทช .: ซิมดับ 3G คุกกี้รัน ฯลฯ”

อังคาร ๐๑ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๐๙:๕๙
NBTC Policy Watch จัดเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภายใต้การกำกับของ กสทช .: ซิมดับ 3G คุกกี้รัน ฯลฯ” ร่วมเสวนาโดย นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, สุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านกิจการโทรคมนาคม, ชัยยุทธ มังศรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำถามที่สำคัญสำหรับงานเสวนาวันนี้คือ “ราคา 3G ลดลง 15% จริงหริือไม่ ตามที่ กสทช. ระบุไว้ในเงื่อนไขการรับใบอนุญาตว่าต้องลดราคาลง” ในประเด็นนี้ ผอ.สำนักค่าธรรมเนียมและค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลด้านนี้โดยตรงให้ความเห็นว่า “สำนักงานมีการคิดราคาจากวันที่ได้รับใบอณุญาต คือวันที่ 7 ธันวาคม 2555”และใช้วิธีการคำนวณหาค่าบริการเฉลี่ยของบริการประเภทเสียง, SMS, MMS ที่ผู้ให้บริการเก็บจริงในตลาดตอนนั้นโดยเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งพบว่าผู้ให้บริการมีการลดราคาลง 15 เปอร์เซนต์ ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้อัตราค่าบริการแตกต่างจากการ คำนวณของ NBTC Policy Watch ซึ่งคิดอัตราค่าบริการที่ผู้ให้บริการนำเสนอกับตลาดปัจจุบัน (ดูรายละเอียดการนำเสนอของ NBTC Policy Watch ได้ในhttp://nbtcpolicywatch.org/press_detail.php?i=1231&t=2)คุณหมอประวิทย์ ให้ความเห็นว่า “การขยายตัวของการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มขึ้นมากมายในช่วงที่ผ่านมา วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไป เป็นสังคมก้มหน้ามากขึ้น กรณี คุ้กกี้รันก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการไม่เท่าทันเทคโนโลยี รวมถึงการใช้อินเตอร์เน็ต ส่วนกรณี 3G ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพกับราคา ถ้าวัดความเร็วแล้วก็พบว่ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน ไม่ได้ต่างกันจนผิดหูปิดตา ในส่วนที่กฎหมายระบุว่าต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ภายใน 2 ปี ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่มากต้องช่วยกันตรวจสอบ”

“เรื่องราคาว่าลดราคาได้จริงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการคำนวณ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับกรณีที่ผู้บริการไม่ลดราคา แต่บอกว่ามีบริการเสริมเพิ่มให้ ตามกฎหมายแล้วใครไม่เปลี่ยนโปรโมชั่นถือว่าต้องลดราคา ยังไงก็มีความผิดตามกฎหมาย คนใช้ 3G ไม่ได้เน้นราคา แต่เน้นคุณภาพ ส่วนเรื่องลดราคา อยากให้ผู้บริโภคถามตัวเองว่าตัวเองจ่ายถูกลงไหม ถ้าไม่ก็แสดงว่านโยบายนั้นมีปัญหา แต่ตอนนี้ผมไม่รู้สึกว่าประชาชนรู้สึกว่ามันถูกลง”

ชัยยุทธ ให้ความเพิ่มเติมว่า “ปริมาณเรื่องร้องเรียนในช่วงที่มีการประมูล 3G ที่ผ่านมา มีเรื่องอัตราบริการไม่มาก แต่ส่วนมากเป็นเรื่องของคุณภาพการให้บริการ เช่น การขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม ซึ่งตามกฎหมายระบุให้ขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 2 ปี ยกตัวอย่าง AIS ขยายโครงข่ายได้มากกว่า ตามด้วย ดีแทค และทรู ซึ่งเน้นการขยายโครงข่ายที่พื้นที่เมือง เนื่องจากมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก แต่ก็ยังพบว่าในตึกสูงกยังมีสัญญาณไม่ครอบคลุม ในขณะที่ในต่างจังหวัดยังคงมีปัญหาเรื่องขยายโครงข่ายไปไม่ถึง และมีผู้บริการที่ไม่ทราบว่าในพื้นที่ของตนยังไม่มีโครงข่ายก็ไม่สามารถใช้บริการได้”

คำถามต่อมาคือ เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคและกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนหากว่าไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันพบว่าการจัดการเรื่องร้องเรียนมีความล่าช้าใช้เวลามากกว่า 30 วันตามกฎหมายกำหนด

ชัยยุทธ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ความล่าช้ามาจากกระบวนการชี้แจงที่ใช้เวลานาน ทั้งจากผู้ประกอบการ รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ก่อนที่เสนอเรื่องให้บอร์ด กทค. ตัดสินต่อไป รวมไปถึงบุคลากรทางสำนักงานมีจำกัด โดยสำนักงานไม่ได้มีเจตนาประวิงเรื่องใดๆ ตอนนี้มีข้อเสนอให้ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยเพิื่อตัดสินเรื่องร้องเรียน

ซึ่งสามารถจัดการได้เร็วขึ้น มากไปกว่านั้นยังให้ความเห็นว่าเวลาที่ระบุในกฎหมายน้อยไป”

ขณะที่ สุภัทรา ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการ เสนอว่า “ควรมีการปฏิรูปกลไกจัดการเรื่องร้องเรียนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ผิดไปจากกฎหมายหรือประกาศอย่างชัดเจน และบางเรื่องก็มีบรรทัดฐานการตัดสินอยู่แล้ว ย่ิงจัดการช้าก็ยิ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ในขั้นอนุกรรมเองก็มีการเสนอความเห็นแก่สำนักงาน กสทช. ในกรณีที่เห็นว่าเรื่องร้องเรียนนั้นควรทำให้เป็นประกาศเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการทั่วไป” เนื่องจากยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม อาทิ เรื่องโรมมิ่ง รวมถึง sms ที่สร้างความรำคาญแล้วมีการคิดค่าบริการ, การตั้งเสาโทรคมนาคม, การคิดค่าบริการผิดพลาด, การย้ายค่าย, สัญญาณไม่ชัดเจนในอาคารสูง, ซิมดับ ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศของ กสทช., เป็นต้น และเสนอให้ กสทช.สรุปรายงานการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ล่าช้า เช่น ช้าเกิน 30 วัน, ช้าเกิน 90 วัน, 1 ปี, 2 ปี”

สำหรับประเด็นเรื่องซิมดับ สุภัทรา ยืนยันว่า “ซิมต้องไม่ดับ”, “เงินเหลือต้องคืน” และให้ความเห็นว่าที่

ผ่านมายังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ กสทช. ควรมีมาตรคุ้มครองให้ซิมไม่ดับ ซึ่งควรมีมาตรการชัดเจนว่าจะคืนเงินยังไง ภายในเวลาเท่าไหร่

คุณหมอประวิทย์ เสนอเพิ่มเติมว่า “ระบบการจัดการเรื่ิองร้องเรียน ควรแยกแยะว่าเรื่องอะไรควรจบเร็ว

ก็ควรจบเร็ว บางเรื่องถ้าจะต้องมีกระบวนการก็ต้องมี โดยเฉพาะบางเรื่องแนวการวินิจฉัยอยู่แล้วก็สามารถจัดการได้เร็ว เช่น กรณี 99 สตางค์ก็สามารถจัดการได้เลย “ไม่ใช่แค่รอรับเรื่องร้องเรียน ต้องป้องกันด้วย” และยังเสนอเพิ่มเติมว่า “การจัดการเรื่องร้องเรียนควรมีหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างประเทศออสเตรเลียที่มีองค์กรผู้ตรวจการที่รับดูแลเรื่องร้องเรียนโดยเฉพาะ”

มากไปกว่านั้นคุณหมอประวิทย์ยังตอบประเด็นร้อนหลายเรื่อง อาทิ “กรณีการปิดเฟซบุ๊ค โดยยืนยันว่า กสทช.มีประกาศว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว เพราะ กสทช. ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลเรื่องคอนเท้นต์ [เนื้อหา] คนที่มีหน้าที่ดูแลคือ ไอซีที ซึ่งโดยเทคนิคสามารถตรวจว่าใครปิดหรือไม่อย่างไร”

กรณีซิมดับ “เนื่องจากกระบวนการประมูล 4G จะเกิดขึ้นกลางเดือนสิงหาคม ต้องมีการขอใบอนุญาตใหม่ ซึ่งทำให้การย้ายค่ายไม่ทัน ฉะนั้นซิมจะดับกลางกันยายนแน่นอย แล้วจะแก้ไขยังไง ยกตัวอย่าง ถ้าไม่มีการบริการทดแทนก็ไม่ต้องควรดับ เสนอให้มีการประมูลล่วงหน้า สิ่งที่ กสทช. เคยทำคือ สั่งให้ผู้ให้บริการที่จะหยุด/เลิกกิจการให้มีการโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น สิ่งที่จะกระทบผู้บริโภคคือ เงินต้องทวง, เลขหมายที่ดับไปด้วย, บริการต้องเปลี่ยน” ในท้ายที่สุด คุณหมอประวิทย์ สรุปว่า “กสทช. ควรเปิดเผยเรื่องข้อมูลข่าวสารเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น ทั้งเรื่องวิธีการคิดคำนวนราคา 3G โดยเฉพาะเรื่องซิมดับ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลข่าวสารได้ครบถ้วน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION