กอ.นตผ.ร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยกองพัฒนายาและสมุนไพร ปั้น 50 สุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP

จันทร์ ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๑๓:๐๖
เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซ่า ดร.นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการเปิดงานสัมมนาเปิดโครงการยกระดับคุณภาพและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทสมุนไพร เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการยกระดับคุณภาพและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อตอบโจทย์ความสุข ความสมดุลย์และยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทาน ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ นำพาสมุนไพรและภูมิปัญญาไทยสู่สากล โดยมีเภสัชกรสมนึก สุชัยธนาวนิช-ผู้อำนวยการกองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ผู้ดูแลโครงการให้การต้อนรับ

ดร.นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “ตามนโยบายของคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) สำนักนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ส่งเสริมการพึ่งตนเองและ การคิดอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้ง การสร้างทรัพยากร มุนษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยกองพัฒนายาไทยและสมุนไพร รับมอบนโยบายในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีภูมิปัญญาดั้งเดิมอยู่มากมาย แต่ขาดความรู้ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาพัฒนาให้เป็นคุณภาพมาตรฐาน

คาดว่าโครงการยกระดับคุณภาพและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทสมุนไพร จะสามารถสร้างประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างสมดุลย์ อาทิ ผู้บริโภคได้รับสุขภาพที่ดีจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสรรพคุณและมาจากสูตรตำรับที่เป็นที่ยอมรับกว่า ใช้สืบกันต่อกันมาร่วม 100 ปี อีกทั้งผู้ผลิต 50 แบรนด์จะได้รับการบ่มเพาะความรู้ ประยุกต์องค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การพัฒนา กระบวน การผลิตอย่างมีคุณภาพ มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งยังจะช่วยต่อยอดให้แก่เกษตรกรกว่า 1,000 ครัวเรือน เรียนรู้และสามารถปลูกสมุนไพรตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ G.I ได้ถูกสายพันธ์และถูกวิธี ได้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมผู้ผลิต 10 แบรนด์ ให้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ไทยสู่ความร่วมสมัย เชื่อมโยงการตลาดไปต่างประเทศได้อย่างมีมาตรฐานอีกด้วย”

โครงการนี้มีกลยุทธ์หรือแนวทางการดำเนินงานแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ H.A.P.P.Y ซึ่งหมายถึง

H. High Standard “การพัฒนามาตรฐานของกลุ่มสมุนไพรต้นน้ำ” โดยการอนุรักษณ์พันธุ์พืชสมุนไพรหายาก และส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรให้มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการตลาด

A. A Wisdom Story “ห้าสิบเรื่องเล่าภูมิปัญญาไทย” โดยการดึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทยด้านสมุนไพรให้กลับมาเป็นที่รู้จัก เช่น บางแห่งมีภูมิปัญญาที่เก่าแก่ กว่า 100 ปี ซึ่งทางโครงการฯจัดรวบรวม คัดสรร ภูมิปัญญาเด่นๆจากทั่วประเทศ เพื่อนำมาอนุรักษ์ พัฒนาต่อยอด ให้ชุมชนสามารถดำรงรักษา เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหน

P. Proper Innovation “ห้าสิบเรื่องเล่าของนวัตกรรมใหม่” โดยการประยุกต์งานวิจัยเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ จะมีการนำผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาช่วยพัฒนา นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมแก่ประเภทของสมุนไพรนั้นๆ เช่น เทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชั่น เทคโนโลยีสกัดสารสำคัญ Active Ingredient ที่ออกฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพ โดยนำมาประยุกต์ และพัฒนาต่อยอด ให้เป็นสินค้าใหม่ ที่เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าของภูมิปัญญาที่สูงขึ้น

P. Promotion “ส่งเสริมการตลาดและเชื่อมโยงสู่ตลาดต่างประเทศ” โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การปรับโฉมด้วยบรรจุภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัย สะดวก สวยงามเพื่อยกระดับ ภาพลักษณ์ ตราสินค้า หรือแบรนด์ OTOP ที่มีมาตรฐานและคุณค่าดีขึ้น รวมไปถึงการจัดเวทีเปิดตัว ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาทั้ง 50 แบรนด์ และเป็นเวทีพบปะกับคู่ค้าทางธุรกิจต่างๆ เข้าสู่ตลาดทั้งภายใน และต่างประเทศ พร้อมเปิดตัวในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 11 นี้

Y. Yes… “คืนสุขภาพดีแก่สังคมไทย…สร้างงาน กระจายรายได้ สังคมยั่งยืน” ผลลัพธ์โครงการฯจะช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นผลิตภัณ์สมุนไพรไทยและมีสุขภาพที่ดีจากอันมาจากผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพจากผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการฯมีวัตถุดิบสมุนไพรที่ดีมีสารสำคัญสูงดำเนินโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและควบคุม กระบวน การผลิตให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และ ส่งเสริมภาคเกษตรกรกลุ่มต้นน้ำกว่า 1,000 ครัวเรือน ส่งผลให้มีรายได้จากการเพาะปลูก สมุนไพร ตลอดจน เกิดการเสาะแสวงหาภูมิปัญญา เผยแพร่วิธีการใช้สมุนไพรไทยดูแลสุขภาพตามวิถีไทยให้ สามารถคงคู่กับสังคมได้ต่อไป

งานสัมมนาในครั้งนี้ผู้ประกอบการที่มาร่วมงานต่างได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ โดยอัดแน่นด้วยความรู้ด้านต่างๆ ที่กองยาแผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ได้เตรียมความพร้อมในการยกระดับคุณภาพและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ในงานสัมมนาครั้งนี้ อาทิ แนวทางการคัดสรรสินค้า OTOP สู่สากลและการประชาสัมพันธ์และการตลาด การพัฒนาและเลือกสารสกัดให้ตรงใจผู้บริโภค โดย ภญ.ดร.ประคองศิริ บุญคง-ที่ปรึกษากองยาแผนไทยและสมุนไพร การเตรียมพร้อมเพื่อการจดแจ้งด้าน อย. โดย ภญ.ดร. สุมาลี พรกิจประสาน -ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย การบรรยายเรื่องแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทสมุนไพร ทั้ง 50 ผลิตภัณฑ์ โดย อาจารย์นลินี ทองแท้-นักออกแบบอิสระ

โครงการยกระดับคุณภาพและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP นี้ จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์สุดยอด 50 ผลิตภัณฑ์ OTOP สมุนไพรและ 10 แบรนด์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยสู่ความร่วมสมัย ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติคครั้งที่ 11 ในวันที่ 3-7 กันยายน 2557 ณ อิมแพค เมืองทองธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ