1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 15,665.57 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,011.89 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 547.61 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1,464.28 ล้านบาท
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 13,653.68 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 31,543.72 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 30,534 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 1,009.72 ล้านบาท
- การลดลงของตั๋วเงินคลังสุทธิ 21,843 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 750 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 390 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 3,167.20 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 1,274.87 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 1,172.87 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 719.46 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 154.27 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง
- การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 333.51 ล้านบาท
- การชำระหนี้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 175 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 7,202.03 ล้านบาท
เกิดจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 58,000 ล้านบาท เนื่องจากหนี้เงินกู้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กู้ล่วงหน้ามาเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 วงเงินรวม 121,035 ล้านบาท ดังนั้น จึงได้มีการนำเงินกู้ล่วงหน้าเพื่อ การปรับโครงสร้างหนี้ 58,000 ล้านบาท และเงินกู้อีกจำนวน 63,035 ล้านบาท ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ภายใต้ พ.ร.บ. ข้างต้นที่ครบกำหนดในวันดังกล่าว
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,258.35 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1,250 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 8.35 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 1,477.72 ล้านบาท เนื่องจาก
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 1,300 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 1,012.28 ล้านบาท
- การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 1,190 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 696.42 ล้านบาท การลดลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 1,368.53 ล้านบาท เนื่องจาก
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 33.92 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 8.57 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 42.49 ล้านบาท
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 90 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,278.53 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 425.85 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,704.38 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 217.40ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ