กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านบ้านนาเยียอุบลฯชวนเครือข่ายลงแขกดำนา

ศุกร์ ๑๘ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๒๖
เมื่อเร็ว ๆ นี้กลุ่มอนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นบ้าน บ้านนาเยีย ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี จัดงาน “ตุ้มโฮมพี่น้อง ดำนานำกัน ฮักแพงแบ่งปัน พันธ์ข้าวพื้นบ้าน” ขึ้น ณ แปลงอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านบ้านนาเยีย โดยเชิญเครือข่ายชาวบ้านที่ทำนาด้วยข้าวพันธุ์พื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วมกว่า 10 หมู่บ้าน จำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน

การจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำนาอินทรีย์ และการอนุรักษ์พันธ์ข้าวพื้นบ้าน เทคนิคการทำนา การสร้างแรงจูงใจให้ชาวนากลุ่มอื่นเปลี่ยนวิธีการทำนาโดยหันมาทำนาด้วยข้าวพันธ์พื้นบ้าน ลดสารเคมีทางการเกษตรมากขึ้น รวมทั้งเป็นการสื่อสารต่อผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานีให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของข้าวพันธุ์พื้นบ้านมากขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงทางอาหารเพื่อสังคม มูลนิธิชีววิถี และโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืนจังหวัดอุบลราชธานี

นายนิยม เจริญ ผู้ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน บ้านนาเยีย กล่าวว่า กิจกรรมมีการลงแขกดำนา ในแปลงรวมจำนวน 10 ไร่ ซึ่งทางกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านฯ ได้ขอเช่าที่นากับชาวบ้านในหมู่บ้านนาเยีย เพื่อใช้เป็นแปลงสาธิตการทำนาด้วยข้าวพันธุ์พื้นบ้านจำนวน 2 สายพันธุ์ได้แก่ ข้าวหอมสามกอ ซึ่งเป็นข้าวที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมทั้งข้าวพันธุ์โสมมาลี ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านดั้งเดิม

นอกจากกิจกรรมดำนารวมยังมีเวทีเสวนา “เว้านัวหัวม่วน เป็นหยังจั่งเฮ็ดข้าวพื้นบ้าน” โดยตัวแทนเกษตรกรในเครือข่ายจากหลายหมู่บ้าน เช่น พ่อคำพวง ทัดเทียม เกษตรกรอินทรีย์ และปราชญ์ชาวบ้านจากอำเภอสำโรง พ่อแดง หาทวี เกษตรกรตัวอย่างเจ้าของรางวัลระพีวิจัย อำเภอสว่างวีระวงศ์ พ่อหำ วีระพล โพธิ์พา นักอนุรักษ์ปรับปรุงพันธ์ข้าวพื้นบ้านจากอำเภอตระการพืชผล แม่สั้น ทองมวย มีสง่า ผู้หันมาทำนาอินทรีย์และข้าวพันธ์พื้นบ้านจากการได้รับผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศรัตรูพืช อำเภอสำโรง มาให้ข้อมูลว่าทำไมต้องทำนาด้วยข้าวพันธุ์พื้นบ้าน โดยมีนายพนา ใจตรง เครือข่ายข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืนเป็นผู้ชวนคุย ผู้ร่วมเสวนาต่างสะท้อนข้อมูลว่า ข้าวพันธุ์พื้นบ้านเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ใช้ดำนา ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะกับสภาพดินในภาคอีสาน เพราะมีทั้งนาดอน นาลุ่ม นากลาง ทำให้ได้ผลผลิตที่ดี รวมทั้งมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย บางสายพันธุ์รักษาหรือต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งปัจจุบันพบว่าข้าวพันธุ์พื้นบ้านเลือนหายไปจากท้องนาเนื่องจากการสนับสนุนข้าวสายพันธ์กระแสหลักจากภาครัฐไม่กี่สายพันธ์ หากชาวบ้านไม่รวมตัวกันอนุรักษ์ไว้จะต้องสูญหายไปแน่นอน

นอกจากการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ทางเครือข่ายฯยังมีการส่งเสริมเชิงธุรกิจโดยแปรรูปข้าวพันธุ์พื้นบ้านเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคคนเมืองทั้งในระดับชุมชนและจังหวัด สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำนาด้วยข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ติดต่อ นายนิยมเจริญ ผู้ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน บ้านนาเยีย โทรศัพท์ 084-9585785

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ