โพสโค อีแอนด์ซี วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ “น้ำลิก 1” ในประเทศลาว

จันทร์ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๒๔
- โครงการแรกที่บริษัทเป็นทั้งผู้ลงทุนและผู้รับเหมาก่อสร้างครบวงจร ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- คาดว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมหาศาลเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศลาว

โพสโค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ โพสโค อีแอนด์ซี (POSCO E&C) (ซีอีโอ: ฮวัง แท-ฮยอน) ประกาศเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมว่า บริษัทได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เมืองโพนโฮง ซึ่งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ไปทางเหนือราว 90 กิโลเมตร

รูปภาพ: http://photos.prnasia.com/prnvar/20140718/8521404099

โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมลงทุนระหว่างธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และบริษัท น้ำลิก 1 พาวเวอร์ จำกัด (NL1PC) โดยจะดำเนินงานในรูปแบบโครงการ BOT (build, operate, transfer) เป็นเวลา 30 ปี โรงไฟฟ้าขนาด 65 เมกะวัตต์แห่งนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาว

NL1PC เป็นบริษัทร่วมทุนซึ่งจัดตั้งโดยบริษัทปตท. ของไทย, บริษัท ไฮโดร เอ็นจิเนียริ่ง คอมพานี (HEC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ, บริษัท อิเล็กทริไซต์ เดอ ลาวส์ (EDL) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของลาว และบริษัท โพสโค อีแอนด์ซี ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและถือครองหุ้น 10% ใน NL1PC โดยจะทำหน้าที่เป็นผู้รับเหมาหลักในการก่อสร้างในอีก 39 เดือนข้างหน้า

พิธีวางศิลาฤกษ์ได้รับเกียรติจากผู้ร่วมงานกว่า 170 ท่าน ซึ่งรวมถึงนายสินนาวา สุพานุวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ของลาว, นายคำเมิง พงทะดี เจ้าแขวงเวียงจันทน์, เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง, ผู้แทนจากสถานทูตเกาหลีประจำประเทศลาว, นายโกวิท จึงเสถียรทรัพย์ ซีอีโอบริษัท น้ำลิก 1 พาวเวอร์, จินดา หงษ์ขจร ซีอีโอบริษัท ไฮโดร เอ็นจิเนียริ่ง และนายพัค ซี-ซอง ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของโพสโค อีแอนด์ซี

โครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกที่โพสโค อีแอนด์ซี รับบทเป็นทั้งผู้ลงทุนและผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมีหน้าที่ดูแลการออกแบบ การจัดซื้อ และการก่อสร้างแบบครบวงจร โพสโค อีแอนด์ซี ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลลาวรวมถึงบรรดาลูกค้าและหุ้นส่วนในเรื่องแนวทางการดำเนินงานที่โปร่งใส บนพื้นฐานของคุณภาพอันโดดเด่นและการบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรมทั้งในเกาหลีใต้และตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอันคึกคัก โพสโค อีแอนด์ซี จะใช้โครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้บริษัทชนะการประมูลสัญญาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำโครงการอื่นๆในพม่า กัมพูชา เวียดนาม และประเทศไทย

“เรามีความยินดีที่ได้ร่วมงานในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญของรัฐบาลลาวในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้าง” นายพัค ซี-ซอง ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของโพสโค อีแอนด์ซี กล่าว “เราคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำลิก 1 จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาว”

นับตั้งแต่ได้ก่อตั้งบริษัทและสำนักงานหลักในเวียดนามเมื่อปี 2538 โพสโค อีแอนด์ซี ก็ได้สยายปีกธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และประเทศไทย ปัจจุบันบริษัทได้รับการยอมรับในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียงในอินโดจีน เมื่อพิจารณาจากศักยภาพในการแข่งขันด้านต้นทุนและคุณภาพอันเป็นเลิศ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานานหลายปี

รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20140718/8521404099

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ