คำตัดสินนี้มีผลในทำนองเดียวกับคำตัดสินของ Opposition Division ของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO) ในเมืองมิวนิคที่มีต่อสิทธิบัตรฉบับเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2556 โดย EPO ได้ตัดสินให้มีการเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว เนื่องจากมีการนำสิทธิบัตรไปใช้ในขอบเขตที่นอกเหนือไปจากที่ได้มีการยื่นจดทะเบียน และนำไปใช้ในรัฐปกครองของสหราชอาณาจักรที่สิทธิบัตรถือเป็นโมฆะ ด้วยเหตุที่มีการใช้เครื่องมือของผู้ประดิษฐ์หลายรายโดยทั่วไปอยู่แล้วก่อนวันยื่นขอสิทธิบัตร ทั้งนี้ เอจีเอ/เซนต์จูดมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของทั้งสองหน่วยงาน
เอจีเอ/เซนต์จูดได้เริ่มดำเนินการฟ้องร้องอ็อคคลูเทคในคดีละเมิดสิทธิบัตรเลขที่ 0957773 ในสหราชอาณาจักรและในเยอรมนีในปี 2554 ทั้งนี้ ศาลของสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีคำตัดสินดังกล่าวออกมา ในขณะที่ศาลชั้นตนในดุสเซลดอร์ฟของเยอรมนีเลือกที่จะพักการพิจารณาคดีไปจนกว่า EPO จะมีคำตัดสินในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับความถูกต้อง/ความไม่ถูกต้องตามกฎหมายของสิทธิบัตร
ทอร์ ปีเตอร์ส ซีอีโอของอ็อคคลูเทค กล่าวว่า “แน่นอน เรารู้สึกดีใจมากที่ได้รับการยืนยันอีกครั้งว่าเราไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรที่คือครองโดยคู่แข่งของเรา จุดประสงค์ของเราคือการพัฒนาอวัยวะเทียมที่ดีกว่าและได้รับการจดสิทธิบัตร เพื่อช่วยรักษาชีวิตและสร้างความแตกต่างให้กับแพทย์และผู้ป่วย และเราตั้งใจที่จะขับเคลื่อนกระบวนการนี้ให้เดินหน้าต่อไป”
อ็อคคลูเทคมีโรงงานผลิตในเยอรมนี รวมทั้งมีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ในสวีเดนและตุรกี โดยอวัยวะเทียม เช่น กลอุปกรณ์ขากรรไกรจำลอง ASD, PFO และ PDA ตลอดจนอุปกรณ์เสริมอื่นๆ จากอ็อคคลูเทคนั้นมีจำหน่ายในกว่า 80 ประเทศ
แหล่งข่าว: อ็อคคลูเทค