กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย

ศุกร์ ๐๑ เมษายน ๒๐๐๕ ๑๔:๐๑
กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--กรมวิชาการเกษตร
กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งตลาดกลางยางพาราแห่งใหม่ที่ จ.หนองคาย เปิดทางเลือกให้ชาวสวนยางภาคอิสาน หวังให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขาย ไม่ถูกกดราคา ผู้ซื้อได้ยางคุณภาพดี เผย 3 ตลาดกลางในภาคใต้เวิร์ค
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2548 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมแผนขยายการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานตลาดกลางจะตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อเป็นตลาดรองรับให้บริการซื้อขายผลผลิตยางในพื้นที่ภาคอิสานซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 6 แสนไร่ ได้ผลผลิตยางแผ่นดิบปีละกว่า 70,000 ตัน คาดว่า การขยายตลาดกลางยางพาราดังกล่าว จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งจะได้รับความเป็นธรรมจากการขายยาง ไม่ต้องถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ทำให้มีรายได้จากการขายยางเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1-2 บาท และผู้ซื้อยางสามารถที่จะคัดเลือกเกรดยางและได้ยางแผ่นดิบที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานและปริมาณมากด้วย
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมีตลาดกลางยางพารา 3 แห่ง กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ จ.สงขลา ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี และตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ซึ่งให้บริการซื้อขายยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อน ยางแผ่นผึ่งแห้ง น้ำยางสด และยางก้อนถ้วย โดยทุกวันจะมีการซื้อขายแบบแข่งขันประมูลราคา ไม่มีการผูกขาดพ่อค้ารายหนึ่งรายใด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ซึ่งดีกว่าการจำหน่ายให้กับพ่อค้าท้องถิ่นทั่วไป
ขณะนี้มีเกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งสหกรณ์ผู้ปลูกยางพารา เข้ามาใช้บริการตลาดกลางทั้ง 3 แห่ง ปีละกว่า 95,000 ราย โดยปกติมียางเข้าสู่ตลาดวันละประมาณ 800 ตัน มูลค่าการซื้อขายของแต่ละตลาดอยู่ที่ 10-20 ล้านบาท/วัน ยกเว้นช่วงที่ยางผลัดใบ เกษตรกรจะกรีดยางได้น้อย ผลผลิตยางจะเข้าสู่ตลาดลดลง 50 % ซึ่งตลาดกลางน้ำยางสดที่อ.หาดใหญ่ เป็นตลาดใหม่ที่น่าจับตา เพราะเกษตรกรนิยมจำหน่ายน้ำยางสดมากขึ้น มีน้ำยางสดเข้าตลาดวันละ 60-100 ตัน ปริมาณการซื้อขายประมาณ 30,000 ตัน/ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาท
“จากผลการสำรวจเกษตรกรกว่า 90 % มีความพึงพอใจในระบบการซื้อขายของตลาดกลางยางพารา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขยายตลาดกลางเพิ่มขึ้นในแหล่งปลูกยางหนาแน่น เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกและไม่ถูกเอาเปรียบ ทั้งนี้ การเปิดตลาดกลางยางพาราใหม่ ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร จำนวนพื้นที่ปลูกและปริมาณผลผลิตยางที่จะป้อนเข้าตลาดในแต่ละวันต้องมีไม่น้อยกว่า 100-200 ตัน ซึ่งภาคอิสานตอนบนและภาคตะวันออกสามารถจัดตั้งตลาดกลางได้ เพราะมีปริมาณผลผลิตน้ำยางเพียงพอ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ