การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมด้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยและอาเซียน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 ท่าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคณาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารงานการศึกษา และได้รับเกียรติจากมิสเตอร์คริส กิ๊บสัน ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกุล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ มิสเตอร์แอนดริว โยว ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียน ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาปและวิทยาศาสตร์ ทอมสัน รอยเตอร์ กล่าวเปิดงานต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม
มิสเตอร์กิ๊บสัน ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทยกล่าวว่า บริติช เคานซิลมีความยินดีที่ได้จัดงานสัมมนาที่จะวางรากฐานให้การศึกษาไทย งานสัมมนาในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Connect ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนักการศึกษาและภาคเอกชนทั่วโลก รศ.ดร.พินิติได้กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้สร้างโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลคุณภาพในด้านปัจจัยที่ทำให้มหาวิทยาลัยชั้นนำประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยไทยให้พัฒนาผลงานการวิจัยและการสอนเพื่อให้ได้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าในเอเชียและระดับโลก มิสเตอร์โยวกล่าวเสริมว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการสร้างบุคคลาการที่มีความสามารถและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งเศรษฐกิจวิทยาการ
วิทยากรกิติมศักด์ที่ให้เกียรติมาร่วมงานประชุมคือตัวแทนของผู้มีบทบาทสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมและธุรกิจเอกชน พวกเขาได้แบ่งปันประสบการณ์และนำตัวอย่างของความสำเร็จต่างๆ ในการสร้างมาตรฐานการประเมินมหาวิทยาลัย รวมทั้งความสำคัญของการสร้างบุคคลากรคุณภาพให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีให้เหมาะสมกับการทำงานภาคธุรกิจ ในระหว่างการสนทนากลุ่มวิทยากรได้พูดคุยกันถึงเรื่องโอกาส ความท้าทายและผลกระทบจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในอาเซียนที่จะมีต่อการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 การสนทนากลุ่มนี้ดำเนินรายการโดยคุณพัชรี รักษาวงศ์ ผู้ประกาศข่าวต่างประเทศที่มีประสบการณ์สูง
การสัมมนานี้ยังเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากมิสเตอร์ฟิล เบที บรรณาธิการของ Times Higher Education (THE) องค์กรชั้นนำที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร เขาได้นำเสนอบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก และแนวโน้มของมหาวิทยาลัยไทยและเอเชีย และการเติบโตของมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับใน 100 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ THE นั้นจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยของโลกโดยมีเกณฑ์การประเมิน 4 ด้านคือการสอน การถ่ายโอนความรู้ วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยต่อประชาคมโลกและงานวิจัย จากข้อมูลของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ THE มหาวิทยาลัยในอาเซียนที่อยู่ในระดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก มหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดล; มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ได้แก่ National University of Singapore และ Nanyang Technological University
วิทยากรท่านต่อมาที่ให้เกียรติมาบรรยายในการประชุมคือ ศาสตราจารย์ ดร.มรว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยมหิดลและหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ดร.ชิษณุสรรได้นำเสนอการเปรียบเทียบทั้งความแตกต่างและความคล้ายคลึงของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยหลายระดับ และความสำคัญของการเข้าใจในระเบียบวิจัยเพื่อให้สามารถระบุและเปรียบเทียบจุดแข็งและจุดอ่อนของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเทียบกับมหาวิทยาลัยข้างเคียงเพื่อให้กำหนดกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาได้อย่างถูกต้อง อาจารย์ได้กล่าวว่าเราควรจะตระหนักดีว่าแต่ละระบบของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยใช้พารามิเตอร์ที่มีผลต่ออันดับต่างกัน ซึ่งรวมถึงชื่อเสียงทางวิชาการของมหาวิทยาลับ การศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัยที่ดีช่วยส่งเสริมงานวิจัยอันเป็นเลิศและการสร้างวิสัยทัศน์ต่อประชาคมโลกเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยเนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความร่วมมือทางด้านงานวิจัยระดับสากลและสัดส่วนของนักเรียนและคณาจารย์นานาชาติมากยิ่งขึ้น
ดร.วอง เว่ย ฟู ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาและวิทยาศาสตร์ ทอมสัน รอยเตอร์ ได้นำเสนอเรื่องการวิเคราะห์ดรรชนีการอ้างอิงและดัชนีวรรณกรรมว่าสามารถทำไปใช้เป็นมาตรฐานประเมินสมรรถนะงานวิจัยของประเทศที่อยู่ในขอบเขตงานวิจัยในอาเซียนเช่นประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้อย่างไร? มหาวิทยาลัยต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นที่นวัตกรรมและแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ที่พวกเขาประสบในด้านการบริหารทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและการบริหารขนาดของระบบงานให้ดียิ่งขึ้น การนำเสนอของ ดร.วอง ได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการวิเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยในอาเซียนสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินที่ดีในการกำหนดแนวทางเพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับสากลได้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งที่งานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งสามารถทำได้โดยมุ่งเน้นที่จุดแข็งของงานวิจัยและความร่วมมือทางการวิจัยกับมหาวิทยาลัยอื่นและภาคเอกชน ลักษณะของงานวิจัยในปัจจุบันประกอบไปด้วยหลายด้านซึ่งช่วยในการสร้างโอกาสและการสร้างความร่วมมือ ทอมสัน รอยเตอร์คือพันธมิตรทางข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนงานของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Times Higher Education
สำหรับวิทยากรที่มาเป็นตัวแทนของภาคธุรกิจคือ คุณนาฎฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ประเทศไทยและอินโดจีน บริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย คุณนาฎฤดีได้นำเสนอกรณีศึกษาของโครงการ Unilever Future Leadership Programme ในประเทศไทยและความท้าทายของการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งงานที่จะทำให้บริษัทมั่นใจว่าได้บุคคลากรที่มีคุณภาพตรงสายงานเพื่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เธอได้กล่าวว่าถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้วางแผนเลือกบุคคลากรจากสถาบันใดโดยเฉพาะแต่เธอก็สังเกตได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ที่ได้รับเลือกเข้าโครงการนี้จบการศึกษาจากสหราชอาณาจักร
เกี่ยวกับบริติช เคานซิล ประเทศไทย
บริติช เคานซิลคือองค์กรเราเป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งมีพันธกิจ คือ การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆผ่านงานด้านศึกษาและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม จัดตั้งโดย Royal Charter ในฐานะเป็นองค์กรอิสระ เราทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรและสถานฑูตสหราชอาณาจักในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
บริติช เคานซิลมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างชื่อเสียงของสหราชอาณาจักรในฐานะเป็นพันธมิตรสำคัญ พันธกิจนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 80 ปีที่แล้วและยังเป็นพันธกิจหลักของเราของบริติช เคานซิลซึ่งมีกว่า 200 สำนักงานทั่วโลก องค์กรของเราตั้งขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ภาษาและวิถีชีวิตของแต่ละชาติสามารถแบ่งปันเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือที่ดีต่อกันได้ บริติช เคานซิลได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศไทยและสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี พศ. 2481 และมีสำนักงานอิสระเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2495 ติดตามข่าวสารของเราได้ที่ http:///www.britishcouncil.or.th
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา โดยมีพันธกิจในการกำหนดนโยบายและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแผนการศึกษาแห่งชาติ รวมถึงการกำกับดูและประเมินผลการบริหารงานอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานสากล คณะกรรมการอุดมศึกษาปัจจุบันประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก 151 สถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.inter.mua.go.th
เกี่ยวกับทอมสัน รอยเตอร์
ทอมสัน รอยเตอร์คือผู้ให้บริการด้านข้อมูลอัจฉริยะชั้นนำของโลกสำหรับธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ โดยผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเข้ากับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารระดับสูงในวงการการไฟแนนซ์และการบริหารความเสี่ยง กฎหมาย ภาษีและการบัญชี ทรัพย์สินทางปัญญา และทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงตลาดสื่อ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรข่าวที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดของโลก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thomsonreuters.com