เคมีนาโน เทคนิครักษามะเร็งด้วยการให้ยาผ่านเส้นเลือดฝอย

ศุกร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๑๙
การพบมะเร็งในร่างกายมนุษย์มากกว่า 100 ชนิด แต่ละชนิดมีการดำเนินของโรคแตกต่างกัน เช่น มะเร็งปอด , มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

การรักษามะเร็งแต่ละชนิด มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็น ระยะของโรค สภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้ป่วย ฯลฯ ในทางการแพทย์มีการวิจัย ค้นคว้า วิธีการรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อที่จะเอาชนะโรคร้ายนี้ให้ได้ ล่าสุด โรงพยาบาลฟูด้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติกวางโจว ประเทศจีน ได้คิดค้นวิธีการรักษามะเร็งแนวใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเคมีนาโน เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย

รศ. ดร. เผียว เซี่ยงเฮ่า ผู้อำนวยการแผนกงานฉายรังสีโรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติฟู่ต้ากว่างโจว ให้ข้อมูลว่า 80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายเกือบทุกชนิดไม่เหมาะที่จะรักษาด้วยวิธีการ ผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดมากขึ้นและอาจอันตรายถึง แก่ชีวิตได้ หรือแม้แต่การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือที่เรียกสั้นๆว่า คีโม ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย แต่บางครั้งก็อาจจะทำให้ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยถูกทำลายไปด้วย อีกทั้งปริมาณยาที่เข้าสู่เนื้องอกจากการทำคีโมนั้นน้อยมากจนไม่สามารถที่จะ เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้ ในทางกลับกัน สัดส่วนของปริมาณยาที่ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของร่ายกายที่มีมาก ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา และสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้ ก็คือ ยาที่ใช้ในการทำคีโมไม่มีผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (Cancer Stem Cell, CSC) จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาต่ำ

“โดย ทั่วไป ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแรกและผู้ป่วยระยะกลางส่วนหนึ่งสามารถรับการรักษาด้วย วิธีการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสี แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางอีกส่วนหนึ่งและผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มักเกิดปัญหาภาวะของโรคไม่เหมาะที่จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและการทำคีโม การฉายรังสีที่ไม่ได้ผล และการเกิดซ้ำของเนื้องอก” ผอ.แผนกงานฉายรังสี รพ.ฟูด้า บอกพร้อมกับอธิบายถึงการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยีใหม่ว่า การ รักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโน (Nanochemotherapy) หรือการรักษาโรคมะเร็งโดยให้ยาผ่านทางเส้นเลือดฝอย (Cancer Microvascular Intervention, CMI) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้าย ด้วยการให้เม็ดยาขนาดเล็กผ่านสายยางเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งภายในเนื้องอก โดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่พบว่ามีผลข้างเคียงน้อย สามารถยืดอายุผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้ายได้โดยไม่ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

การรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนจะใช้การส่องกล้องและให้เม็ดยาขนาดเล็กซึ่ง มีขนาดเพียง 1 ใน 80 ของเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือ 1,000 นาโนเมตร (1/1,000,000 มิลลิเมตร) ผ่านสายยางส่งไปยังเส้นเลือดฝอยภายในเนื้องอก ทำให้ผู้ป่วยมีบาดแผลเพียงเล็กน้อยจากการรักษา” รศ.ดร.เผียว เซี่ยงเฮ่า บอก

รศ.ดร.เผียว เซี่ยงเฮ่า ยังอธิบายรายละเอียดถึงวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโน ด้วยว่า เนื่องจากผนังหลอดเลือดฝอยภายในเนื้องอกมีช่องว่างขนาดเล็กอยู่ เม็ดยาขนาดเล็กจึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ภายในองค์ประกอบเซลล์มะเร็งได้ ทำให้ยาในเซลล์มะเร็งมีความเข้มข้นสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังพบว่า วิธีการรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนยังสามารถลดจำนวนเส้นเลือดฝอยภายในเนื้อ งอกได้ ส่งผลให้สามารถจำกัดการลุกลามและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยระยะ สุดท้ายได้

“โดย ปกติแล้วหลอดเลือดฝอยในเซลล์ปกตจะไม่มีช่องว่าง เม็ดยาขนาดเล็กที่ใช้ในการรักษาจึงไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ จึงไม่ต้องกังวลว่า การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เซลล์ปกติถูกทำลายได้ นอกจากนี้ สัดส่วนปริมาณยาที่กระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายก็มีน้อยมาก จึงแทบจะไม่เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีนี้” รศ.ดร.เผียว บอกพร้อมกับย้ำว่า ประสิทธิภาพในการรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนเห็นผลได้รวดเร็วโดยผ่านการ ส่องกล้อง เมื่อทำการรักษา เราสามารถดูได้เลยว่าสีที่ฉีดเข้าไปที่หลอดเลือดฝอยในเนื้องอกจะจางหายไป เนื้องอกจะอ่อนตัวและมีขนาดเล็กลง เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ ยังพบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้จะไม่ทำให้ความอยากอาหารของผู้ป่วยลดลงและไม่ทำให้ผู้ ป่วยผมร่วง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา 3-4 ชั่วโมง โดยไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถเข้ารับการรักษาซ้ำอีกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ปกติ

ผอ.แผนก งานฉายรังสี รพ.ฟูด้า บอกในตอนท้ายว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่เคยรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดทั่วไปแต่ไม่ได้ผล เมื่อมารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนแล้ว พบ ว่า 2 ใน 3 มีอาการทุเลาลง แตสำหรับ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เคยรับการรักษาด้วยการฉายรังสี เมื่อมารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนแล้วอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากการรักษาด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนจะต้องอาศัยการให้เม็ดยาขนาดเล็ก ผ่านเข้าทางหลอดเลือดฝอย แต่การฉายรังสีก่อนหน้านี้ทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มหลังด้วยเทคโนโลยีเคมีนาโนต่ำลง

สำหรับ ผู้ที่สนใจการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคโนโลยีแนวใหม่นี้ ระหว่างวันที่ 7-10 ส.ค.นี้ ศ.นพ.มู่ เฟิง รองผอ.รพ.รักษาโรคมะเร็งฟูด้า จะเดินทางมาให้คำปรึกษาในประเทศไทยผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานตัวแทน ประเทศไทย 081-580-3998,092-006-2043หรือที่อีเมลล์[email protected] และWebsite/เว็บไซต์: Http://www.fudacancerthailand.com หรือ Http://www.fudahospital.com

ติดต่อ:

หมวดข่าว: สุขภาพ

คำค้น:

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ