ทุ่ม 8.3 ล้าน ดันภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยก่อนสูญหาย

พุธ ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๔๑
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทุ่มงบ 8.3 ล้าน ส่งนักศึกษาแพทย์แผนไทยลงพื้นที่ถอดความรู้จากหมอพื้นบ้าน หวังต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เตรียมพัฒนาเป็นตำราเรียนและบรรจุเป็นหลักสูตรการสอนในวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยก่อนสูญหาย ตั้งเป้ารวบรวมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านให้ได้ 1,500 คนภายในปี57 นี้

ดร.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวภายหลังร่วมการแถลงข่าว “ความร่วมมือในการรวบรวมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านระหว่างกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกับเครือข่ายสถาบันผลิตกำลังคนด้านการพัฒนาการแพทย์แผนไทย” ในการประชุมวิชาการเครือข่ายสถาบันการผลิตกำลังคนด้านการแพทย์แผนไทยครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นที่วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ว่า ความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้านในปัจจุบันนอกจากตำราที่สั่งสมแล้วยังได้จากหมอพื้นบ้านที่สืบทอดกันมากว่า 1,000 ปี จากฐานข้อมูลทะเบียนกลางของสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยพบว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีหมอพื้นบ้านที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 54,718 คนในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับการรับรองตามระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พ.ศ.2555และพ.ศ.2556 ว่าเป็นหมอพื้นบ้านที่อยู่ในระบบและให้ความช่วยเหลือชุมชนเพียง 1,600 คน และได้รับการรับรองให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเพียง 165 คนเท่านั้น

หมอพื้นบ้านทั่วประเทศเป็นทั้งหมอของประชาชนและยังมีบทบาทเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในชุมชนและเป็นเสมือนองค์ความรู้หรือตำราในบุคคล (เพราะหมอพื้นบ้านมีความรู้และประสบการณ์การรักษาแต่ไม่ได้บันทึกเป็นตำรา)ที่สำคัญท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หากความรู้จากหมอพื้นบ้านไม่มีการสืบสาน ไม่มีการบันทึกและขาดการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของตำรา อาจทำให้ความรู้เหล่านี้สูญหายไปได้

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงได้มีการจัดทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและเครือข่ายในพื้นที่ในการฟื้นฟูและส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้านโดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจำนวน 8.3 ล้านบาท เป็นกองทุนให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้เก็บรวบรวมข้อมูลและถอดความรู้ด้านการแพทย์จากหมอพื้นบ้าน เพื่อการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้ไว้เป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญาของกรมพัฒนาการแพทย์แพทย์ไทยตาม พ.ร.บ.แพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 โดยมีแนวคิดหลัก 3 ประการคือ 1.ความเข้าใจลักษณะธรรมชาติของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน 2.กระบวนการทำงาน หัวใจของกระบวนการ คือ การจัดการความรู้ การรับรองสิทธิ และการเรียนรู้การสืบทอด 3.การส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ต้องชัดเจน ระดับชุมชนในสถานบริการสุขภาพ

ดร.นพ.ธวัชชัย กล่าวต่ออีกว่า การรวบรวมภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อให้ทันเวลากับอายุที่สูงขึ้นของหมอพื้นบ้าน และความครอบคลุมกับจำนวนหมอพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกภูมิภาค เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากหมอพื้นบ้าน มาทำการจัดระบบและการบันทึกความรู้ในระบบสารสนเทศ ที่สามารถเป็นหลักฐานในการคุ้มครองภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและสุขภาพของคนไทย นอกจากจะเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษและยกระดับหมอพื้นบ้านให้เป็นอาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทยแล้ว ยังเตรียมต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้นำมาพัฒนาเป็นตำราเรียนและบรรจุไว้ในหลักสูตรการสอนสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยต่อไปด้วย โดยเป้าหมายการทำงานในปีนี้คือการรวบรวมภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านให้ได้ 1,500 คน จากนักศึกษาแพทย์แผนไทยและสถาบันผู้ผลิตแพทย์แผนไทย จำนวน 27 สถาบัน โดยภาพรวมการทำงานร่วมกันแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คือการรวบรวมองค์ความรู้เชิงปริมาณ ส่วนระยะที่ 2 จะเป็นการวิจัยเชิงลึกต่อยอดจากระยะที่ 1

การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพ คำที่มักใช้เรียกสำหรับการทำงานร่วมกันของสมาชิกอาเซียน หรือ นานาชาติเรียกว่า “การแพทย์ดั้งเดิม” สำหรับประเทศไทยมีสองกลุ่ม แต่มีรากฐานจากภูมิปัญญาจากบรรพชนเช่นกัน คือ การแพทย์พื้นบ้าน (Indigenous or Folk Medicine) และการแพทย์แผนไทย (Thai Tradional Medicine) รูปธรรมที่สะท้อนถึงพลังที่เข้มแข็งของสังคมไทยในเรื่องนี้ คือ การมีกฎหมายเฉพาะสำหรับคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนา ทั้งเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองภูมิปัญญาและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้คาดหวังว่าการร่วมมือกันทำงานเรื่องนี้ นอกจากผลผลิตด้านองค์ความรู้จากหมอพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคแล้ว ในระหว่างกระบวนการทำงานจะช่วยให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยในฐานะผู้สืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาในสถาบันรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจหมอพื้นบ้านในมิติต่างๆที่บางครั้งบันทึกได้ยาก แต่จะได้เรียนรู้โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดูแลรักษาของหมอพื้นบ้าน เช่น ความมีเมตตา กรุณา ต่อผู้เจ็บไข้ซึ่งถือเป็นวิทยาทานต่อลูกหลานนักศึกษาและสังคมไทยต่อไป./อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยกล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version