รักษาคุณภาพ “ลำไย” ยกระดับราคา กรมส่งเสริมฯ แนะเกษตรกรไม่ต้องรีบ

พุธ ๐๖ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๑๓
ฤดูกาลลำไยในปีนี้ ที่หลายฝ่ายกังวลถึงเรื่องของ “ราคา” เช่นเดียวกับผลไม้ตามฤดูกาลอีกหลายชนิด ซึ่งมีผลผลิตออกมาพร้อมๆ กัน จนกลายก่อให้เกิดภาวะ “ล้นตลาด” และกลายเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร “โอฬาร พิทักษ์” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับเกษตรกร ที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาราคาผลผลิต “ลำไย” รวมถึงวิธีการสร้างราคา “ลำไย” ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ว่า “ลำไยช่วงก่อนหน้านี้มีที่ผลผลิตออกมาใหม่ (ช่วงประมาณมิ.ย.-ก.ค.) ราคาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกษตรอยากที่จะรีบเก็บขาย ซึ่งมีราคาสูงถึง 40-50 บาท / กิโลกรัมบวกกับมีข่าวเกี่ยวกับมรสุมที่เข้ามา ซึ่งเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต โดยส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพและราคาลำไยในท้องตลาด ซึ่งราคาช่วงต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ลำไยเกรด AA และลำไย AA และ A คุณภาพจะอยู่ประมาณ 37% เกรด B อยู่ที่ประมาณ 53 % ซึ่งหากเกษตรทยอยนำผลิตผลออกมาสู่ตลาดมาเกินไป และไม่ได้คุณภาพ ราคาก็จะตก เช่นเดียวกับกรณีของทุเรียน ที่หากส่งทุเรียนอ่อนไม่ได้คุณภาพออกสู่ตลาดราคาก็จะตก โดยในช่วงเดือนต้นเดือนสิงหาคมนี้ จะเป็นช่วงพีคของลำไย ทางกรมฯ ส่งเสริมฯ ได้ส่งเจ้าหน้าลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกร

นอกจากนี้ ในการขายผลผลิตให้กับกลุ่มผู้รับซื้อ หรือที่เรียกว่า“ล้ง” ยังพบมีการนำลำไยไปรมสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เกินกว่ามาตรฐานกำหนด มีผลทำให้ลำไยด้อยคุณภาพ ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาทางกรมฯ ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ทหาร เร่งลงตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้สารดังกล่าวเกินกว่ามาตรฐานกำหนด ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของลำไย ที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับราคา และคุณภาพของลำไยไว้

โดยหลังจากทางกรมฯ ได้ให้คำแนะนำและติดตามผลผลิตลำไยอย่างใกล้ชิด โดยเจ้าหน้าที่กรมฯ ที่เข้าไปพบกับเกษตรกรแล้ว พบว่าผลผลิตลำไยที่ออกมามีคุณภาพดีขึ้น คือลำไยที่อยู่ในตลาดเกรด AA และ A มีคุณภาพอยู่ที่ 60-64 % และเกรด B อยู่ที่ 20 กว่า

ทั้งนี้ปัญหาลำไยในช่วงนี้ จะหมดปัญหาในเรื่องของอายุของลำไย เพราะช่วงเดือนสิงหาคม จะเป็นช่วงที่ลำไยอยู่ในช่วงแก่เต็มที่ และเกษตรกรก็ชะลอการเก็บเกี่ยวตามคำแนะนำของกรมฯ ทำให้ผลิตผลลำไยนับจากนี้จะเป็นลำไยคุณภาพ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด%”อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อจากนี้ ทางกรมฯ ยังต้องคงต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะกลุ่มของ “ล้ง” กับการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้คำแนะนำในการรมสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณที่ถูกต้องตามมาตรฐาน รวมถึงการควบคุมดูและให้คำแนะนำกับเกษตรกรเกี่ยวกับการดูแลลำไยในช่วงพีค

ขณะที่สถานการณ์ราคาในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี และเกษตรกรสามารถอยู่ได้ ทางกรมฯ จึงเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ดูแลในเรื่องของคุณภาพผลผลิต และปริมาณที่จะออกสู่ตลาดเพื่อป้องกันไม่ให้ราคาตก คือการรักษาระดับราคา ลำไย AA ให้อยู่ในระดับราคา 20 บาท / กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรสามารถอยู่ได้ รวมถึงการพยายามสร้างฐานราคาลำไยเกรด A ให้ขยับขึ้นมา โดยเดิมช่องว่างระหว่าง ลำไยเกรด AA และ A จะห่างกันอยู่ประมาณ 5-6 บาท / กิโลกรัม ในช่วงหลังมาห่างกัน 9-10 บาท/ กิโลกรัม

โดยแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตลำไย โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวกับผลผลิตลำไยจะเน้นใช้แนวทาง “smart farmer” เพื่อรองรับกับผลผลิตลำไยในฤดูกาลนี้ ด้วยการผลักดันลำไยคุณภาพดีออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นฤดูกาลเพื่อดึงราคาให้ลำไยให้ติดตลาด เพราะลำไยเป็นผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งตลาดจีนมีความต้องการสูง อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับเกษตรกรให้รู้จักการแข่งขัน หาตลาดล่วงหน้าเพื่อสิทธิในการมีอำนาจต่อรอง

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาลำไยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงผลผลิตออกมากโดยได้รับด้วยความร่วมมือจากคณะทำงานเฉพาะเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไยปี 2557 เป็นพิเศษ โดยทุกมาตรการจะเน้นกรอบการแก้ปัญหาลำไยทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การกระจายผลผลิต การส่งเสริมการแปรรูป การส่งเสริมการตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในตลาด ASEAN

สำหรับมาตรการระยะยาวที่สามารถแก้ไขปัญหาลำไยได้อย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการผลิตลำไยตามเขตเกษตรเศรษฐกิจที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการผลิตลำไยนอกฤดูในมีสัดส่วน 40% ของพื้นที่ปลูกลำไยภาคเหนือทั้งหมดซึ่งขณะนี้มี 854,371 ตัน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาลำไยไดทั้งระบบ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ MRCF ในการนำข้อมูลมา Mapping เพื่อกำหนดพื้นที่การปลูกลำไยที่เหมาะสม พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตลำไยคุณภาพตามแนว GAP ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร วางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยกรมส่งเสริมการเกษตรเชื่อมั่นว่าจะเป็นการดำเนินการแก้ไขลำไยทั้งระบบได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ส่วนในด้านการให้คำแนะนำเกษตรกรเกี่ยวกับเก็บเกี่ยวผลิตผลลำไย ซึ่งช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวลำไย อาจผันแปรตามสภาพแวดล้อมแต่ละปี รวมถึงแหล่งปลูก อายุต้น และการจัดการ เช่น การใส่ปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งหากเกษตรกรเก็บเกี่ยวในระยะที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้สูญเสียรายได้ โดยเฉพาะเก็บเกี่ยวลำไยที่อ่อนเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ได้น้ำหนักน้อยแล้ว พ่อค้าก็จะกดราคารับซื้ออีกด้วย ดังนั้น เกษตรกรต้องไม่เก็บลำไยอ่อนออกมาขายเพราะเป็นการฉุดราคาลำไยของตนเอง และยังทำลายชื่อเสียงลำไยของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๕ หอการค้าไทย-อิตาเลียน จัดพิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติ Ospitalit? Italiana ครั้งที่ 11 เชิดชูร้านอาหารอิตาเลียนทั่วไทยที่สะท้อนวัฒนธรรมอิตาเลียนอันโดดเด่นและเป็นเลิศ
๐๘:๒๐ เปิดประตูสู่การเรียนรู้ระดับสากล! ม.ศรีปทุม MOU กับ WCC Aeronautical and Technological College ฟิลิปปินส์
๐๘:๔๑ DEXON คว้างานใหญ่ NDT จากกลุ่ม ปตท.สผ. มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท
๐๘:๔๔ ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างยั่งยืน
๐๘:๕๓ วัน แบงค็อก จับมือสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดเวิร์คช็อปร่วมกับศิลปินระดับโลก คาลัม สกอตต์ และ ลอเรน ออลเรด
๐๘:๑๔ PDPC เตือนบริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ไม่ให้ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด พร้อมเปิดช่องทางร้องเรียนเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน
๐๘:๑๐ สถาบันปิดทองหลังพระฯ บูรณาการร่วมจังหวัดศรีสะเกษผลักดันซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำในชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าเกษตรและสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
๐๘:๑๗ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัลเกียรติยศ SET AWARDS 2024 ประเภท Highly Commended Sustainability Awards
๐๘:๑๕ Bangkok Art Auction จัดงานประมูลศิลปะส่งท้ายปี The Iconic Treasure 2024 ผลงานกว่า 100 ชิ้น พร้อมชวนชมนิทรรศการก่อนการประมูล ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 พ.ย. 67 ณ
๐๘:๕๐ บินตรงจากแดนปลาดิบเสิร์ฟความอร่อยติดดาวกับเชฟมิชลินสตาร์ 1 ดาว ณ ห้องอาหารอูโนมาส ชั้น 54 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ