ความสัมพันธ์ของหนี้ครัวเรือน กับ NPL

พุธ ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๕๑
TerraBKK Research ขอเสนอความสัมพันธ์ของ “หนี้ครัวเรือน” กับ “ปัญหา NPL” มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หนี้ครัวเรือน (Household Debt) เกิดจากความต้องการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างๆเพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนในกิจการของตนเอง โดยส่วนใหญ่แล้วการก่อหนี้ครัวเรือนจะเป็นการก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสูงถึง 32% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) คือ การที่ลูกหนี้เงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้แก่สถาบันการเงินเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป แต่ต้องดูเป็นรายบัญชีไป การมีลูกหนี้ NPL ทำให้สถาบันการเงินต่างๆต้องมีการสำรองหนี้ที่สงสัยจะสูญเพิ่มเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ขาดสภาพคล่องเหมือนตอนปี 40 ที่ผ่านมา ในช่วงสภาพเศรษฐกิจขาขึ้น จากสภาพเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองทำให้ธุรกิจคาดการณ์และวางแผนที่การลงทุน ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆเพื่อฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ในช่วงนี้จะมีการก่อหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้ต้องมีสัดส่วนของการใช้เงินกู้แทบทั้งสิ้น รวมทั้งในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจะง่ายกว่าช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว จากการแข่งขันเพื่อปล่อยกู้เพื่อแย่งลูกค้าระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเป็นตัวผลักดันให้ตัวเลขของหนี้ครัวเรือนไต่ระดับสูงขึ้นและเมื่อหนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังทำให้ ธนาคารกลางต้องออกมาตราการเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อเพื่อชะลอความร้อนแรงและลดปัญหาเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ที่จะตามมา สำหรับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง หลังจากมีการก่อหนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง ในสภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้กำลังซื้อของประชาชนจะลดลง จากรายได้ของประชาชนลดลดลง สภาวะอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ที่สูงขึ้น ธุรกิจขาดรายได้ และบางธุรกิจไม่มีเงินทุนสำหรับการต่อยอดธุรกิจทั้งการนำกำไรมาต่อยอดและการขอกู้จากสถาบันที่ระมัดรังวังมากขึ้นเนื่องจากหนี้ครัวเรือนก่อนหน้านี้ค่อนข้างสูงทำให้สถาบันการเงินต้องออกมาตราการเพื่อจำกัดเพดานหนี้ครัวเรือนไม่ให้มากเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในการขอเงินกู้ จากปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่ลดลงส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ภาคครัวเรือนขาดรายได้ เป็นผลลูกโซ่ต่อไปยังความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ลูกหนี้บางรายไม่สามารถนำเงินมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ได้ จนหนี้ครัวเรือนที่ก่อเอาไว้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) จนกลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจหลายๆวิกฤตามมา ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้เกิดจากคนที่มีรายได้สูง แต่จะเกิดกับผู้ที่มีรายได้ต่ำ (รายได้ไม่ถึง 15,000 บาท) และลุกลามจนกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ บุคคลผู้มีรายได้ต่ำเป็นกลุ่มคนที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) เฝ้าระวังเป็นพิเศษ และมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ เพราะคนกลุ่มนี้มีรายได้ที่ค่อนข้างจำกัด ลักษณะการใช้จ่ายเป็นแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเก็บ ถ้าหากขาดรายได้จะเป็นปัญหาในการชำระหนี้ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๒ เม.ย. แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๐๒ เม.ย. GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๐๒ เม.ย. KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๐๒ เม.ย. แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ