จุฬาฯ จับมือ IAEC ชูธง ประเทศไทย ประกาศความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 58

พฤหัส ๑๔ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๐๙:๔๑
จุฬาฯ จับมือ IAEC Group จัดเสวนา “ชูธงประเทศไทยในประชาคมอาเซียน 2015” เสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ในการขับเคลื่อนไปพร้อมกับประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 และแนวทางการพัฒนารูปแบบของการร่วมมือในระดับประชาคม ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศสมาชิกในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม ต่อยอดไปสู่การจัดแสดงนิทรรศการระดับประเทศ iAEC : Empower AEC Opportunities ของกลุ่มประเทศสมาชิกในระหว่างวันที่ 23 -26 ตุลาคม 2557 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์กรเครือข่าย จัดสัมมนา “Moving Forward in Building the ASEAN Community ปาฐกถาพิเศษโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเสวนาเรื่อง “ ชูธงประเทศไทย ในประชาคมอาเซียน 2015” เพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด การบูรณาการประชาคมอาเซียนจะช่วยเสริมโอกาสและจัดการความท้าทายที่ประเทศสมาชิกต่างๆ กำลังเผชิญได้อย่างไรบ้าง ตลอดจนประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปพร้อมกับประชาคมอาเซียนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ผลจากการสัมมนาฯ ครั้งนี้เป็นแรงผลักสำคัญที่ต่อยอดไปสู่การจัดงานเดินหน้าประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียนแสดงนิทรรศการระดับประเทศ iAEC : Moving Thailand Forward ระหว่างวันที่ 23 -26 ตุลาคม 2557 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี งานนิทรรศการและการประชุมระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อนและเดินหน้าประเทศไทยสู่ประชาคม งานแรกที่รวมพลังจากภาครัฐและเอกชนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ (AEC) สังคม วัฒนธรรม (ASCC) และการเมืองความมั่นคง (APSC) นำเสนอวิสัยทัศน์ของประเทศไทย และความพร้อมของอาเซียนในด้านต่างๆ ร่วมแสดงงานโดยกลุ่มมิตรประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยจะนำเสนอผ่านไฮไลท์ของการจัดงาน อาทิ ASEAN Connection and Opportunities การเชื่อมโยง และโอกาสความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน ASEAN beyond 2015 นวัตกรรมของไทย และประเทศประชาคมอาเซียนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ ASEAN SMEs ศักยภาพในการร่วมกันพัฒนา

การแข่งขันสู่ระดับโลกของกลุ่ม SMEs ในประชาคมอาเซียน และ Halal Food & Healthy Products ซึ่งประเทศในประชาคมอาเซียนถือเป็นแหล่งผลิตใหญ่สำหรับตลาดอาหารฮาลาลของโลก และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพรวมถึงการจัด Fashion & Life Style zone เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอในอาเซียน

รศ.ดร. สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงบทบาทของศูนย์อาเซียนศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาเน้นการทำงานร่วมกันของสามเสาหลัก ทั้งการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อย่างเกื้อกูลและสมดุล นอกจากการสร้างประชาคมแล้ว ศูนย์อาเซียนศึกษายังเน้นการผลิตงานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงอาเซียนหรือ ASEAN Connectivity อีกด้วย

โดยจัดงานชูธงประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมในการขับเคลื่อนไปพร้อมกับประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งขณะนี้มีเวลาอีก 14 เดือนที่ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศจะเข้าสู่ข้อตกลงในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ภายในปี 2558 โดยการบูรณาการในระดับประชาคมจะสามารถเสริมโอกาส และจัดการความท้าทายที่ประเทศสมาชิกต่างๆ เผชิญอยู่ได้ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ร่วมมือกันในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะความร่วมมือด้านนโยบายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับประชาคม เช่น การปรับประสานนโยบายการแข่งขันให้โปร่งใสสอดคล้องกันเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า บริการ การพัฒนา และเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกการค้า การลงทุน ทั้งลดต้นทุนในการ และทำธุรกรรมทางการค้าในอาเซียน

รศ.ดร.สุทธิพันธ์ ยังกล่าวต่อว่า ประเทศไทยในฐานะผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากประชาคมอาเซียนจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคเอกชนไทยในตลาดโลกหากรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นตลาดภูมิภาค ฐานการผลิต ฐานการลงทุนและพันธมิตรทางการค้า

“การเป็นประชาคมอาเซียนเป็นมากกว่าการเปิดเสรีทางการค้านอกจากจะส่งผลให้อาเซียน 10 ประเทศ เป็นเหมือนประเทศเดียวกัน ยังจะประกอบไปด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลากหลายสาขา เช่น เกษตร การส่งเสริม SMEs การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะ ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ” รศ. ดร. สุทธิพันธ์ กล่าวในที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version