ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 นี้ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง (anchor rating) หนึ่งอันดับเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะด้อยสิทธิ ข้อกำหนดสิทธิที่สำคัญของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวคือเรื่องปัจจัยที่แสดงว่าธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (non-viability trigger) ทั้งนี้มีการกำหนดไว้ว่าธนาคารจะมีสถานะเป็นธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เมื่อธนาคารกลางหรือทางการตัดสินใจเข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และผู้ถือหุ้นกู้จะต้องรองรับผลขาดทุนในลักษณะการตัดเป็นหนี้สูญบางส่วนได้ (partial write-down) หรือทั้งจำนวน (full write-down) แต่ไม่ได้บังคับตัดหนี้สูญทั้งจำนวน (mandatory full write-down) นอกจากนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 นี้จะมีสถานะที่สูงกว่า (more senior) เมื่อเทียบกับตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่มีคุณสมบัติสามารถรองรับผลขาดทุนได้ (loss absorption feature) ในกรณีที่มีเหตุการณ์ให้เกิดการตัดหนี้สูญ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 นี้จะถูกตัดเป็นหนี้สูญในสัดส่วนที่เท่ากัน (pari passu) กับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่มีคุณสมบัติสามารถรองรับผลขาดทุนได้ โดยการตัดเป็นหนี้สูญชุดอื่น ๆ ที่ออกโดยธนาคาร
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ TMB (อันดับเครดิต ‘A+(tha)’/ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งถูกใช้เป็นอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงนั้นพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง โดยสถานะทางการเงินโดยรวมของธนาคารถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับความเสี่ยงที่ผู้ถือตราสารหนี้ของธนาคารจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) ทั้งนี้ ฟิทช์ ไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตลงเพิ่มเติมจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงเนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่ได้มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption feature)
ผลการดำเนินงานโดยรวมของธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าความสามารถในการทำกำไรยังอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ฐานะเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับที่ดีและเทียบเคียงได้กับธนาคารพานิชย์ขนาดกลางอื่น
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของสถานะความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมและอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ TMB อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของหุ้นกู้นี้
หากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของปัจจัยทางการเงินที่สำคัญ เช่น คุณภาพสินทรัพย์และรายได้ มีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญ อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต นอกจากนี้การเพิ่มระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) โดยที่ไม่มีการชดเชยในการเพิ่มความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุนและความสามารถในการทำกำไร อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิตได้เช่นกัน อันดับเครดิตของธนาคารไม่น่าจะได้รับการปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมของ TMB คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปและปัจจัยดังกล่าวได้สะท้อนอยู่ในอันดับเครดิตปัจจุปันแล้ว
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดของ TMB ที่ไม่ได้รับผลกระทบมีดังนี้
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ ‘BBB-’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F3’
- อันดับเครดิตสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการหุ้นกู้ EMTN มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐๆที่ ‘BBB-’
- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘bbb-’
- อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’
- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BB+’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘A+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1(tha)’
- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (ตามเกณฑ์ Basel II) ที่ ‘A(tha)’