กสอ. จับมือ สถาบันสิ่งทอฯ เร่งอัพดีกรี ผ้าโอทอป ก่อนเปิด AEC หลังพบผู้ประกอบการได้“มาตรฐาน”ส่งออกเพียง 8 %

พุธ ๒๐ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๔๙
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำ โครงการ “พัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป ตลอดกระบวนการผลิต และทดสอบตลาดจากการพัฒนา” ได้ตั้งเป้าหมายถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้ผู้ประกอบตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมมาตรฐานผ้าและเครื่องแต่งกาย ผ่านองค์ความรู้ สอดรับมาตรฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอทั่วโลก อาทิ การคงทนของสีต่อการซัก /การขัดถู /สารฟอกขาว /การเปลี่ยนแปลงขนาดหลังการซัก /การซักแห้ง /ความแข็งแรงต่อแรงดึงขาด/ แรงฉีกขาด/ การติดไฟ การเปลี่ยนแปลงขนาด ฯลฯ ตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงาน องค์กรหลักที่ได้รับการยอมรับในการให้มาตรฐาน ได้แก่ ISO ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ AATCC และ ASTM ของประเทศอเมริกา JIS ของประเทศญี่ปุ่น และ TIS หรือ มอก. มผช. ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจุบัน มีผู้ประกอบการ เพียง ร้อยละ 8 จากจำนวนผู้ประกอบการกว่า 10,000 ราย ที่สามารถส่งออกในระดับต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ในสามปี ข้างหน้า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังได้เสนอเป้าหมายในการพัฒนา อุตสาหกรรมโอทอปในภาพรวม อาทิ การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อายุน้อย สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิม 80,000 ล้านบาท เป็น 1 แสนล้านบาท เพิ่มจำนวนสมาชิกเครือข่ายในชุมชน ขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี เพิ่มสัดส่วนมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์โอทอปเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 12 รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry)

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของ กสอ. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่หก กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2202-4559 หรือเข้าไปที่ http://www.dip.go.th และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซ.ตรีมิตร ถ.พระรามที่สี่ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2713-5492-9 หรือเข้าไปที่ http://www.thaitextile.org

นางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 1 จาก 5 กลุ่มกลุ่มสินค้าโอทอปของไทย ซึ่งมีจำนวนกว่า 17,000 ผลิตภัณฑ์ จากจำนวนผู้ประกอบการกว่า 10,000 ราย แต่มีเพียง 297 ราย หรือเพียง ร้อยละ 3 ที่จัดอยู่ ในระดับเอ ซึ่งเป็นระดับดาวเด่น ที่สามารถส่งออกในระดับต่างประเทศได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้โอทอปไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ รวมถึงสามารถรองรับการแข่งขันเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ผู้ประกอบการวิสาหกิจกิจชุมชนในหลายด้าน ต้องพัฒนาและมีความรู้ความเข้าใจด้าน “มาตรฐาน” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอำนาจการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจัด โครงการ “พัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป ตลอดกระบวนการผลิต และทดสอบตลาดจากการพัฒนา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายโอทอป พร้อมยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์โอทอปและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมมาตรฐานผ้าและเครื่องแต่งกาย ผ่านองค์ความรู้ต่างๆ อาทิ ความรู้วิทยาศาสตร์ ส่งเสริมประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เมื่อนำไปใช้งาน สร้างสรรค์คุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิต แนวคิดและวิธีการทดสอบ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบและรับรองการซื้อขาย การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ฯลฯ

อย่างไรก็ตามสำหรับภาพรวมของยุทธศาสตร์การพัฒนา OTOP ซึ่งเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ใน 3 ปีข้างหน้า โดยตั้งเป้าในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อายุน้อย สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิม 80,000 ล้านบาท เป็น 1 แสนล้านบาท จำนวนสมาชิกเครือข่ายในชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี สัดส่วนมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์โอทอปเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 12 เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry) โดยการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์โอทอป ซึ่งเป็นสินค้าที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนไทย นางศิริรัตน์ กล่าวสรุป

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์โอทอป ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของไทยเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นด้านเอกลักษณ์ เป็นที่สนใจของตลาดต่างประเทศ แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจด้านคุณภาพ มาตรฐาน ทำให้การผลิตเน้นแต่รูปแบบ แต่ยังไม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านคุณภาพควบคู่ไปด้วย ผลิตภัณฑ์จึงมีปัญหาในด้านคุณภาพต่อการใช้งาน เช่นการตกของสี การหดตัวภายหลังการซักรวมถึงการใช้สีย้อมและสารเคมีที่เป็นสารอันตราย เนื่องจาก มีการเลือกใช้วัตถุดิบเส้นด้าย สีย้อมที่ไม่ได้คุณภาพ มีสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งกระบวนการย้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ผู้ผลิตยังขาดการเชื่อมโยงกันในสายโซ่อุปทาน (supply chain) ทำให้ไม่สามารถหาแหล่งจำหน่ายเส้นด้าย สีย้อมและสารเคมีที่มีคุณภาพมาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าโอทอป เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ อย่างไรก็ตาม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลและพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย มีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอป ของผู้ประกอบการไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ เทรนด์สี วิจัยพัฒนาวัสดุเส้นใย การประยุกต์ใช้นวัตกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์โอทอปมีคุณภาพมาตรฐานตามทิศทางแนวโน้มตลาดโลก ด้วยความพร้อมของห้องปฏิบัติการทดสอบสิ่งทอตามมาตรฐานสากลของสถาบันฯ ตลอดจนประสบการณ์การทำงานทดสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกตามเกณฑ์มาตรฐานซื้อขายต่างประเทศ ด้วยมาตรฐานจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับของโลก เช่น ISO ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ AATCC และ ASTM ของประเทศอเมริกา JIS ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้สถาบันฯมีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอทอปให้ได้ตามมาตรฐานการส่งออก สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศ

นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังมีประสบการณ์บริหารจัดการ สายโซ่อุปทาน สิ่งทอในหลายภูมิภาคของไทย ตลอดจนมีประสบการณ์ด้านการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์และเชื่อมโยงตลาดสิ่งทอทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย OTOP ตลอดกระบวนการผลิต และทดสอบตลาด ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายก้าวสู่สากล นางสุทธินีย์ กล่าวสรุป

สำหรับผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายที่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว และต้องการเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะต้องทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ตั้งแต่การเลือก

วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเชื่อมโยงและบูรณาการคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดสายโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำโดยมุ่งเน้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มที่ B (รักษาภูมิปัญญา) และกลุ่มที่ C (สร้างตัว) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่กลุ่มที่ A (ดาวเด่นสู่สากล) เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งออกในต่างประเทศและในภูมิภาคอาเซียนโดยมีกิจกรรมนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา ไปทดสอบตลาดทั้งในประเทศ ที่งาน"Thailand Industry Expo 2014" ภายใต้ธีม "ซื้อของไทย ใช้ของดี SMEs ยั่งยืน คืนความสุขให้ประชาชน” ตั้งแต่วันที่ 26 - 31 สิงหาคม 2557 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานีและทดสอบตลาดต่างประเทศ ในงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอระดับโลก งาน Texworld ระหว่างวันที่ 15 -18 กันยายน 2557 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นงานที่มีผู้จัดแสดงสินค้ามากกว่า 800 ราย จาก 27 ประเทศทั่วโลก

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของ กสอ. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่หก กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2202-4559 หรือเข้าไปที่ http://www.dip.go.th และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซ.ตรีมิตร ถ.พระรามที่สี่ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2713-5492-9 หรือเข้าไปที่ http://www.thaitextile.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ