ปส. ระดมความคิดเห็นบุคลากรทางการแพทย์ คุมเข้มความปลอดภัยการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยรังสี ไอโอดีน – ๑๓๑

ศุกร์ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๕๗
นายสุพรรณ แสงทอง เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการประชุมเชิงสัมมนาเรื่อง “การรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน - ๑๓๑ แบบผู้ป่วยนอก” ระดมความคิดเห็นบุคลากรทางการแพทย์ ประเมินผลกระทบความปลอดภัยจากการรักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่รักษาด้วยไอโอดีน – ๑๓๑ แบบผู้ป่วยนอก หวังเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ และนำไปสู่การพัฒนาระบบการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ โดยเชิญแพทย์ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาล สมาคมวิชาชีพ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ตลอดจนประชาชนทั่วไป กว่า ๖๐ คน ร่วมแสดงความคิดเห็น ประเมินความปลอดภัยผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่รักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน - ๑๓๑ แบบผู้ป่วยนอก และประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป

“การสัมมนาครั้งนี้ จะมีการพิจารณาร่างข้อแนะนำในการคัดกรองผู้ป่วย เพื่อให้หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรงพยาบาลต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาด้วยไอโอดีน – ๑๓๑ แบบผู้ป่วยนอก และเพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไอโอดีน – ๑๓๑ และผู้ดูแลผู้ป่วยใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับทั้งตนเอง ผู้ใกล้ชิด และสาธารณชน ผมหวังว่า การสัมมนานี้ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการรักษามะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ด้วยไอโอดีน - ๑๓๑ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นายสุพรรณฯ กล่าว

ปัจจุบันมีพัฒนาการในการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลายวิธี ซึ่งการรักษามะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน - ๑๓๑ เป็นวิธีการรักษาหลังการผ่าตัดที่ได้ผลดี นอกจากจะสามารถทำลายเนื้อเยื่อมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์แล้ว เซลล์มะเร็งตามอวัยวะอื่นที่มีต้นกำเนิดจากต่อมไทรอยด์ ก็มีความสามารถในการดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 เป็นผลให้เซลล์มะเร็งเหล่านั้นถูกทำลายและตายลงเช่นกัน

การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายมากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ย่อมมีการขับถ่ายสารกัมมันตรังสีนั้นออกมา ซึ่งอาจมีอันตรายต่อบุคคลอื่นรวมทั้งสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีข้อกำหนดให้สถานพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ด้วยวิธีนี้ ต้องให้ผู้ป่วยพำนักอยู่ในสถานพยาบาลจนกว่าปริมาณรังสีในร่างกายผู้ป่วยจะลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่มีความปลอดภัยทางรังสีต่อผู้ดูแล ญาติ และประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ สถานที่ จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งมีผู้ป่วยรอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ตามข้อแนะนำของคณะกรรมาธิการป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างประเทศ (International Commission on Radiological Protection) เสนอว่า การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ด้วยไอโอดีน – ๑๓๑ แบบผู้ป่วยนอก นั้นสามารถกระทำได้ หากแต่ต้องมีการคัดกรองผู้ป่วยเป็นอย่างดีและมีการประเมินความปลอดภัยทางรังสีให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป โดยปริมาณรังสีที่ได้รับไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แพทย์ผู้ให้การรักษา หรือ กลุ่มกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้รังสีทางการแพทย์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทร. ๐ ๒๕๙๖ ๗๖๐๐ ต่อ ๓๕๑๖ – ๓๕๑๗

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version