ปรับพฤติกรรมเสี่ยง... เลี่ยง “ออฟฟิศซินโดรม”

พุธ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๒๑
การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเมือง มีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น ทำให้คนเรามองข้ามการดูแลสุขภาพร่างกาย แพทย์ชี้ 10 เปอร์เซ็นต์ของคนเมือง มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมเพิ่มขึ้น

นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล รองผู้อำนวยการด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่าออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคและเวลาพูดถึงออฟฟิศซินโดรม คือคนที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเน้นหนักในเรื่องท่าทางการทำงาน แต่ที่จริงแล้วออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นกลุ่มของอาการที่เกิดจากโรคหลายชนิด มีสาเหตุมาจากอากาศในออฟฟิศ กระบวนการทำงาน ท่าทางการทำงาน เครื่องมือที่มีอยู่ในออฟฟิศ เป็นต้น

ความเป็นจริงออฟฟิศซินโดรมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อากาศที่อับทึบ การระบายอากาศไม่ดีทำให้มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้าง ส่งผลให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน หากแสงสว่างจ้าเกินไป หรือมีแสงสะท้อนจากหน้าจอจนเกิดอาการแสบตาต้องหยีตา ปวดกล้ามเนื้อตา จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และหากแสงสว่างน้อยเกินไปคนที่สายตายาวหรือสายตาสั้นต้องเพ่งตามากขึ้นจะส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อตาเช่นกัน รวมทั้งการมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารภายในสำนักงานมากจะส่งผลให้มีสารเคมีในห้องเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์จากตัวคนทำงานแล้ว ยังมีสารระเหยบางประเภททำให้มีอาการแสบตา แสบจมูก แสบคอ ไอ แน่นหน้าอก นอกจากนี้สารเคมีเหล่านี้ยังเกิดโรคผื่นคันตามตัวอีกด้วย โดยเฉพาะถ้ามีใครในออฟฟิศสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเกิดมลพิษในห้องมากขึ้น ด้วยเหตุนี้พนักงานออฟฟิศจึงต้องไปพบแพทย์บ่อยครั้งด้วยเรื่องเจ็บคอและเป็นหวัด สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการทำงาน คือ มีอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาทิ การนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ และยังส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือและสายตา โดยท่าทางการทำงานที่ถูกวิธี คือ เวลานั่งพิมพ์งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง มีที่รองแขน เท้าสามารถแตะพื้นได้ หลังสามารถพิงลงไปโดยตัวอยู่ในท่านั่ง หลังตรง คอตรง มองตรง นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องพักสายตา คือมองไปทางอื่นเป็นระยะหลังทำงานสักพักหนึ่ง และบางคนจะทำงานเพลินจนลืมกระพริบตาทำให้ตาแห้ง เมื่อทำงานสัก 15 นาทีถึงครึ่งชั่วโมงควรมีการยืนขึ้น บิดหรือเหยียดตัวเพื่อแก้อาการเมื่อย และควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และถ้ามีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จะต้องเงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆทุก 20 นาที เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าของสายตา และควรหาต้นไม้ในร่ม มาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาที่อ่อนล้า

ดังนั้น เพื่อป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ควรปรับพฤติกรรม ลดความเครียดจากการทำงานให้มีความพอดี รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงส่ง ผลให้งานออกมามีประสิทธิภาพตามไปด้วย

กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โทร 0-2517-4333

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ