ราชภัฏโคราช ร่วมกับ ชุมชนเทศบาลตำบลรังกาใหญ่ MOU เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น

อังคาร ๐๒ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๔:๓๑
เมื่อเร็วๆ นี้ โปรแกรมวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาร่วมกับ เทศบาลตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น โดยมี รองศาสตราจารย์เทื้อน ทองแก้ว รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมด้วย นายเสถียร ควบพิมาย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลรังกาใหญ่ เป็นผู้ร่วมลงนามการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาเศรฐกิจของชุมชนท้องถิ่นเป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2556 และได้ขยายเวลาการดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ ด้านวิสาหกิจชุมชน ตามโครงการบูรณาการการเรียนการสอน ซึ่งได้พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถจัดตั้งพัฒนากลุ่มอาชีพในชุมชนได้จำนวน 20 กลุ่ม พร้อมทั้งติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานมาโดยตลอด จึงถือได้ว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการบริการวิชาการเผยแพร่ความรู้ได้อย่างเต็มกำลัง ดังอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่ว่า “ที่พึ่งของท้องถิ่น”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ