พม. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็ก

พุธ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๐:๕๔
วันนี้ (๓ ก.ย.๕๗) เวลา ๐๙.๐๐ น. นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็ก เพื่อร่วมกันระดมความคิด หารูปแบบการสร้างเมืองที่เป็นมิตรสำหรับเด็กที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยศึกษาจากแนวคิดขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และศึกษาจากต้นแบบ “เมืองที่เป็นมิตรต่อเด็ก” ที่ประสบความสำเร็จทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และผู้แทนสภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๗๕ คน ณ ห้องวอลลุ่ม (Volume) โรงแรมฮิป ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กล่าวว่า การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับเด็กนั้น เป็นหนึ่งในกลไกตามแนวคิดสำคัญของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC) ซึ่งไทยเข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาและได้นำมาเป็นกรอบในการทำงานเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเด็ก นอกจากอนุสัญญาแล้ว ประเทศไทยยังรับรองปฏิญญานิวเดลีว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศฝ่ายใต้ – ด้านสิทธิเด็ก ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (The New Delhi Declaration on South – South Cooperation for Child Rights in Asia and the Pacific) ซึ่งมีสาระสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กทั้งระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หนึ่งในข้อเสนอแนะสำคัญคือ ด้านการพัฒนาเมืองเพื่อสิทธิเด็ก

ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับเด็กถือเป็นประเด็นสำคัญ เร่งด่วน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมหารือถึงแนวทางการสร้างรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเมืองเป็นสำคัญ ตามความเห็นขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กมีลักษณะที่สำคัญคือ ต้องเป็นเมืองที่เด็กมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและออกเสียงในประเด็นเกี่ยวกับเมืองที่เด็กต้องการ เด็กมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในครอบครัว ชุมชนและสังคม สิทธิได้รับบริการพื้นฐานที่มีคุณภาพเช่น บริการสุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย ดื่มน้ำสะอาดและมีสุขอนามัยที่เหมาะสม ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกใช้ประโยชน์ ความรุนแรงและการถูกทำร้าย เด็กที่อาศัย ในเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กต้องสามารถเดินบนถนนได้อย่างปลอดภัย มีพื้นที่สร้างสรรค์ที่สามารถรวมกลุ่มทำกิจกรรมและเล่นสนุกกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้เมืองยังควรมีพื้นที่สีเขียว เพื่อให้เด็กอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีมลพิษ สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมและสังคม เข้าถึงบริการทางสังคมโดยไม่ถูกกีดกันในเชิงชาติพันธุ์ ศาสนา รายได้ เพศ หรืออื่นๆ สำหรับในประเทศไทยก็มีหลายเมืองที่มีความพยายามดำเนินการสร้างเมืองให้เป็นมิตร ต่อเด็ก ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายๆเมืองให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก เช่น กรุงเทพฯ มีพิพิธภัณฑ์เด็ก เทศบาลนครยะลา มีศูนย์การเรียนรู้ TK Park เป็นต้น

นางระรินทิพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมฯ ในครั้งนี้ จะสามารถนำเสนอรูปแบบเมืองที่เป็นมิตรสำหรับเด็กเพื่อสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถร่วมกันสร้างเมืองที่เป็นมิตรสำหรับเด็กอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ อยู่อาศัย และพัฒนาอนาคตของชาติให้เติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ