ภาพข่าว: ซีเกทส่งมอบอาคารและอุปกรณ์ในโครงการช่วยเหลือฉุกเฉิน

พุธ ๐๓ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๑:๒๒
นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ โรงงานเทพารักษ์ บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (กลางขวา) ร่วมกับกองทุนกิ๊ฟว์ทูเอเชีย (Give2Asia) และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย โดยนางจิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิ ส่งมอบอาคารและอุปกรณ์ ในโครงการช่วยเหลือฉุกเฉินและฟื้นฟูชุมชนจากมหาอุทกภัย แก่ตัวแทนโรงเรียน จำนวน 12 แห่ง ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรีและปทุมธานี ซึ่งได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยเมื่อ ปี 2554 โดยมี พ.อ.อ.ปัญญา สระทองอุ่น รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ที่สองจากขวามือ) เป็นประธานในพิธีการส่งมอบ

โครงการช่วยเหลือฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในนโยบายด้านการช่วยสังคม Capacity to Care ของซีเกท ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน โดยซีเกทได้มอบเงินจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ ผ่านกองทุนกิ๊ฟว์ทูเอเชียและมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสนับสนุนเป็นงบประมาณในการซ่อมแซมอาคารเรียน ห้องน้ำ จัดสร้างทางระบายน้ำรอบสนามโรงเรียน จัดทำคันกั้นน้ำ รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมอื่นๆ เพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้สามารถกลับมาดำเนินการเรียนการสอนได้ตามปกติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ