สำรวจทุกซอกมุมเรื่องทางเดินอาหารและตับ เพื่อรู้ลึก รู้เท่าทัน และป้องกันตัวจากทุกโรคภัยในระบบทางเดินอาหาร

พฤหัส ๐๔ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๑:๔๓
ด้วยเหตุปัจจัยจากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มักละเลยการดูแลตนเองในด้านต่าง ๆ ทั้งโภชนาการ การพักผ่อน การออกกำลังกาย รวมถึงกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องประสบกับภาวะความเครียดเป็นประจำ ทำให้มีแนวโน้มของผู้ป่วยในโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับสูงขึ้น ทั้งรายละเอียดของโรคยังมีความซับซ้อนและหลากหลายยิ่งกว่าเดิม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำงานของระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อให้คนทั่วไปได้มีพื้นฐานในการเฝ้าระวังและเห็นความสำคัญของการตรวจเช็คสุขภาพร่างกายตนเอง พร้อมแสดงถึงศักยภาพของแพทย์และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาในปัจจุบันที่มีความสามารถทัดเทียมกับวงการแพทย์ในระดับสากล ในงาน ‘Digestive Health Fair’ นิทรรศการซึ่งรวบรวมความรู้ผ่าน Interactive Media และการบรรยายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบกับมะเร็งตับ, นิ่วในถุงน้ำดี, มะเร็งลำไส้ และ ท้องเสียเรื้อรัง(IBD)

นพ.รุจาพงศ์ สุขบท หัวหน้าแผนกทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงาน ว่า “การจัดงาน Digestive Health Fair เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินอาหารและตับที่พบบ่อยในประเทศไทย ซึ่งจะเน้นอธิบายข้อมูลในเชิงกว้าง เช่นเรื่องปัญหาในการตรวจรักษา หรืออาการหลัก ๆ ที่คนไข้ควรให้ความใส่ใจในการตรวจสอบดูแลตนเองเพื่อพบแพทย์ในเวลาอันเหมาะสม รวมถึงวิธีการป้องกันตัวเองให้พ้นจากโรคในกลุ่มนี้ อีกส่วนหนึ่งคือการแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงวิทยาการทางการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ว่าเราสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาคนไข้ได้หลากหลายครอบคลุมทุกกลุ่มอาการ และมีเครื่องมืออุปกรณ์รวมถึงทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จึงสามารถดูผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับได้ในระดับเดียวกับประเทศที่มีเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงทั่วโลก”

“เมื่อคนไข้เข้ามาที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอาการของคนไข้เบื้องต้นด้วยการสอบถามอาการและซักประวัติ จากนั้นเมื่อวินิจฉัยแล้วว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยมีแนวโน้มความผิดปกติจากบริเวณใด ก็จะให้คนไข้เข้ารับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ด้วยเครื่องมือที่สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในอวัยวะใดหนึ่งได้เป็นการเฉพาะ อาทิ Endoscopic Ultrasound (ESU) การส่องกล้องที่มีหัวตรวจคลื่นความถี่สูงเข้าไปภายในระบบทางเดินอาหาร เพื่อวินิจฉัยลักษณะสิ่งผิดปกติ เช่น ถุงน้ำ หรือสิ่งผิดปกติที่อยู่ใต้หรือนอกเยื่อบุของทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลาย และอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ถุงน้ำดี และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ที่กล้องส่องทางเดินอาหารทั่วไปจะมองไม่เห็น ทั้งยังสามารถเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อขณะส่องกล้องได้ทันทีเพื่อนำมาวินิจฉัยอย่างละเอียดแม่นยำมากขึ้น

“Capsule Endoscopy การส่องกล้องผ่านแคปซูลเพื่อตรวจระบบทางเดินอาหารในลำไส้เล็ก ซึ่งจะใช้กับคนไข้ที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะซีดหรือโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุหรือสงสัยว่าอาจเกิดจากลำไส้เล็ก ท้องเสียเรื้อรัง ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ และสงสัยว่าอาจมีเนื้องอกในลำไส้เล็ก โดยคนไข้จะกลืนแคปซูลขนาด 24 มม. ที่มีกล้องติดอยู่ จากนั้น แคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร พร้อมบันทึกภาพราว 51, 000 ภาพ ซึ่งจะถูกถ่ายและแปลงส่งเป็นสัญญาณวิทยุมายังชุดรับสัญญาณที่ติดอยู่บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วยในเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งระหว่างนั้นคนไข้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ วิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินภาวะผิดปกติในลำไส้เล็กที่กล้องส่องแบบท่อขนาดเล็ก (Gastroscopy) เข้าไปไม่ถึง ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำ คนไข้ไม่ได้รับความเจ็บปวด และร่างกายจะขับแคปซูลออกไปพร้อมกับการขับถ่ายตามปกติ

“Colonoscopy กล้องส่องลำไส้ใหญ่ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก เรียว ยาว และยืดหยุ่นได้ มีกล้องวิดีโอและดวงไฟขนาดเล็กติดอยู่ที่ปลายท่อ โดยเมื่อขยับและปรับกล้องส่องลำไส้ใหญ่อย่างเหมาะสมแล้ว แพทย์จะสามารถเคลื่อนไหวกล้องในลำไส้ใหญ่ให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ และภาพที่บันทึกได้จะถูกฉายบนจอโทรทัศน์ด้วยคุณภาพคมชัด และเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด

“Gastroscopy หรือ Upper GI Endoscopy เทคนิคพิเศษเพื่อตรวจบริเวณทางเดินอาหารส่วน ด้วยอุปกรณ์ที่มีลักษณะยาว เล็ก และโค้งงอได้ มีกล้องวิดีโอขนาดเล็กและหลอดไฟอยู่ที่ส่วนปลาย บันทึกภาพคมชัดในระดับสูงฉายผ่านจอโทรทัศน์ ทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดชัดเจนได้ในหลายแง่มุม ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่าการ X-ray

“หรือ Fibro Scan เครื่องวัดความหนาแน่นของตับที่ใช้ตรวจหาภาวะตับแข็งด้วยหลักการสะท้อนของคลื่นเสียง ซึ่งแต่เดิมผู้ป่วยต้องเข้ารับการเจาะตับเพื่อเก็บตัวอย่าง แต่ด้วย Fibro Scan ที่แพทย์จะวางอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยสัญญาณคลื่นเสียงไว้ที่ชายโครงด้านขวาแล้วปล่อยสัญญาณคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปที่ตับ จากนั้นซอฟต์แวร์จะแปลผลจากความเร็วในการสะท้อนกลับของเสียงออกมาเป็นค่าที่แพทย์นำมาใช้พยากรณ์โรคต่อไปได้ การตรวจโดยวิธีนี้จะใช้เวลาเพียงประมาณ 10 นาทีเท่านั้น จากนั้นแพทย์จะนำผลไปใช้ประกอบการวางแผนรักษาได้ทันที”

นอกจากนี้ ยังมีอาการของโรคบางชนิดในกลุ่มโรคทางเดินอาหารและตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ที่ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันและรักษาก่อนที่อาการของโรคจะแสดง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ความรุนแรงที่มีอันตรายถึงชีวิตได้

นพ. รุจาพงศ์ อธิบายว่า ไวรัสตับอักเสบบี คือโรคที่นับได้ว่าเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ในกลุ่มโรคทางเดินอาหารและตับของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น คนที่มีพาหะของโรค คนที่มีอาการแสดงแล้ว และกลุ่มที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีต่อเนื่องหลายปีจนเกิดภาวะตับแข็ง สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเราต้องรู้ว่ากลุ่มคนไข้เหล่านี้คือผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ จึงเป็นเรื่องที่ต้องเน้นความสำคัญว่า การตรวจร่างกายตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมถือเป็นการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดจากโรคมะเร็งตับ หรือถึงแม้ในผู้ป่วยที่มีเชื้อมะเร็งแล้ว แพทย์ก็ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น ดังนั้นผลการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบช้าเร็วแค่ไหน เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีหรือมะเร็งตับในระยะแรกจะไม่มีอาการแสดง ต่อเมื่ออาการเริ่มแสดงแล้วก็มักอยู่ในระยะที่ไม่อาจรักษาได้ หรือรักษาได้ก็ไม่หายขาด

“และเนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การรณรงค์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบีได้ทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งยังมีวัคซีนป้องกันที่ฉีดให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในปัจจุบัน คือกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจได้รับเชื้อมาจากหลายสาเหตุ แต่โดยมากคือรับผ่านทางกรรมพันธุ์จากแม่ หรือบ้างก็ได้รับผ่านการรับบริจาคเลือดตั้งแต่ในยุคสมัยที่ยังไม่มีการสกรีนไวรัสตับอักเสบบี

“ในส่วนของการรักษา แพทย์จะดูที่ระยะของโรค เช่นในกลุ่มที่เป็นพาหะอย่างเดียวก็อาจยังไม่ต้องทำการรักษา เพียงติดตามอาการ ให้คำแนะนำ นัดเจาะเลือดและทำอัลตราซาวด์ทุก 3-6 เดือน หากมีการอักเสบของตับ ก็มียากินหรือยาฉีดตามแต่กรณีของผู้ป่วยแต่ละคน โดยการให้ยาต่อเนื่องจะสามารถรักษาจนหายเป็นปกติได้ สำหรับกลุ่มที่มีอาการตับแข็งและมีไวรัสบีร่วมด้วยก็ต้องรักษาควบคู่กันไป แต่หากเป็นกลุ่มที่ตรวจพบเซลล์มะเร็ง ก็จะขึ้นกับว่าอยู่ในระยะใดหรือมีขนาดของก้อนมะเร็งโตมากน้อยแค่ไหน การรักษาจะมีตั้งแต่การใช้คีโมไปจนกระทั่งการผ่าตัด จากที่กล่าวมา จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราอยากเน้นย้ำว่าการหมั่นดูแลตนเองและตรวจสุขภาพร่างกายตามวาระ ถือเป็นการดูแลรักษาตัวให้ปลอดภัยจากไวรัสตับอักเสบบีและห่างไกลจากมะเร็งตับ ที่ได้ผลดีที่สุด”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version