สำหรับโครงการควบคุมปริมาณการผลิตตามแนวทางควบคุมพื้นที่ปลูกยาง (ต.ค.57–ก.ย.64) สกย. จะสนับสนุนการโค่นยางเก่าที่ให้ผลผลิตไม่คุ้มค่า ปีละ 4 แสนไร่ โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ายางพารา ปีละ 1 แสนไร่ ระยะเวลา 7 ปี ทำให้ลดพื้นที่ปลูกยางแบบถาวรได้ 7 แสนไร่ โดยปีแรกผลผลิตยางลดลงประมาณ 1.01 แสนตัน และเมื่อครบปีที่ 7 จะลดผลผลิตยางได้ถึง 7.11 แสนตัน ส่วนโครงการลดต้นทุนการผลิต (ต.ค. 57 – ก.ย.58) ตามแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร สกย. จะส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ให้ชาวสวนยางใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า สามารถใช้เทคโนโลยีเหมาะสมจัดการสวนยาง และเน้นลดต้นทุนการผลิต เช่น ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่งเสริมรวมกลุ่มผสมปุ๋ยใช้เอง และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ด้านโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี (ต.ค.57-ก.ย.58) สกย. จะส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรรายย่อยผ่านครูยาง เพื่อให้ชาวสวนยางใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการสวนยาง เก็บเกี่ยวผลผลิต พัฒนาการผลิต และส่งเสริมการแปรรูปเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง สุดท้าย คือ โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สกย. จะส่งเสริมให้เกษตรกรผู้รับการสงเคราะห์ระหว่างปี 2558- 2564 ปีละ 1.6 แสนไร่ ใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างระหว่างแถวยาง ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมยาง รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมยาง โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3 วงเงิน 120 ล้านบาท ให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนดำเนินการ
- ม.ค. ๒๕๖๘ กยท. มอบเงินประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้เกษตรกรชาวสวนยาง หวังเป็นหนึ่งทางบรรเทาทุกข์ ยามภาวะราคายางตกต่ำ
- ม.ค. ๒๕๖๘ กยท. ร่วมกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2560 หวังรณรงค์ให้คนไทยทุกคนรัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: ประธานบอร์ดการยางฯ พล.อ.ฉัตรเฉลิมฯ รุดเยี่ยม กยท. เร่งแก้ปัญหายางตามนโยบายรัฐ พร้อมโครงสร้าง กยท.