แหล่งข้อมูลทางการค้าซึ่งประจำอยู่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ยังคงจะขอระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body - DSB) จากองค์การการค้าโลกเพื่อคอยสังเกตว่าประเทศไทยได้ทำตามเงื่อนไขข้อตกลงและข้อเสนอแนะจากคำตัดสินหรือไม่
ฟิลิปปินส์ยังแสดงความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับข้อพิพาทกับประเทศไทย ซึ่งรวมถึง
คำตัดสินของอัยการสูงสุดในประเทศไทยในการแจ้งข้อหาสำแดงมูลค่าภาษีศุลกากรต่อผู้นำเข้าบุหรี่ที่ผลิตในฟิลิปปินส์ ซึ่งองค์การการค้าโลกได้มีคำตัดสินเอื้อต่อโจทก์ (ฟิลิปปินส์) โดยจำเลย (ไทย) ต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ จากคำตัดสิน
ความกังวลของโจทก์ (ฟิลิปปินส์) เกี่ยวกับความสอดคล้องขององค์การการค้าโลกในการพิจารณาคดีโดยคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ในรายการที่อยู่ภายใต้คำแนะนำและคำวินิจฉัยในการระงับข้อพิพาท
ในการประชุมเดียวกันนี้ ประเทศไทยโต้กลับไปว่าได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำและคำวินิจฉัยจากการระงับข้อพิพาทหลังการดำเนินงานที่จำเป็นเกี่ยวกับกรณีพิพาททั้งหมดนี้เสร็จสิ้นลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการสะท้อนจุดยืนอีกครั้งต่อเนื่องจากการประชุมระงับข้อพิพาทครั้งก่อนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ยังคงยืนยันว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่องค์การการค้าโลกได้ตัดสินไว้อย่างสมบูรณ์ ในทางกลับกัน ประเทศไทยกล่าวว่า ไทยพร้อมที่จะหารือเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ ของโจทก์เพื่อความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
ข้อพิพาทดังกล่าวนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 2549 เมื่อฟิลิปปินส์ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลกกรณีที่ประเทศไทยได้ละเมิดข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ค.ศ. 1994 (General Agreement on Tariffs and Trade – GATT – of 1994)
ทางฟิลิปปินส์ได้ถกว่าไทยกำหนดภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบนำเข้ามากกว่าบุหรี่ที่ผลิตเองในประเทศ ส่งผลกระทบต่อบุหรี่ฟิลิปปินส์ที่นำเข้ามาขายในไทย ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
นอกเหนือจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้ยกประเด็นอื่นๆ ของประเทศไทยต่อองค์การการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประเมินราคาศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีกองทุนสุขภาพ ภาษีโทรทัศน์ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อกำหนดการออกใบอนุญาตค้าปลีก และการค้ำประกันการนำเข้า ซึ่งทางฟิลิปปินส์ได้อ้างว่าประเทศไทยบริหารจัดการมาตรการเหล่านี้ “เพียงบางส่วนและมีมาตรการที่ไร้ซึ่งเหตุผลอันสมควร”
ถึงแม้ว่า WTO ได้แก้ไขปัญหาข้อพิพาทนี้ไปเมื่อสามปีก่อนโดยมีคำตัดสินที่เอื้อต่อฟิลิปปินส์ แต่ทว่า ปัญหายังคงเรื้อรัง เนื่องจากประเทศไทยก็ยังคงยืนกรานว่าได้ปฏิบัติตามคำแนะนำและคำวินิจฉัยจากการตัดสินไปแล้ว ส่วนฟิลิปปินส์ก็ยังคงยืนยันว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามคำตัดสินแบบควรจะเป็น
สำหรับกรณีดังกล่าว แหล่งข้อมูลทางการค้าได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ฟิลิปปินส์สามารถขออนุมัติจากองค์การการค้าโลกในการตอบโต้ทางการค้าหรือคว่ำบาตรประเทศไทยได้ หากว่าโจทก์มีความเห็นว่าจำเลยปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม
ถ้าฟิลิปปินส์ร้องขอต่อ WTO และได้รับอนุมัติในการตอบโต้ประเทศไทย ฟิลิปปินส์จะได้รับสิทธิ์ในการกำหนดภาษีสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยในระดับที่สูงขึ้นได้
แต่ถึงกระนั้น จากการประชุม WTO ครั้งล่าสุด ประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่ได้ทำการตัดสินในว่าจะดำเนินการดังกล่าวกับประเทศไทยหรือไม่อย่างใด