กระทรวงเกษตรฯ พร้อมลุยแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ เป้าหมายลดความต้องการขายวัตถุดิบยางในตลาด กระตุ้นราคายางกระเตื้อง

พฤหัส ๑๑ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๓:๕๔
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายละเอียดแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาในด้านราคา คุณภาพ การเพิ่มมูลค่า และประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 มาตรการ 9 แนวทาง และ 12 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) จะให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปยางเบื้องต้น มีเป้าหมายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 245 แห่ง ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2567 แบ่งวงเงินออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1.สินเชื่อเพื่อการลงทุนก่อสร้าง/ปรับปรุงโรงงาน (ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์ น้ำยางข้น ยางเครป และผลิตภัณฑ์ยาง) วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี ช่วงระยะปีที 1 ถึงปีที่ 2 สถาบันเกษตรกรจะปลอดชำระต้นเงินกู้ แต่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ทุกปี สถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี 2.สินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน วงเงิน 1,500 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี สถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

สำหรับเป้าหมายโครงการนี้จะช่วยลดความต้องการขายวัตถุดิบยางพาราในตลาด เพื่อรอจำหน่ายเมื่อเห็นว่ามีราคาที่เหมาะสม เดือนละไม่น้อยกว่า 111,990 ตัน หรือปีละประมาณ 895,920 ตัน โดยคิดจากระยะเวลาการกรีดยางพาราปีละ 8 เดือน สามารถเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปยางพาราของสถาบันเกษตรกรเดือนละไม่น้อยกว่า 274 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 2,192 ล้านบาท (คิดจากระยะเวลาการกรีดยางพาราปีละ 8 เดือน) ซึ่งจากการวิเคราะห์ในเบื้องต้นพบว่าการเพิ่มมูลค่ายางพาราจำนวน 2,192 ล้านบาท จากปริมาณยางพารา 895,920 ตัน สามารถเฉลี่ยคืนจากการขายยางให้กับสมาชิกเพิ่มขึ้นได้อีกกิโลกรัมละ 2.44 บาท เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรได้รับประโยชน์จากโรงงานแปรรูปยางพาราไม่น้อยกว่า 298,755 ราย และสถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจการแปรรูปยางพารา

ขณะที่โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับราคาโดยเพิ่มสภาพคล่อง ด้านการตลาด มีกลุ่มเป้าหมาย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 723 แห่ง วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท สถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 การจ่ายเงินกู้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และการชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 12 เดือน นับจากวันเริ่มโครงการ โดยไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ซึ่งโครงการนี้จะช่วยชะลอความต้องการขายวัตถุดิบยางพาราในตลาด ในปริมาณเดือนละไม่น้อยกว่า 87,500 ตัน หรือปีละไม่น้อยกว่า 700,000 ตัน (คิดจากระยะเวลาการกรีดยางพาราปีละ 8 เดือน) หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณยางที่ผลิตในประเทศ (ปีละ 3.5 ล้านตัน) ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไม่น้อยกว่า 500,000 ราย มีแหล่งขายยางพาราในระดับพื้นที่ เป็นการช่วยลดต้นทุนการขนส่งมาจำหน่ายในตลาดกลางหรือแหล่งซื้อขายในเมือง อีกทั้งสามารถได้รับเงินจากการขายยางพาราให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เข้าโครงการฯ ได้ทันที เกษตรกรชาวสวนยางจึงไม่จำเป็นต้องเร่งรีบที่จะกรีดยางเป็นจำนวนมาก และช่วยให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไม่น้อยกว่า 700 แห่ง มีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจการรวบรวมหรือรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางมากยิ่งขึ้น

นายชวลิต กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับโครงการควบคุมปริมาณการผลิตตามแนวทางควบคุมพื้นที่ปลูกยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) จะสนับสนุนการโค่นยางเก่าที่ให้ผลผลิตไม่คุ้มค่า ปีละ 4 แสนไร่ โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ายางพาราปีละ 1 แสนไร่ ระยะเวลา 7 ปี ทำให้ลดพื้นที่ปลูกยางแบบถาวรได้ 7 แสนไร่ โดยปีแรกผลผลิตยางจะลดลงประมาณ 1.01 แสนตัน และเมื่อครบปีที่ 7 จะลดผลผลิตยางได้ถึง 7.11 แสนตัน

นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ให้ชาวสวนยางใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า สามารถใช้เทคโนโลยีเหมาะสมจัดการสวนยางและเน้นลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรรายย่อยผ่านครูยาง เพื่อให้ชาวสวนยางใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการสวนยาง เก็บเกี่ยวผลผลิต พัฒนาการผลิต และส่งเสริมการแปรรูปเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้รับการสงเคราะห์ระหว่างปี 2558 – 2564 ปีละ 1.6 แสนไร่ ใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างระหว่างแถวยาง ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมยาง โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3 วงเงิน 120 ล้านบาท ให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนดำเนินการต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก