ผศ.ดร.พลพัฒน์ กล่าวถึงขั้นตอนการผลิตเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตรเมอร์ ว่า ทำได้โดยการผสมพอลิสไตรีนกับยางธรรมชาติในสภาวะน้ำยางเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นใส่เบนทอไนต์ (bentonite) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้พอลิสไตรีนและยางธรรมชาติเข้ากันได้ดีมากขึ้น โดยอัตราส่วนการผสมสารเบนทอไนต์ คือ 3 ส่วนใน 100 ส่วน ส่งผลทำให้เทอร์มอพลาสติกอิลาสโตรเมอร์ ที่ได้มีความต้านทานต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดสูงขึ้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ทำให้รู้ขั้นตอนของการผลิตและสมบัติพื้นฐานของเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตรเมอร์ แต่ในส่วนที่จะนำเทอร์มอพลาสติกอิลาสโตรเมอร์ไปใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ ต้องมีการศึกษาต่อยอดเฉพาะด้าน อาทิ ด้านการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องศึกษาสมบัติด้านการแปรรูปและสมบัติเฉพาะด้าน เช่น หากจะนำไปทำอะไหล่รถยนต์ ต้องศึกษาการทนความร้อนและการทนน้ำมันอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขณะนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นบรรลุเป้าหมายตามที่ สกว. วางไว้ โดยส่วนหนึ่งของงานวิจัยครั้งนี้ได้รับการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conference of Key Engineering Materials 2012) ประเทศสิงคโปร์ และได้รับการตีพิมพ์วารสาร Polymer Engineering and Science ของ Society of Plastics Engineers ฉบับที่ 54 ในปี 2014
- ๒๔ ธ.ค. "เกษตร" มรภ.สงขลา นำ นศ. เรียนรู้กระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ๒๔ ธ.ค. มรภ.สงขลา ผนึก “ม.Sains Malaysia” ลงนามความร่วมมือแลกเปลี่ยนวิชาการ วัฒนธรรม เสริมสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา
- ๒๔ ธ.ค. มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือด้านสหกิจฯ และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ผนึกเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาฯ ภาคใต้ตอนล่าง-บ.โปรทา จำกัด ปั้นบัณฑิตตอบโจทย์ตลาดงาน