ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล ร่วมกับ UNDP ฉลองครบรอบ 5 ปีความร่วมมือ จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมให้สนามบินหลังเกิดภัยพิบัติ

อังคาร ๑๖ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๔:๔๓
พนักงานกว่า 430 คนที่ปฏิบัติงานในสนามบิน 25 แห่งทั่วโลกได้รับการฝึกอบรมให้มีความพร้อมในการจัดการระบบลอจิสติกส์เพื่อรับมือหลังเกิดภัยพิบัติ

ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล ผนึกสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program หรือ UNDP) ฉลองวาระพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปีความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 องค์กรในการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมให้แก่สนามบินในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ ด้วยการจัดฝึกอบรมและให้ความสนับสนุนพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล และ UNDP ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมให้สนามบินหลังเกิดภัยพิบัติ หรือ "Get Airports Ready for Disaster" (GARD) ขึ้นในสนามบินต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 25 แห่ง เพื่อสนับสนุนให้สนามบินดังกล่าวมีความพร้อมในการจัดการระบบลอจิสติกส์หลังเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและมนุษยชาติ

เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น สนามบินจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบินและเกตเวย์ที่สำคัญในการลำเลียงเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที โดยในภาวะวิกฤติ จะมีจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงสนามบินเพิ่มขึ้น มีญาติ ๆ ของผู้ประสบภัยเดินทางไปช่วยเหลือและให้กำลังใจจำนวนมาก มีองค์กรระหว่างประเทศจัดส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยพร้อมด้วยสิ่งของไปให้ความช่วยเหลือ และมีสื่อมวลชนเข้าไปทำข่าวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ หากไม่มีการจัดการที่ดีและเหมาะสม จะทำให้การจัดส่งสิ่งของและอุปกรณ์ช่วยเหลือต้องประสบภาวะติดขัดและล่าช้า ขณะที่การกระจายการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัยต้องประสบภาวะติดขัดและหยุดชะงัก ซึ่งในการจัดเวิร์คช็อปฝึกอบรมให้ความรู้ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสนามบินจากดีเอชแอลและผู้แทนของ UNDP ได้เข้าร่วมให้ความรู้และคำแนะนำแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในสนามบินและจากหน่วยกู้ภัยในภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับแนวทาง การจัดการภาวะวิกฤติ ซึ่งประกอบด้วยการดูแลจัดการสิ่งของและพนักงานจากหน่วยงานช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เดินทางมาถึงสนามบินเป็นจำนวนมากหลังเกิดภัยพิบัติได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การศึกษาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบโครงสร้างของสนามบิน รวมถึงการสูญเสียพนักงานและศักยภาพในการทำงานหลังการเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม การถล่มของพายุไต้ฝุ่นเฮอร์ริเคน หรือสึนามิ นอกจากนี้ การฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้สนามบินรับมือภัยพิบัติ (หรือ GARD) ยังสนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วยพนักงานที่ปฏิบัติงานในสนามบิน และผู้แทนของหน่วยงานจัดการภัยพิบัติของภาครัฐได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ ตามที่องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำ ได้นำไปใช้ดำเนินการ รวมถึงการกำหนดขอบเขตและระยะเวลาในการจัดการภาวะฉุกเฉิน และกระบวนการดำเนินงานที่นำมาใช้ และที่สำคัญที่สุด คือ การประเมินศักยภาพของสนามบินแต่ละแห่ง ศักยภาพในการจัดเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย บุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ข้อกำหนดทางเทคนิค และการพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมา โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ GARD ได้จัดขึ้นในประเทศอาร์เมเนีย บังคลาเทศ เอล ซัลวาดอร์ อินโดนีเซีย เลบานอน เนปาล ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ ตุรกี และยังคงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเร็ว ๆ นี้ มีกำหนดจัดขึ้นในประเทศจอร์แดนภายในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมจนถึง ณ ปัจจุบันรวมประมาณ 430 คน

คริสทอฟ เออร์ฮาร์ท รองประธานบริหาร ฝ่ายสื่อสารองค์กรและความรับผิดชอบระดับองค์กรต่อสังคม ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล กล่าวว่า "จากการทำงานของทีมรับมือภัยพิบัติ (Disaster Response Team) หรือดีอาร์ที ทำให้ดีเอชแอลสั่งสมประสบการณ์ในการจัดการสถานการณ์วิกฤติมายาวนานหลายปี โดยการปฏิบัติงานของทีมดีอาร์ทีในพื้นที่โซนวิกฤติที่สนามบินต่าง ๆ ทำให้ดีเอชแอลตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการป้องกันที่สมบูรณ์แบบได้โดยตรง และได้นำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาโครงการ "ฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้สนามบินรับมือภัยพิบัติ" (Get Airports Ready for Disasters หรือ GARD) ร่วมกับ UNDP ในปี 2552 และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดีจากประเทศที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว"

มาร์ธา รูเอดาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักป้องกันและฟื้นฟูวิกฤติของ UNDP กล่าวว่า "ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา มีภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายครั้งและได้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้คนกว่า 5,000 ล้านคน และเมื่อพิจารณาจากความเสียหายดังกล่าว ทำให้การเตรียมความพร้อมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตที่ไม่จำเป็น และนี่คือสิ่งที่โครงการ GARD ได้ดำเนินการร่วมกับสนามบินต่าง ๆ"

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินจากดีเอชแอล ซึ่งเป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมโดยไม่คิดค่าบริการ พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์จัดฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ UNDP ซึ่งมีประสบการณ์การดำเนินงานอย่างกว้างขวางในแต่ละประเทศ พร้อมทั้งได้ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ มายาวนานหลายทศวรรษ จะเป็นผู้บริหารโครงการ GARD รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนเงินทุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการฝึกอบรมดังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ