นพ.ประพัฒน์ โสภณาทรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก กล่าวว่า สมาชิกสมาคมฯ สนับสนุนนโยบายขององค์การอนามัยโลกและกรมอนามัยว่าด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของทารก ทั้งผู้เป็นลูกและแม่ล้วนได้ประโยชน์จากการให้นมลูก เนื่องจากนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก ในขณะที่สายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกก็เกิดขึ้นระหว่างที่ให้นมลูก ซึ่งในระหว่างที่แม่ให้นมลูกอยู่ ร่างกายของผู้เป็นแม่จะหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินที่ช่วยให้ผู้เป็นแม่ผ่อนคลาย ตัวลูกเองก็จะรู้สึกใกล้ชิดกับแม่มากขึ้น และความรักของแม่นั้นก็เติบโตขึ้นในระหว่างที่ให้นมลูกนั่นเอง มาตรฐานองค์การอนามัยโลกและกรมอนามัยยังแนะนำการให้นมลูกเพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกของทารก และทำการให้นมลูกควบคู่ไปกับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย อย่างไรก็ตาม หากแม่ไม่สามารถให้นมลูก หรือให้ได้เพียงบางมื้อ นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย ด้วยผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์รับรอง และอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็น โดยคุณแม่ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์นมผงดัดแปลงสำหรับทารก
เป็นเวลาหลายทศวรรษที่สมาคมฯได้มีส่วนในการสนับสนุนโภชนาการที่เหมาะสมเริ่มตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์จนถึงช่วง 2-3 ขวบแรกของชีวิต และนำเสนอโภชนาการสำหรับทารกและเด็กเล็ก ที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาพดี และในขณะเดียวกัน สมาคมฯ เห็นว่าการสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการเป็นความพยายามที่ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ดังนั้นเราจึงเป็นพันธมิตรกับสถาบันวิทยาศาสตร์ชั้นนำ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ในการทำการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างมากมาย เพื่อให้บรรลุ เจตนารมณ์ของเราที่จะทำการพัฒนาและการวิจัยระดับโลก รวมถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องในภาคนวัตกรรม คุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
นพ.ประพัฒน์กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมฯ ยึดมั่นไว้ซึ่งการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานและจรรยาบรรณระดับสูงสุดเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ และนโยบายขององค์การอนามัยโลก และกรมอนามัย สมาคมฯ ได้จัดทำระบบการกำกับดูแลตนเองเกี่ยวกับการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของบริษัทสมาชิกด้วยความสมัครใจ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้านโภชนาการสำหรับทารกและเด็กเล็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม และไม่เข้าไปกระทบหรือขัดขวางการปกป้องและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งนี้สมาคมฯตระหนักว่ากิจกรรมทางการตลาดที่คำนึงถึงจริยธรรมช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์ได้รับข้อมูลที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง และยังช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกอาหารที่มีประโยชน์และเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการสำหรับทารก โดยหลักเกณฑ์สากลฯและนโยบายขององค์การอนามัยโลกเองก็ตระหนักว่าผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอาหารทดแทนนมแม่มีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในการส่งเสริมโภชนาการสำหรับทารกและมีส่วนช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์หลักเกณฑ์และนโยบายขององค์การอนามัยโลกดังกล่าวในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการตลาดสำหรับอาหารทารกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สมาคมฯ สนับสนุนและเห็นด้วยในหลักการของร่างกฏหมายในประเด็นที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทารกในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เรามีความเห็นว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายนี้สมควรที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจ และหารือเรื่องที่เกี่ยวกับบัญญัติ เราเรียกร้องขอให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ ก่อนที่ร่างกฏหมายจะถูกส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นพ.ประพัฒน์กล่าวในท้ายที่สุด