แนวทาง: รัฐบาลกลางมีความก้าวหน้าในการเตรียมใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาฉบับใหม่ แต่การประยุกต์ใช้และการบังคับใช้ยังไม่สอดคล้องและไม่เพียงพอในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น เป็นผลให้ผู้ผลิตจะต้องพัฒนาการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นมาตรฐานและปฏิบัติได้จริง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสินค้าเลียนแบบซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดมีการขยายตัว
มุมมองของ Ipsos Business Consulting: ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในตลาดรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นั้นเป็นโอกาสในการลงทุนที่สำคัญสำหรับผู้ผลิต โดยผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในปัจจุบันนั้นรวมเป็นประมาณหนึ่งในสามของผลผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศจีน Ipsos Business Consulting คาดว่าผู้ประกอบการต่างชาติเหล่านี้จะสามารถรักษาตำแหน่งดังกล่าวไว้ได้ เนื่องจากมีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด และศักยภาพในการขยายตลาดโดยการควบรวมกิจการซึ่งจะเป็นกลยุทธ์การเติบโตที่สำคัญ
เซี่ยงไฮ้: 18 กันยายน 2557 - บริษัท Ipsos Business Consulting ผู้นำในด้านปรึกษาทางธุรกิจได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าเลียนแบบในตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศจีน
งานวิจัยของ Ipsos Business Consulting เรื่อง "แนวโน้มในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศจีน" ได้เน้นย้ำว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปรับปรุงขบวนการการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงจากสินค้าเลียนแบบที่จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ขยายตัวเป็นสองเท่าในอีกห้าปีข้างหน้า
Markus Scherer หัวหน้าฝ่ายให้คำปรึกษาบริษัท Ipsos Business Consulting ฮ่องกงและผู้เขียนร่วมของงานวิจัยกล่าวว่า บริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในตลาดจะสามารถใช้กระบวนการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ดีกว่า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดที่มีอยู่แล้วอย่างมีนัยสำคัญ
นาย Scherer กล่าวอีกว่า "การวิจัยของ Ipsos Business Consulting แสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศจีนจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วในการพัฒนาและการดำเนินการเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจากปัญหาสินค้าเลียนแบบ
"สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศจีนนั้นมีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่โอกาสเหล่านี้มาพร้อมกับความเสี่ยงเนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่ตลาดชิ้นส่วนยานยนต์เลียนแบบมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก บริษัทต่างชาตินั้นได้เปรียบจากการที่ได้เริ่มต้นกระบวนการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาและอาจใช้กระบวนการนี้เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดต่อไป”
ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศเป็นบริษัทสัญชาติจีน อย่างไรก็ตามงานวิจัยของ Ipsos Business Consulting แสดงให้เห็นว่า บริษัทนักลงทุนต่างชาติกลับมีศักยภาพกว่ามาก ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างชาติมีจำนวนเพียงหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด แต่กลับสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 33.9% ของมูลค่าตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเทียบเท่ากับว่าผู้ผลิตต่างชาตินั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตมากกว่าผู้ผลิตสัญชาติจีนมากกว่าเท่าตัว
สำหรับประเทศไทยนั้น คุณ สรรค์พิจิตร ส่งไพศาล (ผู้จัดการประจำสาขาประเทศไทยของ Ipsos Business Consulting) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการชาวไทย "โดยรัฐบาลไทยควรมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ ‘ปลอดภัยกว่า’ ในการลงทุนในแง่การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเมื่อประกอบกับความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลของประเทศไทยแล้ว จะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี ”
ข้อมูลสำคัญอื่น ๆ จากงานวิจัย
การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดรถใหม่ในประเทศจีนในปี 2551-2555 ทำให้อุปทานในตลาดรถมือสองเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
ยอดขายที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถยนต์ใหม่และรถยนต์มือสอง จะทำให้ตลาดหลังการขาย (aftermarket) เป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างมาก
ในปี 2554 ตลาดชิ้นส่วนรถยนต์เลียนแบบของจีนมีมูลค่า 255 ล้านหยวน โดยมีมณฑลกว่างตง, เหอหนาน, เจ้อเจียง, เจียงซูและฝูเจี้ยน เป็นภูมิภาคที่มีชิ้นส่วนรถยนต์เลียนแบบขนาดใหญ่ที่สุด
ปักกิ่งมีการปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แต่การบังคับใช้เครื่องหมายการค้าและต่อต้านสินค้าเลียนแบบยังคงต้องพัฒนาต่อไป
ระบบป้องกันการเลียนแบบ (Anti-forging system) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดความเสี่ยงจากสินค้าเลียนแบบ
บริษัทลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มที่จะรักษาความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์มากกว่าผู้ผลิตสัญชาติจีนส่วนใหญ่ เนื่องจากประสบการณ์ของบริษัทต่างชาติในการขยายตลาดจากการควบรวมกิจการ
สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ http://www.ipsosconsulting.com/pdf/Industry-Report-Trends-in-China's-Automotive-Component-Manufacturing-Industry.pdf .
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ สรรค์พิจิตร ส่งไพศาล ผู้จัดการประจำสาขาประเทศไทยของ Ipsos Business Consulting +66 2697 0105 ([email protected]).