กระทรวงเกษตรฯ ปลื้ม โครงการ “ต้นแบบระบบ Thai Smart Farmer”ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ โครงการประกวดผลงานซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ (TICTA Award 2014) เผยช่วยเกษตรกรเข้าถึงบริการด้านการเกษตรครบถ้วน พร้อมรวบรวมองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยผลิตสินค้า

ศุกร์ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๒:๓๑
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งผลงานโครงการ “ต้นแบบระบบ Thai Smart Farmer (thaismartfarmer.net)” เข้าร่วมประกวดในโครงการประกวดผลงานซอฟต์แวร์ดีเด่นแห่งชาติ หรือ Thailand ICT Awards 2014 ในหมวด e-Government & Service และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ โดยเป็นระบบแรกที่มีการบูรณาการการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลองค์ความรู้ ข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และต้นแบบ Smart Farmer/Smart Officer ของกระทรวงเกษตรฯ อย่างครบถ้วน อีกทั้งเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

ทั้งนี้ ผลงานต้นแบบระบบ Thai Smart Farmer มาจากนโยบาย “เกษตรกรไทยเป็น Smart Farmer โดยมี Smart Officer เป็นเพื่อนคู่คิด” ได้มีการจัดทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการ “หนึ่งบัตรประชาชนเพื่อเกษตรกรปราดเปรื่อง : One ID Card for Smart Farmer”สนับสนุน “นโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer” ระหว่าง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และกระทรวงเกษตรฯ ในการถ่ายโอนข้อมูลทะเบียนเกษตรกรลงในฐานข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งนำข้อตกลงดังกล่าวมาขยายผลในการพัฒนาต้นแบบระบบ Thai Smart Farmer (thaismartfarmer.net) โดยใช้บัตรประชาชน Smart Card ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์กับประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการเกษตรในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งระบบดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นขยายผลระยะเริ่มต้นโดยกรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการใช้บริการของผลงานดังกล่าว ได้แก่ 1.การตรวจสอบข้อมูลการเกษตร (e-Check) จากบัตร Smart Card โดยประชาชนสามารถยื่นบัตรประชาชน Smart Card เพื่อรับบริการต่างๆ 2.การบริการให้กับประชาชน (e-Service) เป็นระบบให้บริการกับประชาชนด้วยตนเอง ทั้งแบบใช้บริการผ่านระบบฯ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดให้บริการ โดยมีการให้บริการจากทุกหน่วยงาน 3.เกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบ e-Smart Farmer/e-Smart Office เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูล ต้นแบบเกษตรกรต้นแบบที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำได้ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ที่สามารถให้คำปรึกษาในแต่ละด้าน 4.ข้อมูลองค์ความรู้ (e-Knowledge base) การให้ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับพื้นที่การผลิตที่เหมาะสม ข้อมูลการผลิต การตลาด โรคและศัตรูพืช ปศุสัตว์ ประมงและด้านการเกษตรสำคัญต่างๆ

“ผลงาน Thai Smart Farmer เป็นระบบแรกของกระทรวงเกษตรฯ ในการให้บริการประชาชน โดยใช้บัตรประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) รับบริการในทุกจุดให้บริการระดับตำบล อำเภอและจังหวัดของหน่วยงานในสังกัด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลสถานภาพการผลิต ข้อมูลเขตการใช้ดินและความเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิด ระบบการขึ้นทะเบียนด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง การขอรับบริการฝนหลวง การขอรับสารเร่ง พด. การขอรับกล้าหญ้าแฝก การตรวจวิเคราะห์ดิน และขอรับเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางที่เผยแพร่องค์ความรู้ และติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกร กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเกษตรกรรมในการให้คำปรึกษา ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ให้เกษตรกรไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกได้” นายชวลิต กล่าว.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ