ผลกระทบของแรงงานต่างด้าวที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรไทย

ศุกร์ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๕:๒๒
ดร.ภูมิ ศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยร่วมกันว่า จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรของไทย ที่แรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) เพิ่มขึ้น ประกอบกับแรงงานภาคการเกษตรวัยหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาเคลื่อนย้ายเข้าสู่ ภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ค่าจ้างแรงงาน จึงเป็นเหตุผลนำมาซึ่งต้องมีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต และทดแทนแรงงานของไทย ทำให้ประสบปัญหาในการจัดการแรงงานภาคการเกษตร โดยเฉพาะการจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลและมาเช้าเย็นกลับ ยังไม่สามารถกำหนดเป็นกฎกระทรวงได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้การใช้แรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายหรือ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้มีการลักลอบเข้าประเทศอย่างต่อเนื่องมาเป็น เวลานาน การเดินทางเข้าออกสามารถทำได้ง่าย

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์ เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) ได้ติดตามถึงสถานการณ์แรงงานต่างด้าวที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรไทย พบว่า สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ณ เดือนสิงหาคม 2557 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน ทั่วราชอาณาจักร มีจำนวนทั้งสิ้น 1.56 ล้านคน จำแนกตามลักษณะการเข้าเมืองได้ 2 ประเภท ดังนี้

1) แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมาย 1.54 ล้านคน

2) แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย (แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฏหมาย หมายถึง ชนกลุ่มน้อยตามตะเข็บชายแดนที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานชั่วคราวมาเช้า-เย็น กลับ) 0.02 ล้านคน รายละเอียดดังตารางที่ 1 โดยจำนวนแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองถูกกฎหมายคิดเป็นร้อยละ 98 ของจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด

อย่าง ไรก็ตาม เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ และการสร้างมาตรฐานในการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและนายจ้างซึ่งประกอบกิจการ บางประเภทที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างมาก และเพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงานหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงาน ต่างด้าว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 70/2557 เรื่องมาตรการชั่วคราวในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ได้มีประกาศตั้งศูนย์ขึ้นทะเบียนพร้อมออกใบอนุญาตเข้าเมืองและการทำงานให้ แรงงานต่างด้าวสำหรับแรงงานของประเทศ กัมพูชา เมียนมาร์และลาว โดยปัจจุบันได้ขยายระยะเวลาทำการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One Stop Service: OSS) ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2557

สรุป ยอดรวมการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียวทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน-22 กันยายน 2557 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.08 ล้านคน รายละเอียดดังตารางที่ 2 โดยประเภทกิจการที่จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กิจการก่อสร้าง เกษตรและปศุสัตว์ การให้บริการต่างๆ รายละเอียดดังตารางที่ 3 ที่มีการจดทะเบียนสาขากิจการก่อสร้างมากที่สุด รองลงมาคือ เกษตรและปศุสัตว์ และ การให้บริการต่างๆ ตามลำดับ

จาก ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น คาดว่า ผู้ประกอบการและนายจ้างมีความต้องการแรงงานต่างด้าวอีกเป็นจำนวน 1.08 ล้านคน จากเดิมที่มีอยู่ 1.56 ล้านคน ดังนั้น ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร จึงได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของแรงงานต่างด้าวที่ลงทะเบียนเพิ่มเติมซึ่งยัง ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในราชอาณาจักร โดยการคำนวณผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวจำนวน 1.08 ล้านคนที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรไทยอย่างไรและมากน้อย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาหาแนวทางบริหารจัดการแรงงานภาคการเกษตรของไทยและ ต่างด้าวให้เพียงพอต่อความต้องการแรงงานภาคเกษตร เกิดประสิทธิภาพและความสมดุลทางด้านแรงงานตามมา

ผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวที่มีต่อเศรษฐกิจไทย

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ว่า หากมีแรงงานต่างด้าวเพิ่มเข้ามาในภาคการผลิตจะส่งผลกระทบทำให้เกิดมูลค่า เพิ่มในภาคการผลิต มูลค่ารวม 252,810.21 ล้านบาท โดยภาคเกษตรกรรม มีมูลค่า 27,233.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.77 ของภาคการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ภาคปศุสัตว์ได้รับผลกระทบมากที่สุด มูลค่า 3,448.67 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ผักและผลไม้ อ้อย และข้าว ตามลำดับ รายละเอียดดังตารางที่ 4

ข้อเสนอแนะของการบริหารจัดการแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตร

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้และส่วนเสียแก่ภาคเกษตรโดยรวม โดยเฉพาะเกษตรกร ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตรจึงขอเสนอแนวทางการบริหารจัดการแรง งานที่สำคัญ ดังนี้

1. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับแรงงานผู้สูงอายุของไทย ที่มีอยู่มากในภาคเกษตร ให้สามารถทำงานในภาคเกษตรต่อไปได้ เช่น ทำงานฝีมือที่ไม่หนักมากเกินไป ฝึกทักษะและฝีมือเพิ่มขึ้นและทักษะอื่นๆ เป็นต้น รวมถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรให้แก่ผู้สูงอายุด้วย

2. ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยรุ่นใหม่มีความสนใจทำงานในภาคเกษตรมากขึ้น โดยสนับสนุนนโยบายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและค่าจ้างภาคเกษตร ให้เทียบเท่ากับการทำงานในภาคอื่นๆ และได้รับการยกย่องทางสังคมโดยทั่วไป

3. ตรวจสอบความต้องการแรงงานแต่ละสาขาทางการเกษตร เพื่อให้ทราบความต้องการของการจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทนแรงงานคนไทยที่ขาด แคลนในแต่ละอาชีพตามสาขาการผลิตและพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดระเบียบการจ้างแรงงานต่างด้าวตามสาขาอาชีพที่จำ เป็นจริงๆ สอดคล้องกับความต้องการแรงงานต่างด้าวที่เหมาะสมต่อไป

4. เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาในลักษณะองค์รวม ทั้ง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ประมง และภาคเกษตรอื่น หากรัฐบาลเห็นชอบก็สามารถเดินหน้าแก้ไขระเบียบข้อกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรค ได้ทันที ขณะเดียวกันก็เตรียมแนวทางจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในระยะยาวตามนโยบายของ รัฐบาล ควบคู่กันไปด้วย

5. ตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว เช่น ค่านายหน้า ค่าพาสปอร์ต ค่าขึ้นทะเบียน ฯลฯ รวมถึงให้แรงงานต่างด้าวทำงานข้ามเขตหรืออำเภอได้ พร้อมทั้งทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่น(อินโดนีเซีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ) นอกเหนือจากแรงงานที่มีดินแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำยังถูกกว่าไทยเป็นอย่างมาก

6. แรงงานต่างด้าวภาคเกษตรขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม สาเหตุ ที่ผ่านมาเปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตทำงานภาคเกษตรนั้น เนื่องจากที่ผ่านมามีแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการแรงงานของภาคธุรกิจอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรยังมีมาก (พืชสวน ประมง ยางพารา) ต่อความต้องการแรงงานของภาคเกษตรโดยรวม จึงเห็นควรให้มีขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติม

7. การสร้างแบบจำลองแรงงานต่างด้าวภาคเกษตร ให้ จัดทำเป็นโครงการพิเศษแยกออกมาจากการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว เป็นรูปธรรม ในแบบบูรณาการ โดยอาจพิจารณานำ “สมุทรสาครโมเดล” หลักการคือให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(ให้สมาคมธุรกิจต่าง ๆ สมาคมวิชาชีพ สมาคมประมง) ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบให้ความร่วมมือกับรัฐอย่างจริงจัง มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับภาวะตลาดแรงงาน นอกจากนี้การจัดระเบียบแรงงานในสวนยาง สวนปาล์มและสวนผลไม้อยู่ห่างไกลลับตาผู้คนจังหวัด ต่าง ๆ ของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ