ม.หอการค้าไทย ร่วมกับ มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ เชิญนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบลมาปาฐกถาพิเศษ

พุธ ๐๑ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๓๔
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ (International Peace Foundation) จัดการปาฐกถาพิเศษโดย ศาสตราจารย์ เซอร์ เจอมส์ เอ.เมอร์ลีส (Professor Sir James A. Mirrlees) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1996 มาปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Conflict, cooperation and the common good” เผยถึงวิถีทางแก้ปัญหาความขัดแย้งและวิธีการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกันเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญ

ผศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการหลักสูตร TEPCoT กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมมือกับ มูลนิธิสันติภาพนานาชาติ จัดปาฐกถาพิเศษในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง ในโครงการ UTCC Public Lecture Seres ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 7 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ มุ่งบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ แก่สังคม ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยฯ ในการเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ส่งเสริมสังคมอย่างแท้จริง

ส่วนปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดงานสานสัมพันธ์สู่สันติวัฒนธรรม ในภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 5 (5thASEAN Bridges Series) อย่างเป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคลากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบุคลากรจากภูมิภาคอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันในอนาคต การดำเนินงานจัดงานได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีมาโดยตลอดจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน"

"ในการปาฐกถาพิเศษนี้ได้รับเกียรติจาก Prof. Sir James A. Mirrlees เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1996 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Distinguished Professor-at-Large at The Chinese University of Hong Kong และเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับนั้น มาจากผลงานวิจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยแรงจูงใจภายใต้สภาวะข้อมูลที่ไม่สมมาตร โดยนำหลักทฤษฎีไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบระบบภาษีที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งให้ความสำคัญทั้งประสิทธิภาพและความเสมอภาค และคำนึงถึงข้อจำกัดด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่รัฐบาลสามารถหาได้"

เนื้อหาของการบรรยายจะเน้นไปที่วิถีทางแก้ปัญหาความขัดแย้ง และวิธีการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกันเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญ มีการเปรียบเทียบการจัดการที่พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้องกับการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรอง รวมถึงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากของการบรรลุข้อตกลงทั้งสองแบบ ได้แก่ นโยบายเพื่อจำกัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และการแก้ปัญหาการอ้างสิทธ์ในการถือครองดินแดน อะไรคือความยุ่งยากที่แท้จริงและเราจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร”

"สำหรับงาน “สานสัมพันธ์สู่สันติธรรม” ครั้งนี้ คาดว่า จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าฟังการบรรยายซึ่งจะเป็นการเปิดมุมมองและได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผศ.ดร. ธนวรรธน์ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๑ ธนาคารไทยพาณิชย์คว้าแชมป์ธนาคารแห่งปีต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน
๑๓:๐๔ จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย
๑๓:๓๖ พาราไดซ์ พาร์ค ยกร้านอาหารดังจากเมืองนางาซากิ Ringer Hut (ริงเกอร์ฮัท) และ Hamakatsu (ฮามาคัตสึ) เปิดสาขาใหม่ ชั้น
๑๓:๕๒ สคร.12 สงขลา ร่วมรณรงค์สงกรานต์ ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ เน้นย้ำ ดื่มไม่ขับ ง่วงไม่ขับ คาดเข็มขัดนิรภัย รถตู้โดยสารสาธารณะปลอดภัย
๑๑:๑๐ กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ คว้ารางวัลใหญ่ GRANDE จากเวที ADFEST 2025 จาก แคมเปญสมัครบัตร What the Fast!
๑๑:๒๘ ทรู เปิดพื้นที่อัจฉริยะแห่งอนาคต True Branding Shop โฉมใหม่ ขนทัพเทคโนโลยีล้ำสมัยจากแบรนด์ชั้นนำ ยกระดับทุกมิติไลฟ์สไตล์ดิจิทัล ณ ชั้น 3
๑๑:๐๔ ทัช พร็อพเพอร์ตี้ แนะ 7 แนวทาง อาคารรับมือช่วงมรสุมหลังแผ่นดินไหว จุดไหนต้องเฝ้าระวังเพิ่ม
๑๑:๓๔ OPPO ส่งเสริมเยาวชนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ร่วมบริจาคอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้แก่มูลนิธิสันติสุข
๑๑:๓๖ NITMX เผยสถิติการใช้งาน PromptPay มีนาคม 2568 ยอดธุรกรรมแตะ 2.1 พันล้านรายการ หนุนไทยสู่สังคมไร้เงินสด
๑๐:๒๘ NT แนะนำบริการ AWS Migration Assessment and Deployment เพื่อช่วยหน่วยงานภาครัฐ ย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขึ้นคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด