แบบอย่างการพัฒนาเมืองของเยอรมนี

พฤหัส ๐๒ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๐๔
การที่เราจะพัฒนาเมือง นคร มหานคร ของเราให้ยั่งยืนนั้น จะต้องจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้เหมาะสมกับเงื่อนไข เรามาดูการพัฒนาเมืองจากการพาชมของผมเมื่อเร็ว ๆ นี้ครับ

ในระหว่างวันที่ 17-24 กันยายน ศกนี้ ผมพาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ นายธนาคาร นักลงทุนและผู้สนใจ 45 ท่านไปดูงานอสังหาริมทรัพย์เยอรมนี เลยมีหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองมาเล่าให้ฟัง เผื่อบางอย่าง "จะได้เอาเยี่ยงกา" ในการพัฒนาเมือง แต่ไม่ใช่ "เอาอย่างกา" ไปเสียทุกเรื่อง

ที่ผมพาไปนี้เป็นการจัดทัวร์อสังหาริมทรัพย์เพื่อหาเงินบำรุงมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยที่ผมเป็นประธานก่อตั้ง ผมไม่ได้ไปเที่ยวไถใครมาทำดี แต่อาศัยว่าผมรู้จักกับวงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก จึงสามารถจัดดูงานเช่นนี้ได้ ทั้งนี้มูลนิธินี้เป็นองค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมที่คึกคักที่สุดก็ว่าได้ โดยส่วนมากเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยยึดหลักว่าความรู้แบ่งปันกันได้ (Knowledge is not private property)

นครแฟรงค์เฟิร์ต

นครแห่งนี้มีขนาดเพียง 248.31 ตารางกิโลเมตร มีประชากรอยู่ 701,350 คน หรือมีความหนาแน่นประมาณ 2,825 คนต่อตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามหากนับรวมเขตเมืองโดยรอบก็จะมีจำนวนประชากร 2.5 ล้านคน หรือหากนับภูมิภาคมหานครของแฟรงค์เฟิร์ต ก็จะมีจำนวนรวมถึงราว 5.6 ล้านคน นครแห่งนี้ถือเป็นศูนย์ธุรกิจการเงินที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นยุโรป

สิ่งสำคัญที่พบในใจกลางนครแห่งนี้ก็คือ อาคารธุรกิจต่างๆ ปลูกสร้างกันอย่างหนาแน่น แต่ไม่แออัดใจกลางเมืองโดยแทบไม่มีระยะร่นใดๆ ทั้งนี้เพราะที่ดินใจกลางเมืองย่อมมีราคาแพงเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงไม่ควรร่นหน้าหลังหรือซ้ายขวาเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้สูงสุด และเมื่อปลูกสร้างขึ้นมาก็จะสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้นนำมาบำรุงท้องถิ่นได้อีกต่างหาก ข้อนี้แตกต่างจากในเขตกรุงเทพมหานครที่มักก่อสร้างแบบหลวมๆ ซึ่งควรคิดใหม่ได้แล้ว

ภาพที่ 1: นครแฟรงค์เฟิร์ตที่หนาแน่นแต่ไม่แออัด ควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่ กทม.

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/001-frankfurt.jpg

นครขายของ

Metzingen เป็นเมืองขนาดเล็ก ๆ ห่างจากนครสตุ๊ตการ์ดของเยอรมนีประมาณ 30 กิโลเมตร มีขนาด 34.61 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 22,000 คน ในเมืองไม่ได้มีอะไรเป็นสิ่งพิเศษ ก็คล้ายกับเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคอื่นๆ ของเยอรมนี แต่กลับมีการสร้างเป็นนครขายของจากสินค้าในโรงงานหรือสินค้าชื่อดัง (Outlet City หรือ Factory Outlet) โดยมีสินค้ามีชื่อระดับโลกเช่น Burberry Reebok Strenesse Escada Bally Puma Adidas, Tommy Hilfiger ฯลฯ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.outletcity.com/en/metzingen

การพัฒนานครขายของนี้อยู่ใกล้ใจกลางเมืองเลย จึงทำให้เมืองเล็ก ๆ นี้ได้รับประโยชน์ไปด้วย ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทุ่งเช่น Outlets อื่นๆ สำหรับการเดินทางก็สะดวก มีทั้งรถไฟ รถประจำทาง รถด่วน รถที่ทางนครจัดให้ระหว่างเมือง เครื่องบิน รถยนต์ สามารถเข้ามาจับจ่ายซื้อของได้ง่าย นครขายของนี้ยังจัดเตรียมที่จอดรถให้ลูกค้าจอดได้อีกนับพันคัน ท้องถิ่นในที่นี้ก็ได้อานิสงส์จากการเก็บภาษีมาบำรุงท้องถิ่นได้มากขึ้นนั่นเอง

ภาพที่ 2: ผู้เขียนอยู่ที่นครขายของ Metzingen

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/002-outlet.jpg

การพัฒนาเมืองเก่า

Ulm เป็นเมืองเก่าขนาดเล็กเมืองหนึ่ง โดยเมืองนี้มีขนาด 119 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 117,977 คน เมืองนี้มีเสน่ห์หลายอย่าง เช่น มีการรักษาความเก่าที่น่าสนใจและมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก สถานที่สำคัญได้แก่ โบสถ์ Ulm Minster ซึ่งถือเป็นโบสถ์ที่สูงที่สุดในโลก โดยสูงถึง 161.5 เมตร และมีทางขึ้นถึง 768 ขั้นที่เดินถึงชั้นบนสุดเพื่อดูวิว และยังเป็นบ้านเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ภาพที่ 3: เมือง Ulm ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/003-ulm.jpg

ข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับเมืองนี้ก็คือ ในขณะที่มีโบสถ์เก่าที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ 637 ปีก่อน แต่ก็มีอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่สร้างอยู่ติดกัน หากเป็นในกรณีประเทศไทย ก็คงถือเป็นทัศนอุจาด (Eyesore) ที่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสมัยใหม่มักไม่อยู่ร่วมกัน อาคารหลังดังกล่าวคือ Stadthaus Ulm ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อก้องโลกคือ Mr. Richard Meier ซึ่งได้รับฉันทามติจากชาวเมืองให้ก่อสร้างในลักษณะที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับเมือเดิมได้โดยอาคารนี้เริ่มสร้างในปี 2534 และแล้วเสร็จในปี 2536

ภาพที่ 4: ภาพความแตกต่างด้านสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกันได้

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/004-contrast.jpg

เมืองโอลิมปิก มิวนิค

ในปี 2515 ได้จัดกีฬาโอลิมปิกขึ้น ณ นครมิวนิก และในปี 2517 ยังได้จัดฟุตบอลโลกอีกต่างหาก สนามกีฬาโอลิมปิก ณ นครมิวนิค ประกอบด้วยพื้นที่สนามแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หมู่บ้านนักกีฬา ศูนย์สื่อสารมวลชนโอลิมปิก และสวนโอลิมปิก ปัจจุบันสวนโอลิมปิกยังอยู่ ส่วนศูนย์สื่อสารฯ กลายเป็นศูนย์การค้า สนามกีฬาก็ยังมีใช้อยู่เนือง ๆ แต่สถาปัตยกรรมแบบเดิมที่สร้างนั้น อาจไม่เหมาะสมกับยุคสมัยแล้ว และในส่วนของหมู่บ้านนักกีฬา ก็ได้กลายเป็นเมืองขนาดเล็ก และบางส่วนก็รื้อเพื่อก่อสร้างใหม่

ภาพที่ 5: บรรยากาศในสนามกีฬาโอลิมปิก มิวนิก

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/005-municstadium.jpg

ในประเทศไทยเราก็เคยมีประสบการณ์ทำนองนี้ เช่น หมู่บ้านนักกีฬาหัวหมาก หมู่บ้านนักกีฬาคลองจั่น ซึ่งต่อมากลายเป็นเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติ หรือแม้แต่หมู่บ้านนักกีฬาและอาคารศูนย์กีฬาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งสร้างเพื่อใช้งานในปี 2541 เป็นเงิน 6,700 ล้านบาท บัดนี้หมู่บ้านก็กลายเป็นหอพักนักศึกษา 5,000 หน่วย ส่วนอาคารศูนย์กีฬาต่าง ๆ ที่ยกให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น การดูแลต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากดูแลไม่ดีพอก็จะก่อให้เกิดค่าเสื่อมขึ้นได้มาก

โลกที่ 4 ในประเทศตะวันตก

ในยุโรปมีคนจนอยู่มากพอสมควร คนเหล่านี้ไร้ที่อยู่อาศัย ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและโดยมากมักอยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งพวกเขาพอจะหารายได้จากการเก็บขยะหรือขอทานกับชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ประมาณกันว่าทั่วทั้งประเทศ มีชาวเยอรมันประมาณ 591,000 จาก 81,000,000 ล้านคนหรือ 0.7% ไร้ที่อยู่อาศัย หากนักรวมคนต่างชาติด้วยก็อาจมีสูงถึง 860,000 คน

ภาพที่ 6: คนขอทานในนครแฟรงค์เฟิร์ต

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/006-homeless-frank.jpg

ภาพที่ 7: คนขอทานในนครมิวนิค

http://thaisocialwork.files.wordpress.com/2014/10/007-homeless-munich.jpg

การช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเหล่านี้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ต้องให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและไม่รบกวนคนอื่น มีการป้องกันปัญหาสุขภาพให้ดีเพื่อจะได้ไม่เสียค่ารักษาพยาบาลราคาแพง และมีการจัดหาที่อยู่อาศัยให้อยู่ได้เฉพาะในช่วงกลางคืนจนกว่าจะสามารถหาที่อยู่เป็นของตนเองได้ ยิ่งกว่านั้นบุคคลแต่ละกลุ่มก็คงต้องการการช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น เด็ก-เยาวชน ผู้สูงวัย ผู้ป่วยทางจิต ผู้ขายบริการทางเพศ คนปกติที่ยากจนจนไร้ที่อยู่อาศัย ฯลฯ

ในกรุงเทพมหานครที่ผมเป็นประธานมูลนิธิอิสรชน ซึ่งช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้ทำการสำรวจบุคคลเหล่านี้โดยนายนที สรวารี เลขาธิการมูลนิธิ และพบว่ามีจำนวนประมาณ 3,500 คน น้อยกว่าในนครนิวยอร์กที่มีถึง 45,000 คน หากท่านผู้อ่านสนใจช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะก็ติดต่อกับมูลนิธิอิสรชนได้ (www.issarachon.org)

ถ้าเราศึกษาแบบอย่างจากนครในเยอรมนีให้ดี เราจะสามารถนำมาพัฒนากรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการใช้ที่ดิน การก่อสร้างอาคาร การพัฒนาพื้นที่เป็นเมืองศูนย์การค้า เมืองท่องเที่ยว หรืออื่นๆ ได้อย่างยั่งยืน และมีนโยบายและแผนที่แน่ชัดในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออีกด้วย

ผู้แถลง:

ดร.โสภณ พรโชคชัย ([email protected]) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก