“อำพลฟูดส์” รับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กร CSR ที่มีความเป็นเลิศ

จันทร์ ๐๖ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๑๖
อำพลฟูดส์ ผู้นำนวัตกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่มของไทย เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศ ประเภทองค์กร CSR ที่มีความเป็นเลิศ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 25567 ดร.เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศ ประเภทองค์กร CSR ที่มีความเป็นเลิศ ซึ่งจัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ครบรอบ 12 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมยกย่องความเป็นเลิศของภาคีเครือข่าย โดยการคัดเลือกผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศ จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม. ที่มีผลงานเป็นเลิศ , หน่วยงานของกระทรวง พม. ที่มีผลงานเป็นเลิศ และ องค์กร CSR ที่มีความเป็นเลิศ โดยอำพลฟูดส์ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นองค์กร CSR ที่มีความเป็นเลิศ

บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ได้จัดทำโครงการกล่องวิเศษ หรือ MAGIC BOX ขึ้น เพื่อแสดงถึงความมีส่วนร่วมและความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีการรณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ดี ด้วยการเปิดรับกล่อง UHT ที่ใช้แล้วนำมารีไซเคิลเพื่อนำมาแปรรูปหรืออัดเป็นแผ่นชิปบอร์ด จากนั้นก็นำมาประกอบเป็นโต๊ะ-เก้าอี้นักเรียนส่งมอบให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้ว โครงการกล่องวิเศษ หรือ MAGIC BOX ได้มอบโต๊ะ - เก้าอี้นักเรียน ไปกว่า 10,000 ชุด และยังคงดำเนินกิจกรรมโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และนอกเหนือจากโครงการกล่องวิเศษ ทางบริษัทฯ ยังมีโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกมาก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกโรงงาน ยกตัวอย่างเช่น บ่อหมักแก๊สชีวภาพ ซึ่งลงทุนไปกว่า 60 ล้านบาท ใช้หมักของเสีย รวมทั้งวัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงาน นอกจากจะได้แก๊สชีวภาพเพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนในโรงงานแล้ว ยังสามารถลดการปล่อยของเสีย และกลิ่นออกนอกโรงงานอีกด้วย

โครงการ Wood Pellet หรือแท่งชีวมวล ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คิดค้นนวัตกรรมตัวนี้ในการอัดกากใยมะพร้าวที่มีน้ำหนักเบาให้เป็นแท่ง จากของเหลือในตัวมะพร้าวกลายมาเป็นแท่งชีวมวล ซึ่งนำไปเผาแปลเปลี่ยนพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในโรงงานช่วยลดค่าไฟไปได้กว่า 40 ล้านบาทต่อปี โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากโครงการ GREEN FACTORY ภายใต้แนวคิด APF GREEN INNOVATION

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ