สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2557

จันทร์ ๑๓ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๓๘
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2557 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557 มีจำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.46 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,924,374.96 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,095,014.47 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 615,381.85 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 15,369.96 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 3,188.16 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลลดลง 281.09 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 4,606.96 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 5,058.24 ล้านบาท และ 2,455.79 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง

1. หนี้ของรัฐบาล

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,457.68 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 135.28 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 201.15 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 336.43 ล้านบาท

1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 10,322.40 ล้านบาท โดยเกิดจาก

- การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 7,246 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล 530.68 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้ 300 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ

- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,612 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 545.64 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 468.86 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 597.50 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 711.97 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง

- การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 78.25 ล้านบาท

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 10,738.77 ล้านบาท เกิดจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี

1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 818.49 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 493.62 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 324.87 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 10,540 ล้านบาท เนื่องจาก

- การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 10,700 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,840 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 4,840 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,000 ล้านบาท

2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 6,495.10 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,395.08 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 5,100.02 ล้านบาท

2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,380.55 ล้านบาท เนื่องจาก

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,150 ล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 2,530.55 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,240.71 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 710.16 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 33.64 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 3.78 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 29.86 ล้านบาท

3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 5,024.60 ล้านบาท เนื่องจาก

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 20,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายตามสัญญาเงินกู้มากกว่าชำระคืน จำนวน 15,975.40 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 16,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 24.60 ล้านบาท

- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท

4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 2,455.79 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 1,352.73 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 3,808.52 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557 มีจำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้

หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 363,973.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.44 และหนี้ในประเทศ 5,286,167.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.56 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,494,122.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.24 และหนี้ระยะสั้น 156,018.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.76 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,650,141.24 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,835,153.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.58 และหนี้ระยะสั้น 814,987.72 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.42 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความร่วมมืออ้างแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5522

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ