ฟิทช์ประกาศลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

อังคาร ๑๔ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๓๑
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating ) ของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด มหาชน (SCBT) เป็น ‘bbb’ จากเดิม ‘bbb+’ และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสำหรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-Term Local-Currency IDR) เป็นลบจากแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ โดยยังคงอันดับเครดิตดังกล่าวที่ ‘A+’

ในขณะเดียวกันฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของ SCBT ที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงอยู่ด้านท้าย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต อันดับเครดิตสากล – อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุนอันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) สะท้อนถึงการที่ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงมากที่ธนาคาร SCBT จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่ Standard Chartered Bank (SC; ‘AA-’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) หากมีความจำเป็น ฟิทช์มองว่า SCBT เป็นธนาคารลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ SC เนื่องจาก SCBT มีการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกัน (Integration) อย่างใกล้ชิดกับธนาคารแม่ กอปรกับ SC ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินแก่ SCBT มาอย่างต่อเนื่องในอดีต และ SC ยังคงถือหุ้นใน SCBT เกือบทั้งหมด (99.99%)

แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบสำหรับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวสอดคล้องกับการปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบของ SC เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในรายงาน Fitch revises Standard Chartered’s Outlook to Negative; Affirm IDR ‘AA-’ ที่ www.fitchratings.com) แต่อย่างไรก็ตามอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวยังคงมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพเนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย (Country Ceiling) ที่ ‘A-’ และการเปลี่ยนของอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ SC อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBT

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) สะท้อนถึงคุณภาพของสินทรัพย์ที่ด้อยลง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 7.7 พันล้านบาท หรือ 7.3% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2557 (จาก 6.3 พันล้านบาท หรือ 6.1% ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2556) อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังคงมีแนวโน้มที่อ่อนแอ ดังนั้นคุณภาพของสินทรัพย์อาจปรับตัวด้อยลงอีก เงินกองทุนที่แข็งแกร่งของ SCBT ช่วยเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยง โดยธนาคารมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 21.3% ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2557 (เทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 13%) อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าธนาคารอาจจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มเติมในอนาคตจึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องดำรงเงินกองทุนไว้ในระดับสูง

ความเสี่ยงในด้านคุณภาพของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลให้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยังคงอ่อนแออาจส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรปรับตัวแย่ลง อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBT ยังสะท้อนถึงความช่วยเหลือในการดำเนินงานตามปกติจากธนาคารแม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเครือข่ายต่างประเทศ การจัดหาเงินทุน สภาพคล่องและการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศและ อันดับเครดิตสนับสนุน

การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลของ SC อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของ SCBT แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวซึ่งปัจจุบันถูกจำกัดโดย เพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย

การปรับตัวลดลงของแนวโน้มที่ SC จะให้การสนับสนุนแก่ SCBT (ซึ่งอาจแสดงได้จากการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นใน SCBT อย่างมีนัยสำคัญ) อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้

การเปลี่ยนแปลงของเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทยอาจส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ SCBT

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

การปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องของคุณภาพสินทรัพย์และการปรับตัวลดลงอย่างมากของระดับเงินกองทุน อาจส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากโครงสร้างความเสี่ยงของธนาคารปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพของสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นโดยที่ฐานะเงินกองทุนและกำไรของธนาคารจะต้องไม่ปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดของ SCBT มีดังนี้

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A+’ ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบจากเดิมแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1’

- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินปรับลดอันดับเป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘1’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

-อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของโครงการหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO