กระทรวงเกษตรฯ แจงนโยบายด้านการเกษตรไทยต่อองค์การพันธมิตรธุรกิจยุโรป-อาเซียน หวังสร้างความเข้าใจในการลงทุนภาคการเกษตรในไทย

พฤหัส ๑๖ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๓๒
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ Mr.March Czaplicki ผู้บริหารองค์การพันธมิตรธุรกิจยุโรป-อาเซียน (Europe-Asean Business Aliance: EABA) และคณะนักธุรกิจสหภาพยุโรป ว่า องค์การพันธมิตรธุรกิจยุโรป-อาเซียน ได้เข้าหารือและรับทราบนโยบายด้านการเกษตรต่างประเทศของไทย เพื่อมองหาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ระหว่างภูมิภาคยุโรปและอาเซียน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ชี้แจงถึงนโยบายสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้ที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ช่วยลดต้นทุน ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย การลดอุปสรรคการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุงมาตรการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานการผลิตไร่นา ส่วนด้านการผลิตการเกษตร ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการ เช่น การแบ่งเขตการปลูกพืชแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับเขตเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างกระบวนการผลิต รวมทั้งสนับสนุนบทบาทของสถาบันสหกรณ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อ-ขายผลผลิตจนถึงการแปรรูป และส่งออกด้วยในบางกรณี เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาด

นายชวลิต กล่าวต่อไปว่า ในส่วนการจัดโซนนิ่งสินค้าเกษตรซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญนั้น เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้า โดยส่งเสริมให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในเขตที่มีความเหมาะสมและลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น และสามารถรักษาเสถียรภาพราคาและยกระดับรายได้ของเกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่ได้บังคับให้เกษตรกรปฏิบัติตาม แต่ยึดหลักการมีส่วนร่วมและเป็นไปตามความสมัครใจ โดยกระทรวงเกษตรฯ มีแนวทางสนับสนุน เช่น สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทั้งด้านการผลิตและการตลาด ร่วมมือกับเอกชนในการกำหนดนโยบายและปริมาณการผลิตให้เหมาะสม และการวางแผนการตลาดที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นในด้านการตลาดและราคาของสินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้เขต Zoning ทำให้เกษตรกรตัดสินใจเข้าร่วมได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทั้งเรื่องของ Green Agriculture City ซึ่งให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ โดยเกษตรกรต้องสร้างเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะผลิตสินค้าปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐจะให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีต่อไป

นอกจากนี้ คณะนักธุรกิจสหภาพยุโรป ได้หารือเกี่ยวกับการนำเข้าพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) รวมถึงมาตรการจัดการต่อปัญหาการปลอมแปลงสินค้าเกษตร โดยขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการอนุญาตให้นำเข้าพืช GMOs ยกเว้นข้าวโพด และถั่วเหลือง ซึ่งต้องเป็นการนำเข้าเพื่อการแปรรูปเท่านั้น รวมทั้งไม่มีการอนุญาตให้ปลูกพืช GMOs ยกเว้นในแปลงทดลอง สำหรับการควบคุมการนำเข้าจากชายแดน กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร จะทำการตรวจเพื่อรับรองพืชนำเข้า ตามพระราชบัญญัติกักพืช ส่วนมาตรการจัดการต่อปัญหาการปลอมแปลงสินค้าเกษตรนั้น ประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในการสร้างนวัตกรรม หรือนำเข้าเทคโนโลยีใหม่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้

ทั้งนี้ องค์การพันธมิตรธุรกิจยุโรป-อาเซียน และคณะนักธุรกิจสหภาพยุโรป จะนำข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านการเกษตรดังกล่าวไปประกอบการตัดสินใจในการลงทุนภาคการเกษตรในไทยต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version