“ปส. เล็งเห็นความสำคัญในการกำกับดูแลเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนภายในประเทศไทย จึงเร่งให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องศึกษาและเตรียมความพร้อมในการกำกับดูแลความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป”
ดร.อัจฉรา กล่าวต่ออีกว่า อนุภาคโปรตอน จากเครื่อง Proton therapy ได้มาจากการแยกไฮโดรเจนไอออน ซึ่งทำให้เกิดพลังงานสูงจากการเหนี่ยวนำอนุภาคด้วยพลังแม่เหล็ก แล้วนำไปเร่งความเร็วด้วยเครื่องเร่งพลังงานไซโคลตรอน เพื่อให้ความเร็วของอนุภาคโปรตอนเท่ากับความเร็วแสง และรวมประจุเข้าด้วยกันเป็นลำแสงสำหรับใช้ในการรักษา และเมื่อปล่อยลำแสงอนุภาคโปรตอนเข้าสู่ร่างกายจะใช้พลังงานไม่มาก ทำให้การกระจายตัวของปริมาณอนุภาคโปรตอนเมื่อเข้าไปในเนื้อเยื่อมีรูปร่างและความลึกจำเพาะ (Bragg peak) ทำให้สามารถกำหนดให้รังสีชนิดนี้กระจายจำกัดอยู่เฉพาะในบริเวณที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ไม่ทะลุไปถูกอวัยวะที่อยู่ลึกกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ใกล้เคียงรอบๆ ให้ได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุด วิธีการนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการรักษามะเร็งในเด็ก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไขสันหลัง เนื่องจากมะเร็งเหล่านี้อยู่ใกล้กับอวัยวะสำคัญ ส่วนข้อจำกัดของเครื่อง Proton therapy คือ จะมีราคาที่สูงถึง 3 - 4 พันล้านบาท และใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องค่อนข้างมากประมาณ 6.12 ไร่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้เครื่องกำเนิดรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทร. 02-596-7600 ต่อ 1613
บริษัท โอเค แมส จำกัด / บริษัท ออลล์ พีอาร์ จำกัด
169/19 ถ.ประดิพัทธ์ สามเสนในพญาไท กรุงเทพฯ 10400
Tel.02-618-7781-4 ต่อ 114 / F.02-618-7879